logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

นักวิจัยบอกว่า คนที่แปรงฟันไม่ถูกวิธีอาจเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง เพราะหินปูนหรือแบคทีเรียในช่องปากอาจทำให้อายุขัยสั้นลง 13 ปี
คนที่มีแบคทีเรียมากบนพื้นผิวของฟันและเหงือก มีโอกาสเสี่ยงเพิ่มขึ้น 80% ที่จะเสียชีวิตก่อนวัยอันควร
นักวิจัยบอกว่า การติดเชื้อและการอักเสบเป็นสาเหตุหลักถึง 1 ใน 5 ของการเกิดโรคมะเร็ง ซึ่งมักพบในคนไข้โรคเหงือกที่เกิดจากหินปูน
โรคเหงือกทำให้มีกลิ่นปาก เลือดออกตามไรฟัน ฟันผุ เหงือกร่น ฟันหลุดเพราะหินปูนจับระหว่างฟันกับเหงือก
โรค นี้ยังเชื่อมโยงกับโรคหัวใจด้วย ซึ่งอาการอักเสบของเหงือกได้นำเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด อย่างไรก็ดีนักวิจัยในสหรัฐบอกเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ความเชื่อมโยงนี้อาจเป็นเรื่องบังเอิญ
ในงานวิจัยชิ้นล่าสุดนี้ นักวิจัยในสวีเดนยอมรับในทำนองเดียวกันว่า ข้อค้นพบนี้อาจไม่ได้พิสูจน์ว่าหินปูนกับมะเร็งเกี่ยวข้องกัน อนามัยช่องปากที่ไม่ดี อาจเป็นเพียงปัจจัยที่ตามมาจากปัจจัยด้านการใช้ชีวิตที่เป็นสาเหตุของมะเร็ง ก็เป็นได้
งานวิจัยได้ติดตามสุขภาวะของผู้ใหญ่ 1,390 คนในกรุงสตอกโฮล์มที่ถูกเลือกโดยวิธีสุ่มตัวอย่าง โดยเริ่มติดตามมาตั้งแต่ปี 2528 เป็นระยะเวลา 24 ปี
ผู้เข้าร่วมทั้งหมด มีอายุในวัย 30-40 ในตอนที่เริ่มงานวิจัย โดยได้ถูกสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็ง เช่น การสูบบุหรี่ และฐานะทางเศรษฐกิจ และมีการประเมินสุขภาพช่องปากด้วย เพื่อวัดระดับหินปูน หินปูนตามไรฟัน โรคเหงือก และภาวะฟันหลุด
ไม่มีใครเป็นโรคเหงือกอย่างชัดเจน แต่ทุกคนมีหินปูนที่ผิวฟันและเหงือกในระดับต่างๆ กัน
รายงาน ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร BMJ Open กล่าวว่า เมื่อถึงปี 2552 ผู้เข้าร่วม 58 คนได้เสียชีวิต ราว 1 ใน 3 เป็นผู้หญิง (35%) ในจำนวนนี้ 35 รายเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง อายุเฉลี่ยของผู้เสียชีวิตคือ 61 ปีในกลุ่มผู้หญิง และ 60 ปีในกลุ่มผู้ชาย
หัวหน้าทีมวิจัย ศาสตราจารย์เบอร์กิตตา โซเดอร์ แห่งภาควิชาทันตแพทยศาสตร์ สถาบันคาโรลินสกา บอกว่า ผู้หญิงมีอายุขัยคาดหมายว่าจะมีชีวิตยืนยาวกว่านั้น 13 ปี และผู้ชาย 8.5 ปี จึงถือว่าเป็นการเสียชีวิตก่อนกำหนด
ผู้หญิงที่เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นมะเร็งเต้านม ขณะที่ผู้ชายเป็นมะเร็งหลายชนิด
ดร.พอ ล ฟาโรห์ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยามะเร็ง มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ บอกว่า ผลวิจัยบ่งชี้ว่า การมีหินปูนมากมีความเชื่อมโยงกับการเสียชีวิตในทุกสาเหตุ.

http://www.thaipost.net/x-cite/200612/58465

20 มิถุนายน 2555

Next post > เตือนคนนิยม "หน่อไม้ดิบ" เสี่ยงรับไซยาไนด์ อันตรายถึงชีวิต

< Previous post ป่วยหวัด 2009 ที่ รพ.จิตเวชโคราช ไม่น่าห่วง คุมได้

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด