logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

Credit by http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000069539

       วานนี้ (6 มิ.ย.) นพ.สุทธจิต ลีนานนท์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยกรรมทั่วไป โรงพยาบาล (รพ.) พระมงกุฎเกล้า กล่าวในงานแถลงข่าวการผ่าตัดรักษาโรคอ้วน ว่า จากสถานการณ์โรคอ้วนที่มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยมีสาเหตุมาจาก 3 ส่วน ได้แก่ 1.พฤติกรรมการกิน 2.สภาพแวดล้อม 3.กรรมพันธุ์ โดยในสาเหตุที่ 3 ส่วนมากพบว่า ที่เด็กเป็นโรคอ้วน อาจเพราะเป็นผลมาจากการกินอาหารที่มากเกินของมารดา สิ่งที่น่ากังวล คือ ในผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินขนาดและมีโรคแทรกซ้อน อาทิ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เส้นเลือดในสมองแตก ไขมันในเลือดสูง โรคไขข้อและกระดูกพรุน โรคหยุดหายใจขณะเวลาหลับ มีอัตราเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงกว่าคนปกติกว่า 2 พันเท่า ดังนั้น จึงจำเป็นต้องพัฒนาการรักษาโรคอ้วนเพื่อสุขภาวะที่ดีขึ้นและลดอัตราการตายก่อนวัยอันควร ซึ่งต้องใช้ทั้งการรักษาทางการแพทย์ การควบคุมอาหาร และการออกกำลังกาย โดยในส่วนของ รพ.พระมงกุฎฯ นั้น ได้มีวิธีการรักษาโรคอ้วนมาแล้วกว่า 8 ปี บริการผู้ป่วยไปกว่า 300 ราย โดยใช้เทคนิคในการผ่าตัดนั้น มี 3 วิธีหลัก คือ
       
       1.การผ่าตัดบายพาส (Roux-en-t Gastric Bypass) คือ การผ่าตัดโดยใช้กล้องขนาดเล็ก เพื่อผ่าตัดกระเพาะอาหารด้านบนให้มีขนาดเล็กและตัดเอาลำไส้ส่วนล่างเข้าไปต่อใหม่ ตัดต่อเหมือนทำสะพานข้ามช่วงที่ดูดซึมไขมัน หรือสารอาหารบางอย่างที่ทำให้อ้วนออกไป ย่นระยะทางที่ทำให้อาหารอยู่ในลำไส้สั้นลง เพื่อลดปริมาณการรับประทานอาหารและลดการดูดซึมอาหาร การผ่าตัดแบบบายพาสนี้ เป็นการผ่าตัดที่ทำกันมานาน ซึ่งพบว่า สามารถช่วยให้น้ำหนักลงได้ดี มีผลอยู่นาน จึงเป็นวิธีผ่าตัดที่วงการแพทย์ใช้เป็นมาตรฐาน แต่มีข้อแม้ว่า ผู้ป่วยต้องทานวิตามินเสริมให้มากทั้งวิตามัน บี 12 วิตามินรวม และแคลเซียม เนื่องจากร่างกายจะมีศักยภาพในการดูซึมสารอาหารน้อยลงหลังผ่าตัด
       
       2.การผ่าตัดแบบสลีฟ (Sleeve Gastrectomy) คือ การผ่าตัดคล้ายกับการทำ Gastric Banding แต่ทำการผ่าตัดกระเพาะอาหารให้มีรูปร่างคล้ายกล้วยหอมแทนการใส่ Banding โดยตัดกระเพาะอาหารส่วนล่างออกไปจากร่างกาย ผู้ป่วยจึงมีกระเพาะอาหารที่เล็ก ทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง 3.การผ่าตัดรัดกระเพาะอาหาร (Gastric Banding) คือ การผ่าตัดโดยใช้กล้องขนาดเล็ก เพื่อนำ Silicone Band ไปวางและรัดไว้ที่ขั้วของกระเพาะอาหาร โดยด้านในของ Banding จะมีบอลลูนเชื่อมต่อกับท่อที่เรียกว่า Port ซึ่งจะนำมาวางไว้ใต้ผิวหนังเช่นเดียวกับ Port ที่ให้เคมีบำบัด ซึ่ง Port นี้ใช้สำหรับฉีดน้ำเกลือเข้าไป หรือดูดออก เพื่อให้บอลลูนโป่งขึ้น-แฟบลง เมื่อบอลลูนโป่งจะทำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้น้อย แต่ถ้าผู้ป่วยคนไข้ทานอาหารไม่ได้ มีอาการอาเจียนก็ดูดน้ำเกลือออก เพื่อให้ทานอาหารได้ตามปกติ ซึ่งคนไข้ต้องมาพบหมอทุก 3 เดือนหลังทำการผ่าตัด เพื่อปรับหาปริมาตรของน้ำเกลือที่ช่วยให้คนไข้มีน้ำหนักลดลงได้ดี และทานอาหารได้อย่างมีคุณภาพ แต่กรณีนี้มีข้อจำกัด คือ จะมีภาวะกัดกร่อนเนื้อทำให้เสีย่งต่อการเกิดแผลในกระเพาะอาหารมากขึ้น และพบว่า จำนวนราว 40% ไม่สามารถคุมน้ำหนักให้ลงตามเป้าหมายได้ อย่างไรก็ตาม ก่อนการตัดสินใจแนะนำให้ผ่าตัดแพทย์ต้องมีการประเมินภาวะร่างกาย รวมทั้งสุขภาพจิตและความเข้าใจในเรื่องการรักษาของผู้ป่วยให้ชัดเจนด้วย เพราะการผ่าตัดรักษาโรคอ้วนนั้นไม่ได้เป้นไปเพื่อความสวยงามแต่เพื่อการรักษา ซึ่งผู้ป่วยต้องร่วมมือกับแพทย์ในการทำตามเงื่อนไข เช่น ควบคุมอาหาร และออกกำลังกายในปริมาณที่เหมาะสมด้วย จึงจะเป็นผลสำเร็จ ซึ่งแพทย์จะติดตามนานกว่า 2 ปี เกี่ยวกับผลรักษา
       
       “สำหรับผู้ป่วยที่เข้ามารับบริการรักษาใน รพ.ทั้ง 300 รายนั้น พบว่า มีอายุต่ำสุด 19 ปี และสูงสุด 65 ปี น้ำหนักมากสุด 260 กก.โดยความสำเร็จในการผ่าตัดนั้นค่อนข้างมีประสิทธิภาพสูงเป็นผลสำเร็จกว่า 80% แต่พบว่ามีเสียชีวิต 1 ราย เนื่องเกิดภาวะแทรกซ้อนมีลิ่มเลือดอุดตันปอด ทั้งนี้ สำหรับผลแทรกซ้อนที่เกิดใน 20% ของผู้ป่วยทั้งหมดที่พบได้ จะได้แก่ เลือดออกตามแผลผ่าตัด การติดเชื้อตามรอยเย็บ ซึ่งส่วนนี้แพทย์ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ” นพ.สุทธจิต กล่าว
       
       นพ.สุทธจิต กล่าวด้วยว่า สิ่งสำคัญในการรักษาโรคด้วนนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากแพทย์ที่รักษา และผู้ป่วยเอง สำหรับผู้ป่วยที่น้ำหนักเกิน 300 กก.ควรที่จะมีการลดน้ำหนักก่อนให้อยู่ที่ประมาณ 230 กก.เนื่องจากผู้ที่มีน้ำหนักแน่นเกินไป เนื้อจะขยายตัวลำบากโดยรายล่าสุดนั้นได้รับการผ่าตัดมาแล้วกว่า 2 ปี อายุ 37 ปี ก่อนผ่าตัดน้ำหนักตัว 83 กก.และหลังผ่าตัดแบบสลีฟ ผู้ป่วยน้ำหนักลดเหลือ 54 กก.ซึ่งผู้ป่วยเข้าใจและทำตามเงื่อนไขได้ดี เนื่องจากเคยผ่าการกินยาและการลดความอ้วนทุกทางมาแล้วแต่ล้มเหลว จึงเข้าปรึกษาซี่งเป็นผลสำเร็จดี อย่างไรก็ตาม ในการป้องกันโรคอ้วนนั้นควรที่จะเน้นแก้ไขพฤติกรรมการกิน และการออกกำลังกายจะดีกว่า เพื่อสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น

7 มิถุนายน 2555

Next post > หมออนามัย แนะ สปส.ตรวจคัดกรองผู้ป่วยก่อนโรคลุกลาม

< Previous post The Trouble With ‘Doctor Knows Best’

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด