logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1338349725&grpid=&catid=09&subcatid=0902

เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รักษาการโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) มีมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 4 ปี 2554 ที่มีมติในเรื่องความปลอดภัยทางอาหารและการจัดการน้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพ ที่ประชุม ครม.เห็นชอบและมีมติ ได้แก่ 1.การจัดการปัญหาการฆ่าตัวตาย มีมติให้ สช. ไปรวมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดนโยบายและกลไก อาทิ การคุ้มครองสิทธิของผู้ป่วยทางจิตเวช ผลักดันให้อัตราการฆ่าตัวตายเป็นตัวชี้วัดระดับชาติ และการควบคุมข่าวการฆ่าตัวตายซึ่งเป็นดาบสองคมที่อาจส่งผลกระทบอย่างไม่รู้ ตัว 2.การจัดการภัยธรรมชาติโดยชุมนุมท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง มีมติให้ ทบทวนปรับปรุงแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ 3.การจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำขนาดเล็กอย่างยั่งยืนโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของ เครือข่ายและภาคีทุกภาคส่วนในการกำหนดแผนแม่บทและยุทธศาตร์ในการบริหาร จัดการน้ำ 4.การจัดการโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพทางวิทยุกระจายเสียง สื่อโทรทัศน์ อินเตอร์เน็ตและจัดทำฐานข้อมูลเพื่อการควบคุมและเผยแพร่ข้อมูลที่เป็น อันตรายหรือโฆษณาที่ผิดกฎหมาย และ 5.การเข้าถึงบริหารอาชีวอนามัยเพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของคนทำงานในภาค อุตสาหกรรมและบริการ

นายอนุสรณ์กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ในส่วนของข้อเสนอเรื่องของการจัดการน้ำมันทอดซ้ำ รัฐบาลให้ความสนใจตามความเห็นของ สช. คือ มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการ ซึ่งได้รับข้อมูลว่าปัจจุบันคนไทยบริโภคน้ำมันพืช 8 แสนตันต่อปี และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี ขณะเดียวกันก็พบว่าการทอดอาหารนั้น มีสารโพลาร์ (Polar Compounds) เป็นสาเหตุของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งจะเป็นสารก่อมะเร็ง ที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย ทั้งนี้ที่ประชุมมีให้กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องน้ำมันทอดซ้ำ โดยให้มีปริมาณสารโพลาร์ได้ไม่เกินร้อยละ 25 ของน้ำหนัก ผู้ประกอบการที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำที่มีสารโพลาร์เกินมาตรฐานที่กำหนด และนำมาจำหน่ายแก่ผู้บริโภค ถือว่าฝ่าฝืนมาตรา 25(3) ตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท และมอบหมายให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทำชุดทดสอบน้ำมันทอดซ้ำ หรือชุดทดสอบสารโพลาร์ ในราคา 20 บาท ซึ่งมีความแม่นยำร้อยละ 99.2 และทดสอบให้รู้ผลได้ภายใน 3 นาที แล้วให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์อุบลราชธานี ซึ่งมีโครงการปฏิวัติน้ำมันทอดซ้ำสร้างความตื่นตัวให้ทุกภาคส่วน

30 พฤษภาคม 2555

Next post > สธ.ฟุ้งปลดโซ่ตรวนผู้ป่วยโรคจิตได้แล้ว 27 ราย

< Previous post เผยดูดบุหรี่1 มวนสร้างสารพิษกว่า4พันชนิด คนสูบเสี่ยงมะเร็งปอดสูงกว่า12เท่า

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด