logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

 สธ.พบ ปี 2555 มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสม 21,289 ราย ภาคกลาง ป่วยมากสุด กำชับ สสจ.ทั่วประเทศคุมเข้ม ชู ตำบลน้ำดิบ จ.ลำพูน ตัวอย่างชุมชนควบคุมโรคไข้เลือดออกแบบบูรณาการ จนไม่มีผู้ป่วย แนะประชาชนใช้มาตรการ 5 ป.ปราบยุงลาย
       
       วันนี้ (18 ก.ค.) นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังนำคณะสื่อมวลชนดูงานการควบคุมโรคไข้เลือดออก ที่โรงพยาบาลนครพิงค์ จ.เชียงใหม่ ว่า สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย ยังน่าเป็นห่วง เพราะเป็นช่วงอากาศร้อนสลับกับฝนตก ทำให้เกิดน้ำขังบริเวณพื้นที่ต่างๆ และกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายได้ ส่งผลให้ช่วงนี้ประชาชนอาจป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกง่ายและมีจำนวนเพิ่มขึ้น ดังนั้น สธ.จึงได้แจ้งแนวทางไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทุกแห่ง ดังนี้ 1.ทุกจังหวัดติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หากจำเป็นให้เปิดศูนย์ปฏิบัติการในระดับจังหวัดหรือพื้นที่ทันที 2.เร่งรัดการลดจำนวนผู้ป่วยตาย ด้วยการจัดตั้งเครือข่ายให้คำปรึกษาด้านรักษาพยาบาล และส่งต่ออย่างรวดเร็ว และ 3.ตัดวงจรการระบาดของโรค ด้วยการป้องกันควบคุมโรคให้เร็วขึ้น
       
       นพ.สุวรรณชัย กล่าวอีกว่า สธ.ได้ออก มาตรการควบคุมโรคไข้เลือดออก 5 ด้าน ดังนี้ 1.การเฝ้าระวังควบคุมโรคในทันทีที่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 2.ป้องกันไม่ให้เกิดโรคซ้ำหรือเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหัวใจสำคัญอยู่ที่ระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน 3.การเข้าถึงบริการต้องเป็นไปอย่างรวดเร็วเพื่อลดการป่วยตาย 4.การสื่อสารความเสี่ยงต้องชัดเจนและทั่วถึง เพื่อให้ประชาชนและหน่วยงานให้ความสำคัญ และเกิดความร่วมมือ และ 5.การร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ซึ่งทั้ง 5 มาตรการดังกล่าว ต้องอาศัยเจ้าหน้าที่จากทุกภาคส่วนและประชาชนดำเนินการอย่างจริงจังและต่อ เนื่อง เพื่อลดจำนวนการป่วยตายจากโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่
       
       นพ.สุวรรณชัย กล่าวต่อไปว่า ในส่วนกรมควบคุมโรค ได้มีมาตรการเข้มข้นในเรื่องนี้ เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกที่อาจจะเกิดขึ้น โดยกำชับสำนักงานป้องกันควบคุมโรคทั้ง 12 เขตทั่วประเทศ ประสานกับ สสจ.เฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในพื้นที่อย่างใกล้ชิด พร้อมเตรียมทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ลงพื้นที่เพื่อควบคุมโรคภายใน 24 ชั่วโมง พร้อมสนับสนุนการดำเนินการทุกด้าน เช่น ทีมสอบสวนโรค ทีมปฏิบัติการพ่นสารเคมีกำจัดยุงตัวเต็มวัย ทรายกำจัดลูกน้ำ ยาทากันยุง และสื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนร่วมกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทุกสัปดาห์อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการจัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดยุงลายเพื่อลดปริมาณยุงลายให้มากที่สุด
       
       ด้านนพ.วิชัย สติมัย ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กล่าวเพิ่มเติมว่า สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปัจจุบันของไทย พบว่า จากข้อมูลของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค (ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-12 กรกฎาคม 2555) พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสม จำนวน 21,289 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 33.33 ต่อประชากรแสนคน มีผู้เสียชีวิต จำนวน 24 ราย เมื่อแยกเป็นรายภาคที่มีจำนวนผู้ป่วยมากที่สุด ได้แก่ ภาคกลาง ผู้ป่วย 8,046 ราย เสียชีวิต 7 ราย รองลงมาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้ป่วย 5,396 ราย เสียชีวิต 7 ราย ภาคใต้ ผู้ป่วย 4,590 ราย เสียชีวิต 5 ราย และภาคเหนือ ผู้ป่วย 3,257 ราย เสียชีวิต 5 ราย ตามลำดับ
       
       “ส่วนสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด มีดังนี้ มากที่สุดคือ จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ป่วย 294 ราย รองลงมา จังหวัดแพร่ 251 ราย เชียงราย 243 ราย น่าน 59 ราย ลำปาง 52 ราย พะเยา 50 ราย ลำพูน 13 ราย และจังหวัดแม่ฮ่องสอน 12 ราย รวม 8 จังหวัด จำนวนผู้ป่วย 974 ราย และไม่มีผู้เสียชีวิตเลย และหากพิจารณาตามอัตราป่วย พบว่า จังหวัดที่มีอัตราป่วยน้อยที่สุดคือ จังหวัดลำพูน คิดเป็นอัตราป่วย 3.21 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของอัตราป่วยทั้งประเทศ 10 เท่า” นพ.วิชัย กล่าว
       
       นพ.วิชัย กล่าวต่อไปอีกว่า สำหรับกรณีศึกษาการควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ ต.น้ำดิบ อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ซึ่งเกิดจากการทำงานแบบมีส่วนร่วมของคนในชุมชน และความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง จนเกิดนักวิจัยชุมชนขึ้น และจับมือกันเพื่อร่วมกันสร้าง “หมู่บ้านอยู่ดี มีสุข และปลอดไข้เลือดออก” รวมถึงการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ดำเนินการใน 6 หมู่บ้าน เป็นเวลา 3 ปีมาแล้ว แต่เดิมพบว่า พื้นที่ดังกล่าวมีสถิติการระบาดของโรคไข้เลือดออกสูง แต่หลังจากดำเนินงานตามโครงการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายด้วยวิถีพื้นบ้าน การจัดการสิ่งแวดล้อมให้สะอาด การเรียนรู้การสอบสวนโรค และมีการขยายการดูแลสุขภาพจาก อสม.สู่ ชาวบ้าน อบต.กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ทำให้เกิดเครือข่ายการทำงานที่เข้มแข็ง มีการร่วมมือกันทำงานแบบบูรณาการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และลดการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของคนในชุมชนลงจำนวนมาก จนปัจจุบันตั้งแต่ต้นปี 2555 เป็นต้นมา ยังไม่มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกแม้แต่รายเดียว ซึ่งถือเป็นความสำเร็จของคนในชุมชนตำบลน้ำดิบ
       
       “ขอให้ประชาชนปรับพฤติกรรมเพื่อ ป้องกันโรคไข้เลือดออกด้วย 5 ป.ปราบยุงลาย ได้แก่ ปิด เปลี่ยน ปล่อย ปรับปรุง และปฏิบัติจนเป็นนิสัย อาทิ ปิดฝาภาชนะกักเก็บน้ำทุกชนิด เปลี่ยนน้ำทุกๆ 7 วัน ปล่อยปลากินลูกน้ำในภาชนะกักเก็บน้ำ ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเพื่อไม่ให้เป็นที่เพาะพันธุ์ของยุง และปฏิบัติตนเองจนเป็นนิสัย หากประชาชนสามารถทำตามมาตรการดังกล่าว จะสามารถช่วยลดจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลงได้ ” นพ.วิชัย กล่าว

 

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000088284

19 กรกฎาคม 2555

Next post > สธ.อัดความรู้ดูแลสุขภาพให้ชมรมสตรีไทยทั่วประเทศ

< Previous post HIV-prevention drug Truvada approved by US

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด