logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

คาดสรุปผลได้ภายใน 3 เดือน ด้านนายกสมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทยชี้ท้องถิ่นจะได้รับการดูแลด้านรักษาพยาบาลเพื่อคนท้องถิ่น

 ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานการประชุม  เรื่อง รับฟังความคิดเห็นต่อการขยายความครอบคลุมการให้บริการเจ็บป่วยฉุกเฉิน และการคุ้มครองความมั่นคงสิทธิด้านการรักษาพยาบาลสำหรับข้าราชการ/พนักงาน ส่วนท้องถิ่น  

 
นายวิทยากล่าวว่า    ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายสร้างความเสมอภาคของ 3 กองทุน โดยเริ่มที่บริการเจ็บป่วยฉุกเฉิน ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555 เป็นต้นมา ซึ่งให้ความคุ้มครองกับสวัสดิการข้าราชการ ประกันสังคม และหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือ 30 บาทรักษาทุกโรค แต่ยังไม่สามารถดำเนินการครอบคลุมข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่นจำนวนกว่า   400,000 คนได้

ทั้งสถานการณ์ปัจจุบันท้องถิ่นประสบปัญหาเรื่องค่ารักษาพยาบาลโดยเฉพาะ โรคค่าใช้จ่ายสูงเนื่องจากท้องถิ่นต้องรับภาระค่าใช้จ่ายเอง  เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีกฎหมายและระเบียบเฉพาะรวมทั้งการเบิกจ่ายค่ารักษาแยกส่วนแต่ละองค์กร และแตกต่างจาก 3 กองทุน   จากประเด็นนี้นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเพื่อให้นโยบายสร้างความเสมอ ภาค 3 กองทุนคุ้มครองทุกคนอย่างแท้จริง ภายใต้มาตรฐานเดียวกันทุกคนทุกสิทธิ

 
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่า  แนวทางการแก้ไขส่วนของการเพิ่มสิทธิการรักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน และรวมถึงบริการสาธารณสุขอื่นๆที่จะมีการบูรณาการต่อไปตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อให้ครอบคลุมข้าราชการและพนักงาน อปท.  ให้ได้สิทธิรับบริการสาธารณสุขตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 เรื่อง ขอบเขตของสิทธิรับบริการสาธารณสุขของบุคคลที่กำหนดขึ้นสำหรับส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ รวมทั้งบิดา มารดา คู่สมรส บุตร หรือบุคคลอื่นใดที่ได้รับสวัสดิการการรักษาพยาบาลโดยอาศัยสิทธิของบุคคลจาก หน่วยงานข้างต้น  โดยให้คณะกรรมการมีหน้าที่จัดการให้บุคคลดังกล่าวสามารถได้รับบริการสาธารณ สุขตามที่ได้ตกลงกัน  การให้สิทธิรับบริการสาธารณสุขตาม พ.ร.บ.นี้ได้เมื่อใด ให้เป็นไปตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา  ซึ่งการกำหนดสิทธิประโยชน์ให้เป็นไปตามที่เจรจาตกลงร่วมกัน
    
หลังการประชุม  ได้ข้อสรุปในเบื้องต้นว่า  มีความเห็นร่วมกันตั้งกองทุนดูแลสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ พนักงานส่วนท้องถิ่น  โดยมีการออกเป็นพระราชกฤษฎีกาภายใต้มาตรา 9 ของพรบ.หลักประกันสุขภาพฯ  ซึ่งสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ภายใต้กองทุนสวัสดิการนี้ เป็นการเห็นชอบร่วมกันระหว่างท้องถิ่น และ สปสช. ซึ่งจะคล้ายกับ 3 กองทุนโดยงบประมาณกองทุนจะมาจากการขอกันเงินที่จ่ายอุดหนุนประจำปีให้อปท.     ทุกแห่ง เพื่อใช้เป็นเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ สำหรับเรื่องสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ/ท้องถิ่น รวมทั้งจะมีการตั้งคณะทำงานประกอบด้วยท้องถิ่นทุกฝ่ายและหน่วยงานที่เกี่ยว ข้องขึ้นเพื่อจัดทำรายละเอียดสิทธิประโยชน์ ร่างเป็นพระราชกฤษฎีกาให้แล้วเสร็จโดยเร็ว     ทั้งนี้จะได้นำข้อสรุปที่ได้ในการประชุมครั้งนี้เสนอต่อนายกรัฐมนตรีต่อไป  ขณะเดียวกัน สปสช.เตรียมยกร่างสิทธิประโยชน์และแผนบูรณาการร่วมกันในเรื่องความมั่นคง สิทธิการรักษาพยาบาลสำหรับข้าราชการ/พนักงานส่วนท้องถิ่น เสนอให้คณะทำงานพิจารณาออกเป็นพระราชกฤษฎีกาภายใน 3 เดือนนี้
 
ด้านนายสรณะ เทพเนาว์ นายกสมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทยกล่าวว่า เห็นด้วยกับการที่ท้องถิ่นจะได้รับการดูแลทางด้านสวัสดิการรักษาพยาบาล เพราะสมาคมฯได้ให้ความสำคัญกับการดูแลทางด้านรักษาพยาบาลเนื่องจากได้รับการ ร้องเรียนสิทธิต่างๆ จากพนักงานมาตลอด โดยเฉพาะการเข้าไม่ถึงระบบหลักประกันสุขภาพ  ซึ่งจากข้อสรุปในเบื้องต้นในครั้งนี้นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการดูแล สุขภาพของคนไทยเพื่อให้เกิดการบูรณาการของประชาชนทุกคนต่อไป
 
http://bit.ly/LQi6Pa
5 กรกฎาคม 2555

Next post > "สนง.สุขภาพแห่งชาติ" ระบุ ไทยขาดหมอ อาจขาดโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้เมื่อเข้า AEC

< Previous post อย.รวบบริษัทขายเครื่องสำอางเถื่อนย่านรัชดาฯ

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด