logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

กรมสุขภาพจิต เตรียมพร้อม “อีคิว” เด็กไทยก้าวสู่อาเซียน เผยผลสำรวจในรอบ 10 ปี อีคิวเฉลี่ย ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ ความมุ่งมั่นพยายามน้อย เร่งสร้างความร่วมมือภาคีเครือข่ายด้านเด็ก เสริมปัจจัยการเรียนรู้ให้เด็กและครอบครัว
       
       วันนี้ (26 มิ.ย.) กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข จัด ประชุมวิชาการสุขภาพจิตและจิตเวชเด็ก ครั้งที่ 1 และการประชุมวิชาการพัฒนาสติปัญญาเด็กไทย ครั้งที่ 9 “เด็กไทย…ก้าวไกลสู่อาเซียน” ระหว่างวันที่ 26-27 มิถุนายน 2555 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์  โดย นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ อธิบดี กรมสุขภาพจิต กล่าวว่า กรมสุขภาพจิต ได้ดำเนินโครงการพัฒนาสติปัญญาเด็กไทยมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเฝ้าระวัง ส่งเสริม และพัฒนาความฉลาดทางสติปัญญาควบคู่ไปกับการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์และปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยปัจจุบันเกี่ยวกับเด็กและ เยาวชนไทย มีทั้งเรื่องน่ายินดีที่เด็กไทยมีความสามารถแข่งขันด้านต่างๆ ในเวทีระดับภูมิภาค หรือระดับโลกได้อย่างภาคภูมิใจ สามารถสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศได้อย่างต่อเนื่อง แต่ขณะเดียวกัน ก็ยังพบพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนบางส่วนที่สร้างความรุนแรง ความเสียหายขึ้นในสังคม คุณธรรมและจริยธรรมลดลง ซึ่งเป็นปัญหาที่ทุกภาคส่วนตระหนักถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหามาโดยตลอด
       
       ทั้งนี้ โครงการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (อีคิว) เด็กและเยาวชน ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2548-2554 การดำเนินงานที่ผ่านมา มีการสำรวจความฉลาดทางอารมณ์ ในปี 2550 เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์เด็กไทย และ ปี 2554 เป็นการสำรวจติดตามสถานการณ์ระดับความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กนักเรียนไทย อายุ 6-11 ปี ระดับประเทศเป็น ครั้งที่ 2 โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 5,325 คน ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับที่ใช้สำรวจ ไอคิว ปี 2554 จากตัวแทน กรุงเทพมหานคร และ 4 ภาค รวม 10 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี ระยอง สมุทรสาคร อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ นครราชสีมา ร้อยเอ็ด กระบี่ ปัตตานี ใช้แบบทดสอบวัดความฉลาดทางอารมณ์ฉบับกรมสุขภาพจิต ซึ่งประกอบด้วย ฉบับเด็กอายุ 6-11 ปี ที่ครูเป็นผู้ประเมิน วิเคราะห์ผลเป็นค่าเฉลี่ยและร้อยละ โดยแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1.การวิเคราะห์ข้อมูล ที่ได้ในการสำรวจปี 2554 และ 2.การวิเคราะห์เปรียบเทียบผลความฉลาดทางอารมณ์ในการสำรวจปี 2545 และปี 2550 โดยเมื่อเปรียบเทียบระยะ 3 ปีที่ทำการสำรวจ ผลรวมของคะแนนอีคิว กลุ่มอายุ 6-11 ปี โดยใช้แบบทดสอบที่มีโครงสร้างเดียวกันแต่ผู้ประเมินต่างกัน คือ ปี 2545 และปี 2550 พ่อแม่ผู้ปกครองเป็นผู้ประเมิน ส่วนปี 2554 ครูเป็นผู้ประเมิน แต่ได้ปรับให้คะแนนอยู่ในมาตรเดียวกัน พบว่า คะแนนอีคิว ปี 2554 มีค่าต่ำสุด อยู่ที่ 169.72 จาก 179.58 ในปี 2550 และ 186.42 ในปี 2545
       
       พญ.พรรณพิมล วิปุลากร ผู้ อำนวยการสถาบันราชานุกูล กล่าวเสริมว่า ผลสำรวจความฉลาดทางอารมณ์เด็กนักเรียนไทยอายุ 6-11 ปี โดยในปี 2554 มีคะแนนอีคิว เฉลี่ยระดับประเทศอยู่ระดับต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ คือ มีค่าคะแนนอยู่ที่ 45.12 จากค่าคะแนนปกติ 50-100 ซึ่งมีจุดอ่อนทั้ง 3 องค์ประกอบใหญ่ คือ ดี เก่ง สุข และเมื่อพิจารณาองค์ประกอบย่อยในแต่ละด้าน พบว่า การปรับตัวต่อปัญหา มีค่าคะแนนอยู่ที่ 46.65 การควบคุมอารมณ์ 46.50 การยอมรับถูกผิด 45.65 ความพอใจในตนเอง 45.65 ความใส่ใจและเข้าใจอารมณ์ผู้อื่น 45.42 การรู้จักปรับใจ 45.23 และที่เป็นจุดอ่อนมาก ได้แก่ ความมุ่งมั่นพยายาม ซึ่งมีค่าคะแนน อยู่ที่ 42.98 รองลงมา คือ ความกล้าแสดงออก 43.48 และความรื่นเริงเบิกบาน 44.53
       
       ผอ.สถาบันราชานุกูล กล่าวต่อว่า เมื่อ พิจารณารายภาค จะพบว่า ภาคใต้มีคะแนนอีคิว เฉลี่ยสููงสุด อยู่ที่ 45.95 ซึ่งใกล้ค่าปกติมากที่สุด รองลงมา คือ ภาคเหนือ 45.84 กรุงเทพมหานคร 45.62 ภาคกลาง 44.38 และต่ำสุด คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 44.04 และเมื่อพิจารณาคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์ตามเกณฑ์ปกติ ที่มีค่าคะแนนอยู่ที่ 50-100 พบว่า ภาคใต้มีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 30.4 รองลงมา คือ กรุงเทพมหานคร ร้อยละ 23.2 ภาคเหนือ ร้อยละ 22.9 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 21.4 และภาคกลาง น้อยที่สุด ร้อยละ 19.7 และมีกลุ่มที่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนา (ค่าคะแนน ต่ำกว่า 40) เป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 32.3 ภาคกลาง ร้อยละ 28.8 กรุงเทพมหานคร ร้อยละ 25.3 ภาคเหนือ ร้อยละ 22.3 และภาคใต้ ร้อยละ 21.4
       
       “กรมสุขภาพจิต จะร่วมมือกับภาคีเครือข่ายด้านเด็ก นำผลที่ได้มากำหนดแนวทางเพื่อเสริมปัจจัยการเรียนรู้ให้เด็กและครอบครัว ดังนี้ 1.ส่งเสริมพ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก สนับสนุนให้เด็กได้เรียนรู้เต็มศักยภาพ ภายใต้บรรยากาศที่มีความสุข เด็กต้องการสัมผัส โอบกอด และการให้กำลังใจ 2.พัฒนาระบบการเฝ้าระวังสถานการณ์ด้านสุขภาพจิตเด็กในระดับ อำเภอ เพื่อประเมิน สนับสนุน ส่งเสริม ช่วยเหลือเด็กที่มีความบกพร่องด้านสุขภาพจิตให้ได้รับการดูแล และเข้าถึงบริการสุขภาพจิตสำหรับเด็ก

 

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000078349

27 มิถุนายน 2555

Next post > Cells Most Vulnerable to HPV Are Identified

< Previous post หวั่น “ธาลัสซีเมีย” คุกคามไทย

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด