logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

สธ.จับมือตำรวจภูธรภาค 3 เปิดช่องจราจรให้รถพยาบาลฉุกเฉิน นำส่งผู้ป่วยอาการหนัก ส่งรักษาต่อระหว่างโรงพยาบาล นำร่อง 8 จังหวัดอีสาน เล็งขยายผลในจังหวัดใหญ่ๆ รวม กทม.ด้วย
       
       นายแพทย์ สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ใน ปีนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมมือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ริเริ่มเปิดโครงการเส้นทางบุญสู่โรงพยาบาล เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับรถพยาบาลฉุกเฉินที่นำส่งผู้ป่วยที่ป่วย หนัก หรือมีอาการสาหัสจากโรงพยาบาลไปรักษาต่อระหว่างโรงพยาบาลตามระบบบริการการ ส่งต่อของกระทรวงสาธารณสุข ได้อย่างทันท่วงที มีการประสานงานกันระหว่างโรงพยาบาลต้นทางและปลายทาง กับสถานีตำรวจภูธรในพื้นที่นั้นๆ โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจจะประสานไปยังลูกข่าย เพื่ออำนวยความสะดวกตลอดเส้นทางผ่าน จนกว่าจะถึงโรงพยาบาลปลายทาง ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้การส่งผู้ป่วยเป็นไปอย่างราบรื่นคล่องตัว ผู้ป่วยถึงมือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างปลอดภัย และรวดเร็วขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการรักษาพยาบาล ลดการพิการซ้ำซ้อน และเสียชีวิตจากการถึงโรงพยาบาลล่าช้า

 

นายแพทย์ สุรวิทย์ กล่าวอีกว่า จากสถิติของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในปี 2553 มีผู้ป่วยได้รับการส่งต่อไปยังหน่วยบริการทุกระดับเพื่อรักษาต่อในภาพรวม ทั้งประเทศ รวมจำนวน 289,253 ครั้ง เฉลี่ยวันละ 66 ครั้ง โดยเป็นการส่งผู้ป่วยจากโรงพยาบาลชุมชนไปโรงพยาบาลจังหวัด หรือโรงพยาบาลศูนย์ หรือโรงพยาบาลอื่นๆ มากที่สุดปีละ 220,510 ครั้ง ส่วนใหญ่จะเป็นการคลอดปกติ
       
       นายแพทย์ สุรวิทย์ กล่าวต่อว่า โครงการ ดังกล่าวนี้ ได้นำร่องใน 8 จังหวัด ได้แก่ ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ยโสธร ศรีสะเกษ สุรินทร์ อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี โดยร่วมมือกับสำนักงานตำรวจภูธรภาค 3 ซึ่งดูแลรับผิดชอบพื้นที่ดังกล่าว ในการอำนวยความสะดวกตลอดเส้นทางจราจรจนไปถึงโรงพยาบาลปลายทาง
       
       “มีกรณีตัวอย่างเกิดขึ้นที่จังหวัดชัยภูมิ โดยมีตำรวจนายหนึ่งที่อยู่ประจำป้อมจุดสี่แยกแห่งหนึ่ง ได้รับการประสานว่า จะมีรถพยาบาลผ่านมาเพื่อส่งตัวคนไข้หนักไปส่งโรงพยาบาล นายตำรวจผู้นั้นได้คอยอำนวยความสะดวกด้านการจราจรให้ ทำให้รถพยาบาลผ่านไปอย่างรวดเร็วและปลอดภัย คนป่วยไปถึงโรงพยาบาลได้อย่างทันท่วงทีและทราบในภายหลังว่าคนป่วยที่อยู่ใน รถพยาบาลฉุกเฉินที่อำนวยความสะดวกให้ในวันนั้น เป็นมารดาของตนเอง ทำให้นายตำรวจผู้นั้นเกิดความรู้สึกต้องการบำเพ็ญประโยชน์แบบเดียวกันนี้กับ คนอื่นด้วย” รมช.สาธารณสุข กล่าว
       
       นายแพทย์ สุรวิทย์ กล่าวด้วยว่า สำหรับขั้นตอนในการปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลต้นทางจะประสานไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรในพื้นที่ ว่าจะมีการนำส่งผู้ป่วยเวลาใด ใช้เส้นทางไหน จุดหมายอยู่ที่ใด เพื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจจะได้ประสานไปยังลูกข่ายในพื้นที่ที่จะมีการผ่านของรถ พยาบาลฉุกเฉินเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการจราจรได้รับไฟเขียวผ่านตลอดเส้นทาง ไม่มีไฟแดง โครงการเส้นทางบุญสู่โรงพยาบาลนี้ ถ้าได้รับการตอบรับจากประชาชนก็จะมีการขยายโครงการนี้ไปยังพื้นที่อื่นๆอีก ต่อไปในอนาคต โดยเฉพาะตามจังหวัดใหญ่ที่การจราจรคับคั่ง เช่น เชียงใหม่ กทม.เป็นต้น มั่นใจว่า จะทำให้ระบบการส่งต่อผู้ป่วยรวดเร็วขึ้น ประชาชนที่เจ็บป่วยฉุกเฉิน หรือมีอาการสาหัส จะถึงมือแพทย์อย่างรวดเร็ว มีโอกาสรอดชีวิตสูง

 

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000086756

16 กรกฎาคม 2555

Next post > สธ.ผุด 6 เมนูอาหารผู้ป่วยเฉพาะโรค ทั้ง “พุทธ-มุสลิม” รพ.ในสังกัดทั่วประเทศ

< Previous post เจอผู้ป่วยมือเท้าปากสายพันธุ์รุนแรงในไทย 200 คน ชง สธ.ตั้งวอร์รูม

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด