“MIDAS Medical Innovation Hackathon 2025” เวทีขับเคลื่อนนวัตกรรมทางการแพทย์ สู่สิทธิประโยชน์ของคนไทย

วันที่ 20 เม.ย. 58 HITAP จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ข้อเสนอแนะต่อการปรับปรุงแนวทางการดูแลรักษาและป้องกันโรคหืดที่เหมาะสมในเด็กไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาเรื่อง “การรักษาและป้องกันโรคหืดในเด็กไทย” การประชุมในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน เช่น ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) บุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคหืด (แพทย์ เภสัชกร พยาบาล) และสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ เป็นต้น
ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีแนวเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยเด็ก (Thai asthma guideline) โรคหืดอยู่แล้ว ซึ่งเป็นแนวทางที่ได้ทำการศึกษาและพัฒนาอย่างเป็นมาตรฐานสำหรับแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและให้การรักษา อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะมี guideline ในการช่วยวินิจฉัยแล้ว แต่ในการวินิจฉัยและการสั่งจ่ายยายังเป็นเรื่องยากในทางปฏิบัติหากผู้วินิจฉัยไม่ใช่แพทย์เฉพาะทาง นอกจากนี้ยังพบว่าการพ่นยาในเด็กก็เป็นเรื่องยากด้วยเช่นกัน ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์ เช่น พยาบาล เภสัชกร และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพสต.) ล้วนมีความสำคัญในการช่วยดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้
การประชุมดังกล่าวเปิดให้ผู้เข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็น โดยมีประเด็นสำคัญๆ เช่น แนวทางการปฏิบัติที่มีอยู่ และ (ร่าง) แนวทางฉบับใหม่นี้ ยังไม่ชัดเจนสำหรับผู้ใช้งาน (แพทย์ผู้ปฏิบัติ) และยังไม่มีแนวทางการปฏิบัติสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง ข้อสรุปจากการประชุมเสนอให้ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ ปรับ (ร่าง) แนวทางฉบับใหม่นี้ให้เข้าใจง่ายต่อการนำไปใช้ และให้พัฒนาแนวทางปฏิบัติเพื่อดูแลผู้ป่วยเด็กโรคหืด สำหรับพยาบาล เภสัชกรและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเพิ่มเติม หลังจากนี้จะมีการประชุมผู้เกี่ยวข้องอีกครั้งเพื่อให้ข้อเสนอแนะต่อแนวทางปฏิบัติที่ร่างขึ้น