logo
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

  สธ. แนะ ปรับเปลี่ยนค่านิยม ป้องกัน ซึมเศร้าฆ่าตัวตาย ย้ำ ความงามไม่ใช่เพียงรูปร่างหน้าตา
       
       นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รมช.สธ. กล่าวว่า การทำศัลยกรรมความงามแล้วไม่พอใจผลการทำศัลยกรรม สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของวัยรุ่นและคนหนุ่มสาวในปัจจุบัน ที่ให้คุณค่ากับเรื่องรูปร่างหน้าตา สะท้อนค่านิยมของสังคมในภาพรวม ทั้ง การลดความอ้วน การดัดฟันการผ่าตัด หรือการฉีดเพื่อความสวยงาม ฯลฯ ทั้งนี้ พบว่า ส่วนหนึ่ง อาจมีปัญหาสุขภาพจิต กลุ่มแรก คือ กลุ่มที่วิตกกังวลเกินเหตุ กลุ่มที่สอง คือ คิดว่ารูปร่างหน้าตาตัวเองบกพร่องตลอดเวลา ซึ่งจะพยายามทำศัลยกรรมครั้งแล้วครั้งเล่า ไม่พอใจในสิ่งที่ทำ และกลุ่มสุดท้าย คือ มีภาวะซึมเศร้า ทำให้มองตัวเองติดลบ ซึ่งมองไปถึงความไม่พอใจรูปร่างหน้าตา
       
       รมช.สธ. กล่าวต่อว่า จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น นอกจากจะให้คุณค่ากับรูปร่างหน้าตา พ่อแม่ เพื่อน วัยรุ่น โรงเรียน แพทย์ ตลอดจนสื่อมวลชน ควรมีการส่งเสริมความสามารถหรือเน้นคุณค่าทางบวกที่จะทดแทนและมีคุณค่าเหนือ กว่าเรื่องรูปร่างหน้าตา รวมทั้ง พึงระวังว่า ความไม่พอใจรูปร่างหน้าตา นอกจากเป็นเรื่องค่านิยมแล้ว อาจมีปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ ตามมาได้ โดยเฉพาะภาวะซึมเศร้า ซึ่งอาจเป็นต้นเหตุ หรือเป็นผลจากการทำศัลยกรรมตกแต่งก็ได้ ดังนั้น หากมีอาการซึมเศร้าร่วมด้วย ก็จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ทั้งนี้ เมื่อสภาวะจิตใจดีขึ้นแล้วอาจต้องทำจิตบำบัดให้เขาเห็นคุณค่าของตัวเองให้ มากขึ้น
       รมช.สธ. กล่าวเพิ่มเติมว่า บทบาท ของวิชาชีพ โดยเฉพาะแพทย์ ทันตแพทย์และเภสัชกร ที่เกี่ยวข้องกับการรักษารูปร่างหน้าตา โดยจะต้องมีจรรยาแห่งวิชาชีพในการให้บริการ คำนึงว่าผู้รับบริการมีปัญหาสุขภาพจิตหรือไม่ โดยการพูดคุยสังเกตเบื้องต้น และส่งต่อจิตแพทย์เมื่อพบปัญหา มากกว่าคำนึงถึงแต่การป้องกันการฟ้องร้อง
       
       นพ.สุรวิทย์ กล่าวว่า ถึงเวลาที่ต้องปรับเปลี่ยนค่านิยมที่เน้นความสวยงามมากกว่าความรู้ความ สามารถ หรือการทำความดี ช่วยเหลือสังคม ซึ่งต้องปลูกฝังกันตั้งแต่เด็ก ทั้งนี้ การศัลยกรรม หากทำแล้วไม่เป็นที่พอใจหรือดูแย่กว่าที่เป็นอยู่ก็ยิ่งทำให้เกิดความเครียด มากยิ่งขึ้น ซึ่งครอบครัว เพื่อน หรือผู้ใกล้ชิดต้องคอยสังเกตและเตือน ตลอดจนให้กำลังใจ และปลอบประโลมจิตใจเป็นอย่างมาก เพราะอาจส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายได้ในที่สุด จึงต้องคำนึงถึงผลดีผลเสียที่เกิดขึ้นให้มากด้วย อย่างไรก็ตาม สามารถปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต ได้ที่สายด่วน 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง

 

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000081942

 

5 กรกฎาคม 2555

Next post > อย.ติวเข้มวัตถุเสพติดที่ใช้ในทางการแพทย์

< Previous post "สนง.สุขภาพแห่งชาติ" ระบุ ไทยขาดหมอ อาจขาดโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้เมื่อเข้า AEC

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด