HITAP Foundation รับรางวัลเกียรติยศ “5 ทศวรรษ ระบบยาประเทศไทย” พร้อมร่วมเสวนาทิศทางบัญชียาหลักแห่งชาติ

http://bit.ly/LwNUXv
เครือข่ายเอดส์-ไต เสนอรัฐลดเหลื่อมล้ำรักษาโรคเหมือนกันทั้งสามกองทุนสุขภาพ
นายสุดใจ ตะภา ตัวแทนเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ประเทศไทย เปิดเผยว่า เครือข่ายมีข้อเสนอต่อนโยบาย 3 กองทุนสุขภาพมาตรฐานเดียวของรัฐบาล ประกอบด้วย 1.ให้ทั้งสามระบบใช้ฐานข้อมูลอันเดียวกัน เพื่อให้การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเป็นไปอย่างต่อเนื่อง 2.ให้มีมาตรฐาน การรักษาเดียวกัน 3.มีแนวทางการอนุมัติปรับเปลี่ยนสูตรยาแบบเดียวกัน 4.ใช้ระบบการจัดการและสำรองยาต้านไวรัสสูตรดื้อยาแบบเดียวกัน 5.ให้ทั้งสามกองทุนร่วมกันรับผิดชอบในเรื่องการป้องกันการติดเชื้อของทุกคน
“การดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ใน 3 กองทุนสุขภาพ คือ บัตรทอง ประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการ ปัจจุบันยังมีปัญหาความไม่เท่าเทียมกัน ทำให้คุณภาพชีวิตต่างกัน”นายสุดใจ กล่าว
นายสหรัฐ ศราภัยวานิช ตัวแทนผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง กล่าวว่า ข้อเสนอของชมรมเพื่อนโรคไตในการลดความเหลื่อมล้ำ 3 กองทุนสุขภาพ ได้แก่ 1.แนวทางการรักษาสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ควรยึดเหตุผลทางการแพทย์ของคนไข้เป็นเหตุผลหลัก
2.สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ควรพัฒนาระบบให้ข้อมูลคนไข้ที่รอบด้าน เพื่อให้มีส่วนร่วมการรักษาและเลือกแนวทางได้ 3.คนไข้ต้องล้างหน้าท้องฟรีในทุกระบบ เพราะปัจจุบันคนไข้ประกันสังคมยังต้องร่วมจ่ายในการล้างหน้าท้อง 4.คนไข้ในทุกระบบที่ต้องการฟอกเลือดให้ร่วมจ่ายไม่เกิน 300 บาท/ครั้ง โดยไม่จำกัดจำนวนครั้งและไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเตรียมเส้นสำหรับฟอก
5.ทั้งสามกองทุนต้องวางมาตรการควบคุมคุณภาพการฟอกเลือดด้วยเครื่อง เพราะอาจเป็นเหตุให้ติดโรคอื่นๆ เช่น ตับอักเสบบีและซี และเอชไอวีได้ 6.ให้กรมการค้าภายในควบคุมค่าบริการทางการแพทย์ ค่าฟอกเลือด การเตรียมเส้นเลือด
“ปัญหาใหญ่ของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังในขณะนี้ คือ แต่ละระบบยังมีสิทธิประโยชน์ที่ต่างกันมาก รวมถึงแนวทางการดูแลบำบัดทดแทนไตแต่ละวิธีก็มีข้อดีข้อด้อยต่างกันไป” นายสหรัฐ กล่าว
นพ.พูลชัย จิตอนันตวิทยา ที่ปรึกษาภาคีหมออนามัยแห่งประเทศไทย กล่าวว่า กรณีที่โรงพยาบาลประกันสังคมไม่รักษาผู้ประกันตนจากโครงการตรวจคัดกรอง มะเร็งปากมดลูกของ สปสช. สะท้อนให้เห็นว่าประกันสังคมไม่มีศักยภาพ
“มะเร็งปากมดลูกระยะแรกและรักษาได้ง่ายที่สุด แต่โรงพยาบาลกลับไม่จัดหาอุปกรณ์แล้วยังต้องส่งต่อไปรักษาที่อื่น แถมเก็บค่าบริการในการตรวจมะเร็งซ้ำ ทั้งที่จ่ายสมทบทุกเดือน แบบนี้จะมีสิทธิประกันสังคมทำไม”นพ.พูลชัย กล่าว