logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
สธ.วอน ปชช.เชื่อใจ รพ.จ่ายยามีคุณภาพ ชี้ทำสารบบควบคุมแล้ว

  สธ.วอนประชาชนเชื่อมือโรงพยาบาล ร้านขายยา และสถานพยาบาล ในการจ่ายยา เพราะมีการจัดทำ “กรีนบุ๊ก” หรือรายชื่อผลิตภัณฑ์ยาคุณภาพและผู้ผลิต ไว้ใช้พิจารณาประกอบการเลือกซื้อยาที่มีคุณภาพโดยเฉพาะ ผ่านทางเว็บไซต์ วพ. แต่ยังอุบข้อมูลให้เฉพาะแพทย์และเภสัชกรเท่านั้น ปชช.หมดสิทธิ์ดู

นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (วพ.) ได้ริเริ่มการประกันคุณภาพยาที่ใช้ในโรงพยาบาล ภายใต้ชื่อ โครงการสร้างหลักประกันคุณภาพและมาตรฐานบริการด้านยา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน เพื่อประเมินสถานการณ์คุณภาพและมาตรฐานของยาตามชื่อสามัญ (Generic name) ที่ใช้ในหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และเป็นการตอบคำถามสาธารณะเกี่ยวกับคุณภาพยาในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ตามนโยบายของรัฐบาลขณะนั้น เป็นการดำเนินงานในลักษณะเชิงรุก โดยประสานความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั่วประเทศ เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่ายจากยาที่ใช้จริงในโรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศที่ ร่วมโครงการ และเป็นยาที่ได้รับภายหลังจากการจัดซื้อและรับมอบยาแล้วในช่วงเวลาที่ดำเนิน การสุ่ม ซึ่งแสดงถึงคุณภาพยาที่แท้จริงก่อนส่งมอบให้ผู้ป่วย

นายแพทย์สุรวิทย์กล่าวอีกว่า สำหรับเกณฑ์การคัดเลือกยาเพื่อตรวจวิเคราะห์คุณภาพนั้น ใช้หลักการ คือ ยาที่มีปริมาณการใช้หรือมูลค่าสูง ยาที่มีปัญหาเรื่องคุณภาพมาตรฐาน ยาชนิดเดียวกันที่ราคาแตกต่างกันมาก และรายการยาที่ได้จากการสำรวจข้อมูลความต้องการทราบผลคุณภาพยาที่ใช้ในโรง พยาบาลจากบุคลากรที่เกี่ยวข้องโดยเน้นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ การตรวจสอบคุณภาพยาของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ใช้วิธีมาตรฐาน ตามตำรายา ซึ่งเป็นวิธีและเกณฑ์มาตรฐานสากลที่ได้รับการยอมรับและทันสมัยอยู่เสมอ โดยเมื่อสิ้นสุดโครงการในแต่ละปีจะจัดทำเป็นเอกสารรายงานสรุปผลวิเคราะห์ ทั้งที่ผ่านและไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานดังกล่าวเผยแพร่ให้เครือข่ายสาธารณสุขภาค รัฐทราบและเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งมีการกำหนดรหัสผ่านในการเข้าถึงข้อมูลให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง และตัวอย่างที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานนั้น อย.ได้นำไปพิจารณาตรวจติดตามการผลิตต่อไป

รมช.สาธารณสุขกล่าวต่อไปว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา ได้จัด ทำสารสนเทศคุณภาพยาในชื่อที่รู้จักกันคือ “กรีนบุ๊ก (Green Book)” หรือ “รายชื่อผลิตภัณฑ์ยาคุณภาพและผู้ผลิต” ขึ้น โดยคัดเลือกรายการยาที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดเผยแพร่สู่สาธารณะ เป็นประจำทุกปีๆ ละ 1 เล่ม ซึ่งปัจจุบันเผยแพร่แล้วเป็นเล่มที่ 7 (Green Book 7) สำหรับข้อมูลการดำเนินโครงการสร้างหลักประกันคุณภาพและมาตรฐานบริการด้านยา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546-2554 ได้ดำเนินการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ยา จำนวน 451 รายการ ยาตามชื่อสามัญรวมทั้งสิ้น 12,027 ตัวอย่าง จาก 3,755 ทะเบียนตำรับยา

       นายแพทย์บุญชัย สมบูรณ์สุข อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการดำเนินการเฝ้าระวังคุณภาพยาอย่างเป็นระบบนี้ ทำให้สามารถสรุปผลภาพรวมของคุณภาพยาแต่ละรายการยาตามชื่อสามัญในระดับประเทศ ได้ ลดความซ้ำซ้อนการส่งตัวอย่างตรวจวิเคราะห์ ช่วยประหยัดงบประมาณและหน่วยงานสาธารณสุขสามารถนำข้อมูลไปใช้เป็นแนวทาง ประกอบการพิจารณาคัดเลือกและกำหนดคุณลักษณะของยา (Specification) ที่จัดซื้อ รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงปัญหาและหาแนวทางแก้ไขคุณภาพและมาตรฐานยา ที่ใช้ในประเทศ รวมทั้งกระตุ้นให้ผู้ผลิตมีการพัฒนาคุณภาพยาอย่างต่อเนื่อง เพราะมีการเผยแพร่ข้อมูลให้โรงพยาบาลทราบ ซึ่งผลการดำเนินงานสามารถสร้างความมั่นใจแก่ประชาชนผู้ใช้บริการในโครงการ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าว่าได้รับยาที่มีคุณภาพเพราะผ่านการตรวจสอบ ทางห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานสากลและผ่านการพิจารณาคุณสมบัติต่างๆ โดยแพทย์และเภสัชกรของโรงพยาบาลในการจัดซื้อ เพื่อคัดเลือกยาที่มีคุณภาพสำหรับประชาชนทุกระดับอย่างเท่าเทียมกัน

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลคุณภาพยาเหล่านี้ เป็นข้อมูลทางวิชาการ ซึ่งมีประโยชน์ต่อการพิจารณา โดยผู้ประกอบวิชาชีพทางเภสัชกรรม ดังนั้น การเข้าถึงข้อมูลจึงกำหนดในวงจำกัดของวิชาชีพแพทย์และเภสัชกรเป็นส่วนใหญ่ เพราะต้องนำความรู้พื้นฐานทางวิชาชีพมาพิจารณาร่วมด้วย เพื่อนำข้อมูลไปประกอบการจัดซื้อยาเข้าโรงพยาบาลแล้ว จึงขอให้ประชาชนผู้ใช้บริการมีความมั่นใจในการรักษาและให้บริการของหน่วยงาน ด้านสาธารณสุขของประเทศ และปฏิบัติตามแนวทาง ข้อแนะนำในการรักษาของโรงพยาบาลอย่างมีคุณภาพทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเลือกซื้อยาเข้าโรงพยาบาล เป็นต้น

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000079357

29 มิถุนายน 2555

Next post > เหล็กดัดฟันปลอม เสี่ยงติดเชื้อเอดส์,บาดทะยัก ก่อมะเร็ง

< Previous post ไทยติด 1 ใน 10 มาตรฐานอนามัยโลก

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด