logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

http://bit.ly/LCdmwV

 นพ.ชาตรี เจริญชีวะกุล  เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า ปัจจุบันสถานการณ์ฉุกเฉิน  การเจ็บป่วยฉุกเฉินเป็นเรื่องที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ ดังนั้น สพฉ. ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่ดูแลเรื่องชีวิต จึงต้องมีการเตรียมบุคลากรให้พร้อมปฏิบัติงานอยู่ตลอดเวลาโดย สพฉ. ได้กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติสำหรับทีมกู้ชีพว่าทุกพื้นที่จะต้องมีการจัดซ้อมแผน เสมือนจริงตามความเสี่ยงของพื้นที่อย่างน้อยปีละ1 ครั้ง เพื่อฝึกการทำงานให้เตรียมพร้อมตลอดเวลาและมีประสิทธิภาพ 

 
โดยการซ้อมแผน เตรียมพร้อม ซ้อมบ่อยๆจะทำให้ทีมกู้ชีพเกิดความชำนาญ เพราะบางพื้นที่อาจไม่เคยเกิดเหตุการณ์รุนแรง โดยที่ผ่านมาหลายพื้นที่ได้จัดซ้อมแผนเสมือนจริงแล้วอาทิ จ.ชลบุรี จัดซ้อมแผนสารเคมีรั่วไหลเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เป็นที่ตั้งของโรงงาน อุตสาหกรรมจึงมีความเสี่ยงในการเกิดเหตุสูง, จ.ขอนแก่น จัดซ้อมแผนตึกถล่ม , จ.ลำปางซ้อมแผนอุบัติเหตุหมู่ และ จ.แม่ฮ่องสอนจ.สุราษฎร์ธานี จัดซ้อมแผนแผ่นดินไหวดินโคลนถล่ม  เป็นต้น โดยแต่ละพื้นที่จะมีการฝึกซ้อมการกู้ชีพทางบก ทางน้ำ ทางอากาศยาน แล้วแต่ความเหมาะสมของสถานการณ์และสภาพภูมิประเทศของพื้นที่นั้นๆ 
 
นพ.ชาตรี กล่าวต่อว่า สำหรับประโยชน์ของการซ้อมแผนเสมือนจริงนอกจากจะทำให้ทีมกู้ชีพรู้จักการ ประสานการทำงานกันอย่างมีประสิทธิภาพและทำให้แต่ละภาคส่วนรู้บทบาทหน้าที่ ของตนเองแล้วยังถือเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนด้วย
11 มิถุนายน 2555

Next post > กรมสุขภาพจิตห่วงคนไทยเสี่ยงเป็น"โรคติดการพนัน"

< Previous post DNA Blueprint for Fetus Built Using Tests of Parents

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด