logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

    องค์กรโรลแบ็กมาลาเรีย จี้ รัฐบาลในภูมิภาคอาเซียน เร่งปราบยาอาร์ติมิซินินด้อยคุณภาพ ชี้ ทำให้เชื้อมาลาเรียดื้อยา ห่วงกระจายไปทั่วโลก แนะสร้างมาตรการป้องกัน การรักษา และการเข้าถึงยา เชื่อกำจัดโรคมาลาเรียได้
       
       ดร.โทมัส ทอยเชอร์ ผู้อำนวยการบริหารองค์กรโรลแบ็กมาลาเรีย (RBM) กล่าวภายหลังการประชุมคู่ขนานของผู้บริหารระดับสูง ในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุข จากประเทศอาเซียน 10 ประเทศ เพื่อผลักดันให้เกิดการสนับสนุนจากภาคการเมือง ในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคมาลาเรียในภูมิภาค ว่า โรคมาลาเรียไม่ได้เป็นอันตรายต่อสุขภาพคนในอาเซียนเพียงอย่างเดียว แต่ยังส่งผลกระทบถึงด้านเศรษฐกิจด้วย โดยในภูมิภาคเอเชียมีอัตราผู้ป่วย 16% ของจำนวนผู้ป่วยประมาณ 300 ล้านคนทั่วโลก และในจำนวนนี้ 1-2% เกิดอาการเชื้อดื้อยา ส่วนในภูมิภาคอาเซียนมีผู้ป่วยประมาณ 6-7 แสนคน พบผู้ป่วยมากบริเวณเขตชายแดนไทย-กัมพูชา โดยประเทศที่พบอัตราการเสียชีวิตมากที่สุด คือ ประเทศพม่า ซึ่งปัญหาเรื่องเชื้อดื้อยาไม่ได้เป็นปัญหาในระดับภูมิภาค แต่ถือว่าเป็นความเสี่ยงที่จะเกิดโอกาสแพร่ระบาดไปสู่ส่วนต่างๆ ทั่วโลกได้ด้วย
       
       ดร.โทมัส กล่าวอีกว่า สาเหตุที่เชื้อดื้อยา เป็นเพราะคนไข้ไม่กินยาตามขนาด และครบตามวันที่กำหนด รวมถึงมียาด้อยคุณภาพแพร่กระจายในตลาดยา ซึ่ง RBM อยากให้รัฐบาลของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน มีนโยบายกำจัดยาด้อยคุณภาพอย่างจริงจัง นอกจากนี้ อยากให้ประเทศสมาชิกอาเซียนมีมาตรการต่างๆ ที่จะทำให้ทุกคนที่อยู่ในประชาคมอาเซียนได้เข้าถึงการป้องกันการวินิจฉัย การรักษาโรค หากทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ป้ญหาของโรคมาลาเรียก็จะหมดไป
       
       “ปัจจุบันยาที่ใช้รักษา คือ ยากลุ่มอาร์ติมิซินิน ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในการรักษาเพียงขนานเดียว หากปล่อยให้มีการดื้อยาก็จะทำให้ไม่มียาที่ใช่้ในการรักษา และเสี่ยงที่จะทำให้เชื้อดื้อยาแพร่กระจายไปทั่ว โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา RBM ใช้งบประมาณเพื่อป้องกันและบรรเทาปัญหาไป 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ สามารถช่วยชีวิตคนได้ 1.4 ล้านคน โดยแผนในระยะต่อไป จะทุ่มงบประมาณอีกปีละ 6 พันล้านเหรียญสหรัฐในการช่วยบรรเทาปัญหาดังกล่าว หากประเทศต่างๆ ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี เชื่อว่า ภายใน 10-20 ปีจะสามารถกำจัดเชื้อมาลาเรียให้หมดไปได้” ดร.โทมัส กล่าว

 

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000082453

6 กรกฎาคม 2555

Next post > Rise in UK drug-resistant tuberculosis cases

< Previous post ดัน! หลักประกันสุขภาพ สู่เวทีโลก เล็งจับมือพัฒนาสุขภาพ ปชช.ในภูมิภาคอาเซียน

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด