logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

  ม.มหิดล แนะรัฐไทย พร้อมรับ AEC ด้านการแพทย์ แนะทำบาร์โค้ดเลือดมาตรฐานสากล
       
       นพ.สุทัศน์ ฟู่เจริญ นักวิจัยประจำศูนย์วิจัยธาลัสซีเมีย สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล และกรรมการมูลนิธิโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแห่งประเทศไทย กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC (Asean Economic Community) ในปี 2558 ทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข ว่า ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลควรให้ความสำคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการแพทย์และ สาธารณสุข เนื่องจากเมื่อเข้าสู่ AEC จะมีปัญหาแน่ หากไม่มีการเตรียมการ เพราะจะมีการเคลื่อนย้ายเกี่ยวกับบุคลากรทางการแพทย์ วิวัฒนาการด้านการรักษาต่างๆ รวมถึงมาตรฐานการรักษาที่ต้องเหมือนกันในแต่ละประเทศสมาชิก ซึ่งมีทั้งหมด 10 ประเทศด้วยกัน

นพ.สุทัศน์ กล่าวว่า โดย เรื่องที่ควรให้ความสำคัญอย่างหนึ่ง คือ การตรวจเลือด ตรวจความเข็มของเม็ดเลือด ควรมีค่ากลาง หรือรหัสบาร์โค้ดกลาง เพื่อง่ายในการตรวจโดยแพทย์รายอื่นๆ โดยเฉพาะหากคนไข้นำผลตรวจเลือดไปรักษาที่ต่างประเทศ หรือกลุ่มประเทศอาเซียน ก็จะสามารถใช้ผลการตรวจเดิมยืนยันได้ ไม่จำเป็นต้องตรวจซ้ำอีก รวมไปถึงควรมีการหารือถึงการตั้งค่าหน่วยการวัดให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เนื่องจากปัจจุบันเมื่อมีการเจาะเลือด จะกำหนดปริมาณเป็นหน่วยยูนิต บ้างก็หน่วยกรัมเปอร์เซ็นต์ บ้างก็ยูนิตสากล ซึ่งปัจจุบันในไทยก็ไม่ได้ใช้ตัวเดียวกัน ตรงนี้เพื่อง่ายต่อการตรวจวิเคราะห์ ไม่ต้องแปลงค่าก็ควรมีการหารือ และจัดทำเป็นหน่วยวัดเดียวกันทั้งหมด ซึ่งการจะดำเนินการตรงนี้อยากให้ภาครัฐ โดยกระทรวงสาธารณสุข ร่วมเป็นเจ้าภาพในการดำเนินการด้วย
       
       นพ.สุทัศน์ กล่าวด้วยว่า สำหรับในเรื่องของโรคธาลัสซีเมียนั้น ล่าสุดมูลนิธิได้ร่วมกับกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เตรียมจัดทำคู่มือมาตรฐานการรักษา ข้อบ่งชี้ในการใช้ยาโดยต้องการให้เป็นเกณฑ์เดียวกัน และเป็นมาตรฐานสากล ซึ่งคู่มือดังกล่าว นอกจากจะใช้ในประเทศไทย ทั้ง 3 กองทุนสุขภาพของไทย คือ ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ประกันสังคม และสิทธิสวัสดิการข้าราชการแล้ว ยังหวังว่า อาจนำไปสู่เกณฑ์มาตรฐานของกลุ่มประเทศอาเซียนด้วย ซึ่งตรงนี้อาจมีการปรับเปลี่ยน หรืออย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับการเจรจา โดยในส่วนนี้ภาครัฐต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนเรื่องนี้

 

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000081907

5 กรกฎาคม 2555

Next post > ที่ประชุมสธ.อาเซียนออกแถลงการณ์ร่วมมือจัดการปัญหา "โรคเรื้อรัง-อุบัติใหม่"

< Previous post Preimplantation genetic diagnosis for IVF 'is safe'

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด