logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
HITAP จัดอบรม HTA Workshop และเปิดเวทีเสวนาเรื่อง “HTA เพื่อการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”

วันที่ 1-3 เม.ย. 58 HITAP จัดอบรมการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (HTA Training) และเวทีเสวนาเรื่อง “HTA เพื่อการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” โดยครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 มีผู้เข้าร่วมอบรมทั้งสิ้นกว่า 70 คนจากกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงกลาโหม เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด มหาวิทยาลัยและหน่วยงานวิจัย การอบรมมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในหลักการและความสำคัญของการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ

เนื้อหาการอบรมแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ การบรรยายครอบคลุมเรื่องการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ การคัดเลือกหัวข้อเพื่อทำการประเมินฯ การวางแผนเพื่อทำการประเมินฯ การนำผลประเมินไปใช้ในเชิงนโยบาย และการประเมินผลกระทบที่เกิดจากการประเมินเทคโลยีด้านสุขภาพ ส่วนที่ 2 คือการเสวนาเรื่อง “HTA เพื่อการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” โดยผู้ร่วมเสวนาได้แก่ เข้าร่วมเสวนา เช่น นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ประธานคณะอนุกรรมการศึกษาและจัดทำข้อเสนอการพัฒนากลไกกลางเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในระบบหลักประกันสุขภาพภาครัฐ ภก.ปรีชา พันธุ์ติเวช นายกสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ไทย (THAIMED) ศ.พญ.ดวงฤดี วัฒนศิริชัยกุล โรงพยาบาลรามาธิบดี และ นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี ประธานกลุ่มภารกิจยุทธศาสตร์และการประเมินผล สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

ผู้เข้าร่วมการเสวนาได้เสนอมุมมองที่น่าสนใจต่อการใช้ HTA เพื่อการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ว่า

นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ กล่าวว่าแม้การพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะมีการใช้ข้อมูลความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของเทคโนโลยีด้านสุขภาพในการพิจารณา แต่ก็มีการพิจารณาปัจจัยอื่นร่วมด้วยในหลายมิติ เช่น ประเด็นจริยธรรม และความเป็นไปได้ของการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในทางปฏิบัติ

ภก.ปรีชา พันธุ์ติเวช ให้ข้อคิดเห็นว่าการทำเรื่องการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพนั้นดี แต่ไม่ตอบโจทย์ เพราะเป็นการพิจารณายาใหม่หรือเทคโนโลยีใหม่เข้าไปเรื่อย ๆ แต่ไม่ได้เอาของเก่าที่ไม่ดีออก ส่งผลต่อการดำเนินนโยบายที่เน้นเพียงต่อรองราคากับภาคอุตสาหกรรม เพราะงบประมาณไม่เพิ่มขึ้น แต่ในความเป็นจริงเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่เพิ่มงบประมาณ เพราะผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกปี

ศ.พญ.ดวงฤดี วัฒนศิริชัยกุล ให้ข้อคิดจากมุมมองผู้ปฏิบัติว่าในกระบวนการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ฯ ยังไม่มีผู้ประสานงานที่ชัดเจน นอกจากนี้ เมื่อมีการเสนอหัวข้อไปแล้วยังไม่สามารถติดตามความก้าวหน้าได้

นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารีเสนอว่าในอนาคต ควรมีการศึกษาความเป็นไปได้ในเชิงระบบในการประเมินผลที่เกิดจากที่มีการใช้เทคโนโลยีนั้นแล้ว เพื่อติดตามผลร่วมด้วยว่าเมื่อใช้จริงแล้วเป็นอย่างไร เพื่อให้เกิดการประเมินอย่างเป็นระบบ

จากการสอบถามความเห็นผู้เข้าร่วมอบรม ส่วนใหญ่ระบุว่าจะแนะนำให้คนรู้จักเข้าร่วมการอบรมนี้ในครั้งต่อ ๆ ไป เพราะเห็นว่าเนื้อหาการอบรมเป็นความรู้ใหม่ที่มีประโยชน์ทั้งต่อตัวผู้ตอบแบบสอบถามและองค์กร สามารถนำความรู้ไปต่อยอดได้ รวมทั้งเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการทำงานต่อไป อย่างไรก็ดีมีข้อเสนอแนะที่น่าสนใจว่า รูปแบบและวิธีการอบรมอาจยังไม่เหมาะ สำหรับผู้ที่ต้องการนำความรู้ไปใช้ในเชิงปฏิบัติเพราะเน้นทฤษฎีมากกว่าปฏิบัติ ทั้งนี้ผู้จัดจะนำข้อเสนอแนะที่ได้ไปปรับปรุงสำหรับการจัดการอบรมครั้งต่อ ๆ ไป

28 เมษายน 2558

Next post > จัดอบรมและศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการนำร่องเพื่อพัฒนาขีดความสามารถด้านการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ ในประเทศแทนซาเนีย

< Previous post สธ. เนปาล เชิญ HITAP จัดอบรม HTA เพื่อพัฒนาบัญชียาเนปาล

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด