logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

   สธ.อาเซียนเตรียมจับมือพัฒนา สุขภาพประชาชนในภูมิภาค พร้อมผลักดันหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเข้าสู่เวทีโลก รวมถึงการควบคุมโรคไม่ติดต่อ โรคเอดส์ และโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ จี้ FTA ต้องเพิ่มมาตรการทางสุขภาพด้วย
       
       วันนี้ (5 ก.ค.) ที่โรงแรมโมเวนพิค อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน ครั้งที่ 11 อย่างเป็นทางการ ในหัวข้อ ประชาคมอาเซียน 2558 : โอกาสและความท้าทายด้านสุขภาพ โดย มีรัฐมนตรีสาธารณสุข 10 ประเทศเข้าร่วมประชุม ได้แก่ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม ลาว พม่า และ กัมพูชา นอกจากนี้ ยังมี นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน ร่วมประชุมด้วย
       
       นายวิทยา กล่าวว่า การประชุมในครั้งนี้ เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาสุขภาพหลักและพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขของประเทศอา เซียน ใน 5 วาระ ได้แก่ 1.การเข้าถึงบริการของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพื่อลดความรุนแรงและโรคแทรกซ้อน 2.การควบคุมบุหรี่ สุรา โดยเฉพาะมาตรการเรื่องภาษี เรื่องข้อตกลงการค้าเสรี เรื่องการห้ามทำซีเอสอาร์ (CSR) ของบริษัทบุหรี่ สุรา และการควบคุมบุหรี่เถื่อน 3.การสร้างประกันสุขภาพถ้วนหน้า 4.การลดปัญหาโรคเอดส์ และ 5.ความร่วมมือในการสร้างเครือข่ายการฝึกอบรมด้านระบาดภาคสนาม ซึ่งไทยเป็นผู้ริเริ่มในการควบคุมป้องกันโรคระบาดต่างๆ
       
       นายวิทยา กล่าวอีกว่า รัฐมนตรีสาธารณ สุขในกลุ่มประเทศอาเซียน พร้อมที่จะร่วมมือ และพัฒนาสุขภาพประชาชนในภูมิภาคอย่างจริงจังใน 4 ประเด็น ได้แก่ 1.การร่วมผลักดันหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไปสู่การประชุมผู้นำในเวทีอาเซียน ซัมมิต (ASEAN Summit) และสมัชชาสหประชาชาติ การจัดตั้งเครือข่ายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในอาเซียนบวก 3 คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี โดยไทยรับเป็นประเทศหลัก 2.การร่วมกันดำเนินการอย่างเข้มแข็งตามข้อตกลงสหประชาชาติ เรื่องโรคไม่ติดต่อภายใต้ตัวชี้วัด และเป้าหมายที่กำหนดจากองค์การอนามัยโลก โดยมุ่งเน้นทั้งมาตรการที่ดำเนินการเฉพาะบุคคล ครอบครัว และมาตรการที่มีผลทางเศรษฐกิจและสังคมที่กำหนดพฤติกรรมสุขภาพ 3.การร่วมมือกันดำเนินการอย่างเข้มแข็งและจริงจังในการบรรลุข้อตกลงด้านการ ควบคุมโรคเอดส์ให้เข้าสู่การเป็นศูนย์ คือ ไม่มีการกีดกันผู้ติดเชื้อ ไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ และไม่มีคนตายจากโรคเอดส์ และ 4.การร่วมมือการอย่างเข้มแข็งในการดำเนินการจัดการกับปัญหาโรคติดเชื้อ อุบัติใหม่ รวมทั้งโรคสำคัญอื่นๆ โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออก ไข้มาลาเรียดื้อยา โดยจะต้องเน้นเรื่องการรณรงค์กำจัดรากของปัญหา การจัดหาและการใช้ยา รวมทั้งการพัฒนาเครือข่ายนักระบาดวิทยาในอาเซียนที่ไทยเป็นหลัก
       
       ด้าน นายสุรินทร์ กล่าวว่า การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ซึ่งเน้นในเรื่องของเศรษฐกิจและการค้า อาจนำไปสู่โรคที่อยู่ในการเฝ้าระวังขององค์การอนามัยโลก จำนวน 4 โรค ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคปอดและช่องทางเดินหายใจ และโรคระบบทางเดินอาหาร เนื่องมาจากความมั่งคั่งร่ำรวย และผลจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การรับประทานอาหารแปรรูป ที่ไม่มีสารอาหารเหลืออยู่ โดยพบว่า ประชากร 600 ล้านคนในภูมิภาคอาเซียน มีการเสียชีวิตจากสาเหตุทั้งหมดรวม 4 ล้านคนต่อปี ในจำนวนนี้ร้อยละ 60 เสียชีวิต เพราะโรคไม่ติดต่อ ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั่วโลก ที่มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 57 ล้านคน เสียชีวิตเพราะโรคไม่ติดต่อ จำนวน 36 ล้านคน นอกจากนี้ การเปิดเขตการค้าเสรี (Free Trade Area: FTA) กับประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศอื่นๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย อินเดีย นิวซีแลนด์ มีประเด็นต้องระวัง โดยจากนี้ แต่ละประเทศในอาเซียน นอกจากจะขอให้พิจารณาเรื่องข้อตกลงทางการค้าแล้ว จะต้องเพิ่มเติมในส่วนที่เป็นความปลอดภัยด้านสุขภาพด้วย เพื่อให้เป็นข้อตกลงทางการค้าที่ปลอดภัยทางสุขภาพด้วย

 

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000082667

6 กรกฎาคม 2555

Next post > ห่วงเชื้อมาลาเรียดื้อยา RBM จี้ 10 รบ.อาเซียนปราบยาด้อยคุณภาพ

< Previous post ที่ประชุมสธ.อาเซียนออกแถลงการณ์ร่วมมือจัดการปัญหา "โรคเรื้อรัง-อุบัติใหม่"

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด