logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีเอดส์ ประเทศไทย และองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานเกี่ยวกับเอดส์ คัดค้านการจดสิทธิบัตรยาต้านไวรัส สูตรผสมของยาทีโนโฟเวียร์ และยาเอ็มไตรซิทาบีน กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา เพราะอาจทำให้ยาราคาแพง และผู้ป่วยเข้าถึงยายากขึ้น

เวทีการเสวนาหัวข้อ ปัญหาการยื่นขอสิทธิบัตรยา เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีเห็นว่า ระบบการพิจารณาให้สิทธิบัตร โดยเฉพาะยา และเวชภัณฑ์ของไทยยังมีปัญหา, ไม่มีประสิทธิภาพ รวมถึงไม่มีผู้เชี่ยวชาญด้านเภสัชศาสตร์ ร่วมเป็นคณะกรรมการฯพิจารณา ทำให้บริษัทยาข้ามชาติ มักขอจดสิทธิบัตรยาในรูปแบบไม่จบสิ้น จึงต้องหามาตรการป้องกันเร่งด่วน โดยเฉพาะการขอขยายเวลาการจดสิทธิบัตรยา ทั้งที่เป็นการพัฒนายาตัวเดิม ไม่ใช่ยาที่วิจัยขึ้นมาใหม่ ซึ่งส่งผลให้ผู้ผลิตยารายอื่น ไม่สามารถผลิตยาชื่อสามัญได้ และยังส่งผลให้ผู้ป่วยไม่สามารถเข้าถึงยาราคาถูกได้

นอกจากนี้ เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี ยังเรียกร้องให้กรมทรัพย์สินทางปัญญา เร่งพัฒนาคู่มือการพิจารณาคำขอสิทธิบัตรยา โดยนำผลงานวิจัยของนักวิชาการ มาพิจารณา และควรปรับปรุงฐานข้อมูลสิทธิบัตรให้สามารถสืบค้นได้ง่าย และมีความทันสมัย ส่วนกรณีที่สำนักงานอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา อนุมัติให้ใช้ยาทรูวาดา เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีในคนกลุ่มเสี่ยงนั้น นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า ไม่แนะนำให้กลุ่มเสี่ยงใช้ยาตัวนี้ เพราะอาจส่งผลให้เกิดอาการดื้อยาได้ในระยะยาว แม้ว่า ผลวิจัยในกลุ่มเสี่ยงจะระบุว่า ยาดังกล่าวช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ถึงร้อยละ 60 แต่ก็ต้องใช้ควบคู่กับถุงยางอนามัยด้วย

 

http://bit.ly/Q8SIqq

19 กรกฎาคม 2555

Next post > Polypill 'could save thousands' of lives

< Previous post สธ.อัดความรู้ดูแลสุขภาพให้ชมรมสตรีไทยทั่วประเทศ

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด