logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

    กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์สำรวจพบ ยังมีคนไทยบางกลุ่มนิยมบริโภคหน่อไม้ดิบ จึงอาจได้รับอันตรายจากพิษไซยาไนด์ที่มีอยู่ในหน่อไม้ตามธรรมชาติ ถ้าได้รับในปริมาณมากเกินไปจะทำให้ขาดออกซิเจน หมดสติ และเสียชีวิตได้
       
       นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้เฝ้าระวังการบริโภคอาหารของประชาชนทั่วประเทศ พบว่า หน่อไม้เป็นอาหารที่คนไทยนิยมบริโภคมาก ล่าสุดมีการโฆษณาชวนเชื่ออ้างว่าหน่อไม้บงหวานสามารถทานดิบได้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงเตือนประชาชนที่นิยมบริโภคหน่อไม้ดิบหรือหน่อไม่ ที่ยังปรุงไม่สุก อาจได้รับพิษจากสารไซยาไนด์ ซึ่งมีอยู่ในหน่อไม้ตามธรรมชาติ และทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย หากเข้าสู่ร่างกายในปริมาณน้อย สามารถขับออกทางปัสสาวะได้ แต่ถ้าได้รับในปริมาณมาก สารไซยาไนด์จะจับตัวกับสารในเม็ดเลือดแดง (hemoglobin) แทนที่ออกซิเจนทำให้เกิดอาการขาดออกซิเจน หมดสติและอาจทำให้เสียชีวิตได้
       
       อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ทางองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ และองค์การอนามัยโลก(WHO) ได้กำหนดให้ค่า ADI (Acceptable Daily Intake) หรือปริมาณสารที่ร่างกายรับได้ สำหรับสารไซยาไนด์เฉลี่ยที่ร่างกายรับได้ไม่เกิน 0.05 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ซึ่งจากการสำรวจครั้งนี้ พบว่าปริมาณไซยาไนด์เฉลี่ยที่คนไทยได้รับใกล้เคียงค่า ADI แต่ในกลุ่มที่ผู้บริโภคบริโภคหน่อไม้ในปริมาณมากเกินไปจะทำให้มีปริมาณสูง กว่าค่าADI กำหนดถึง 1.8 เท่า
       
       นายมงคล เจนจิตติกุล ผู้อำนวยการสำนักคุณภาพและ ความปลอดภัยอาหาร กล่าวว่า การบริโภคหน่อไม้ที่ต้มสุกจะทำให้ผู้บริโภคปลอดภัยจากการได้รับสารไซยาไนด์ แต่หากอุณหภูมิและระยะเวลาในการต้มไม่เหมาะสมก็ไม่สามารถลดปริมาณสารชนิดนี้ ได้ อย่างไรก็ตาม เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคก่อนที่จะนำหน่อไม้ไปบริโภคควรปรุงให้สุก ด้วยการต้มหน่อไม้ในน้ำเดือดนานอย่างน้อย 10 นาที ซึ่งสามารถลดปริมาณสารไซยาไนด์ลงได้ถึงร้อยละ 90.5

 

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000076107

21 มิถุนายน 2555

Next post > อย.ยันไทยไม่มีการนำเข้านมปนเปื้อนปรอทจากจีน

< Previous post แปรงฟันไม่ถูกวิธีเสี่ยงมะเร็ง

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด