logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

http://www.thairath.co.th/content/pol/267508

กระทรวงสาธารณสุข ชง ครม.ไฟเขียวยุทธศาสตร์ควบคุมยาสูบแห่งชาติ ประกอบด้วย 8
ยุทธศาสตร์ คุมกำเนิดสิงห์อมควันรายใหม่ …

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 12 มิ.ย. 2555 กระทรวงสาธารณ
สุข (สธ.) ขอความเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ พ.ศ. 2555–2557 และขอ
ความเห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติตามแผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ พ.ศ.
2555–2557 และให้จัดทำแผนปฏิบัติการและงบประมาณรองรับแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวไว้ในแผน
ปฏิบัติราชการประจำปี และขอความเห็นชอบให้สำนักงบประมาณ (สงป.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
พิจารณาให้ความสำคัญในการจัดสรรงบประมาณ เพื่อดำเนินงานและบริหารจัดการเพื่อให้เป็นไปตาม
แผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ พ.ศ. 2555–2557

มีรายงานว่า สาระสำคัญของแผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ พ.ศ. 2555–2557 ประกอบ
ด้วย 8 ยุทธศาสตร์ และมีหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การป้องกันมิให้เกิดผู้
บริโภคยาสูบรายใหม่ ประกอบด้วย 3 ยุทธวิธี เช่น การให้ความรู้ การป้องกันเด็กและเยาวชนจาก
ความเย้ายวน ฯลฯ หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ อาทิ ศธ., พม., ทก., วธ., ตช., สคบ. ฯลฯ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมให้ผู้บริโภคลดและเลิกใช้ยาสูบ ประกอบด้วย 5 ยุทธวิธี เช่น ส่งเสริม
การเลิกบริโภคยาสูบ ส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาบุคลากรและเครือข่ายให้มีองค์ความรู้ในการช่วยให้
เลิกยาสูบ ฯลฯ หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ อาทิ กรมการแพทย์ มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ฯลฯ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การลดพิษภัยของผลิตภัณฑ์ยาสูบ ประกอบ
ด้วย 4 ยุทธวิธี เช่น ปรับกฎหมายว่าด้วยการแจ้งรายการ ส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบฯ การสร้าง
กระบวนการบริหารจัดการ ข้อมูลส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบ ฯลฯ หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ
ประกอบด้วย กรมควบคุมโรค กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างสิ่งแวดล้อมให้
ปลอดควันบุหรี่ ประกอบด้วย 6 ยุทธวิธี เช่น การส่งเสริม สนับสนุนให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย การ
ปรับเปลี่ยนค่านิยมของผู้บริโภคยาสูบ การบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ฯลฯ หน่วยงานหลักที่รับผิด
ชอบ อาทิ กรมควบคุมโรค ศธ., รง., ทส., อก. ฯลฯ

ยุทธศาสตร์ที่ 5 การสร้างเสริมความเข้มแข็งและพัฒนาขีดความสามารถในการดำเนินงานควบคุมยา
สูบของประเทศไทย ประกอบด้วย 6 ยุทธวิธี เช่น การพัฒนานโยบายและภาวะการนำในการควบคุม
ยาสูบ การพัฒนาโครงสร้างและระบบบริหารจัดการ หน่วยงานควบคุมยาสูบ ฯลฯ หน่วยงานหลักที่รับ
ผิดชอบ อาทิ กรมควบคุมโรค ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ ฯลฯ ยุทธศาสตร์ที่ 6
การควบคุมการค้าผลิตภัณฑ์ยาสูบที่ผิดกฎหมาย ประกอบด้วย 4 ยุทธวิธี เช่น การป้องกันและปราบ
ปรามยาสูบผิดกฎหมาย การควบคุมแหล่งจัดหา ฯลฯ หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ อาทิ กรมสรรพสามิต
กรมศุลกากร ฯลฯ ยุทธศาสตร์ที่ 7 การแก้ไขปัญหาการควบคุมยาสูบ โดยใช้มาตรการทางภาษี
ประกอบด้วย 2 ยุทธวิธี ได้แก่ การปรับปรุงโครงสร้างภาษียาสูบและการปรับปรุงระบบการบริหาร
จัดเก็บภาษียาสูบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมยาสูบ หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ อาทิ กรมสรรพ
สามิต กรมศุลกากร ฯลฯ ยุทธศาสตร์ที่ 8 การเฝ้าระวังและควบคุมอุตสาหกรรมยาสูบ ประกอบด้วย
7 ยุทธวิธี เช่น การป้องกันอุตสาหกรรมยาสูบเข้ามาแทรกแซง การตรวจสอบอุตสาหกรรมยาสูบ
(บริษัทข้ามชาติและโรงงานยาสูบ กลุ่มบังหน้าผลประโยชน์ร่วมกัน) ฯลฯ หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ
กรมควบคุมโรค.
 

12 มิถุนายน 2555

Next post > ผุดโครงการไข่ใหม่แลกยาเก่าติดฝาบ้าน

< Previous post กรมควบคุมโรค แนะนายจ้างพาแรงงานต่างด้าวฉีดวัคซีนหัด

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด