logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

อย.ออกประกาศฯ ใช้แบบแจ้งเครื่องสำอางทั้งผลิต-นำเข้าแบบใหม่ มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่ 19 มิ.ย.นี้ พร้อมให้เวลาผู้ที่ได้รับใบรับแจ้งไว้ก่อนวันที่ประกาศฯ มีผลบังคับใช้ยื่นข้อมูลเพิ่มเติมภายใน 1 ปี
       
       นพ.นรังสันต์ พีรกิจ รอง เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากการที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ตรวจพบว่ามีการนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีภาชนะบรรจุลักษณะคล้ายยา แต่แจ้งรายละเอียดต่อ อย.ว่าเป็นเครื่องสำอาง และมีการนำผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปใช้ฉีด หรือใช้ร่วมกับเครื่องมือแพทย์เพื่อผลักสารผ่านผิวหนังเข้าสู่ร่างกาย (Mesotherapy) ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อผู้บริโภค อย.จึงได้ออกมาตรการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว และมาตรการหนึ่งก็คือ ปรับปรุงประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่องกำหนดแบบแจ้งรายละเอียดการผลิตเพื่อขายหรือนำเข้าเพื่อขายเครื่อง สำอางควบคุม พ.ศ. 2555
       
       โดยกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจ แจ้งข้อมูลรายละเอียดผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม ได้แก่ 1. วิธีใช้ ให้บรรยายวิธีการใช้ผลิตภัณฑ์ เช่น เจลทำความสะอาดใบหน้า อาจแจ้งวิธีใช้ว่าใช้ล้างหน้า หรือแจกแจงรายละเอียดว่า ใช้ลูบไล้ให้ทั่วผิวหน้าที่เปียก แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด ซึ่งวิธีใช้ที่แจ้งนี้จะต้องสื่อความหมายในทำนองเดียวกันกับวิธีใช้ที่ปรากฏ บนฉลากผลิตภัณฑ์ 2. ลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์และภาชนะบรรจุ พร้อมภาพผลิตภัณฑ์ ผู้ประกอบธุรกิจ ต้องแจ้งลักษณะของผลิตภัณฑ์ เช่น โลชั่น ครีม น้ำยาใส ผง รวมทั้งแจ้งลักษณะของภาชนะบรรจุที่สัมผัสกับผลิตภัณฑ์ เช่น หลอดพลาสติก ขวดแก้ว ตลับพลาสติก สำหรับภาพผลิตภัณฑ์ที่ส่งให้ อย.ควรเป็นภาพถ่าย แต่หากไม่สามารถส่งภาพถ่ายได้ สามารถใช้ภาพร่างแทนได้ เช่น ภาพหลอด ขวด ตลับ ที่เห็นชื่อผลิตภัณฑ์อย่างชัดเจน หากที่ตัวผลิตภัณฑ์ไม่มีชื่อให้แสดงภาพกล่อง(ที่ระบุชื่อผลิตภัณฑ์)ควบคู่ กันมาด้วย ในกรณีที่มีหลายขนาดบรรจุ ให้ส่งภาพผลิตภัณฑ์เพียงขนาดเดียวที่สามารถอ่านชื่อได้ชัดเจน โดยการพิจารณาภาพผลิตภัณฑ์นี้มิได้เป็นการรับรองความถูกต้องของภาพและข้อ ความที่ปรากฏบนฉลาก
       
       3. ขนาดบรรจุ หากมีผลิตภัณฑ์หลายขนาด ให้แจ้งเป็นช่วงได้ เช่น 1-250 มิลลิกรัม ทั้งนี้ พนักงานเจ้าหน้าที่จะนำข้อมูลที่ได้รับเพิ่มเติมไปพิจารณาร่วมกับ ชื่อ ประเภท และสารที่เป็นส่วนผสม ว่าผลิตภัณฑ์นั้นสมควรจัดเป็นเครื่องสำอางหรือไม่ หากไม่สมควรจัดเป็นเครื่องสำอาง เช่น สีที่ใช้สัก ผลิตภัณฑ์ทาผิวก่อนเจาะหู ฉีดยา โลชั่นปลูกผม ครีมสลายเซลลูไลต์ พนักงานเจ้าหน้าที่จะไม่รับแจ้งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นเครื่องสำอางควบคุม
       
       รองเลขาธิการ อย.กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้ประกาศฉบับใหม่มีผลใช้บังคับแล้ว ผู้ที่ยื่นเรื่องใหม่ต้องใช้แบบแจ้งแบบใหม่ ส่วนผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับใบรับแจ้งเครื่องสำอางควบคุมไว้ก่อนวันที่ ประกาศฯ มีผลบังคับใช้จะต้องมาแจ้งข้อมูลเพิ่มเติมให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี ซึ่งในขณะนี้ อย.ได้เตรียมความพร้อมเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบธุรกิจเรียบร้อยแล้ว โดยผู้ประกอบธุรกิจสามารถยื่นแจ้งรายละเอียดผลิตภัณฑ์ผ่านระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์ และที่ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ (One Stop Service Center)

 

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000081271

4 กรกฎาคม 2555

Next post > ประชากรอาเซียนติดเชื้อเอดส์ 1.5 ล้านคน

< Previous post “วิทยา” สั่ง สปสช.พัฒนาสิทธิการรักษาพยาบาลท้องถิ่น เล็งแก้กฤษฎีกาคุ้มครองสุขภาพ

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด