logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

       http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000065350

      สธ.รับรณรงค์ลดสูบบุหรี่แล้ว แต่คนยังสูบเพิ่ม ล่าสุด พุ่ง 13 ล้านคน ดูดบุหรี่ซองมากถึง 5.1 ล้านคน เหตุบุหรี่ราคาถูกเพิ่มขึ้น หวั่นเยาวชนเข้าถึงง่าย เร่งผนึกกำลังรณรงค์งดสูบ-เดินแผนรักษาอาการติดบุหรี่ เล็งประสาน ICT ห้ามอุตสาหกรรมยาสูบโฆษณา CSR

เมื่อวันที่ 28 พ.ค. ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่ากระทรวงสาธารณสุข กล่าวในงานแถลงข่าวการจัดกิจกรรมวันงดสูบบุหรี่โลก ที่ร่วมมือกันระหว่าง สธ.มูลนิธิการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ และองค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งตรงกับวันที่ 31 พ.ค.ของทุกปี ว่า ที่ผ่านมา สธ.และ ภาคีเครือข่าย มีการณรงค์เกี่ยวกับการลดจำนวนผู้สูบบุหรี่อย่างต่อเนื่อง แต่สถานการณ์กลับไม่ดีขึ้น โดยจากการสำรวจของ สธ.ร่วมกับ สำนักงานสถิติแห่งชาติ และคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีการสำรวจสถานการณ์การบริโภคบุหรี่และยาสูบปี 2554 ซึ่งเป็นการสำรวจครั้งที่ 2 หลังจากที่ดำเนินการครั้งแรกในปี 2552 ในคนไทยตั้งแต่อายุ 15 ปีขึ้นไป พบว่า มีผู้สูบบุหรี่และบริโภคยาสูบทุกชนิดเพิ่มสูงขึ้นถึง 13 ล้านคน หรือร้อยละ 24 ของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป แบ่งเป็นชาย ร้อยละ 46.6 หญิงร้อยละ 2.6 เพิ่มจากปี 2552 ถึง 5 แสนคน โดยแบ่งเป็นการสูบบุหรี่ชนิดต่าง ได้แก่ ผู้สูบบุหรี่จากโรงงาน (บุหรี่ซอง) จำนวน 5.1 ล้านคน บุหรี่มวนเอง จำนวน 4.7 ล้านคน สูบรวมทั้ง 2 ชนิด จำนวน 3.1 ล้านคน และชนิดอื่น เช่น บารากู ไปป์ ซิการ์ ฯลฯ จำนวน 1 แสนคน

นพ.สุรวิทย์ กล่าวด้วยว่า สำหรับสถานการณ์การเลิกสูบนั้น พบว่า มีผู้ที่เคยสูบเป็นประจำเลิกสูบแล้วร้อยละ 27.2 ผู้ที่สูบปัจจุบัน และคิดจะเลิกสูบ ร้อยละ 54 เคยพยายามเลิกสูบ ในช่วง 12 เดือนร้อยละ 36.7 และผู้ที่คิดอยากเลิกสูบเพราะเห็นภาพคำเตือน ร้อยละ 62.6 สิ่งที่น่าห่วง คือ พบผู้ที่สูบนิยมบุหรี่ราคาถูกมากขึ้น จากเดิม 1 ใน 5 ยี่ห้อ เพิ่มเป็น 2 ใน 5 ราคาเฉลี่ย 30-45 บาท ขณะที่สถานการณ์การสูดควันบุหรี่มือสองในตลาดสด หรือตลาดนัดมากที่สุดร้อยละ 68.8 ในบ้านร้อยละ 36 และที่ทำงานร้อยละ 30.5 ดังนั้นจึงจำเป็นต้องร่วมมือกันในเรื่องของการเข้มงวดเกี่ยวกับนโยบายยาสูบ และบุหรี่มากขึ้น

ด้านนพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า จาก สถานการณ์ของบุหรี่ซองที่มีราคาถูกมากขึ้น อาจส่งผลให้เยาวชนเข้าถึงการสูบบุหรี่ และการบริโภคยาสูบมากขึ้น จึงจำเป็นต้องเดินหน้าเรื่องมาตรการที่เข้มงวดในการเร่งปราบปรามร้านค้าที่ จำหน่ายให้แก่เด็กต่ำกว่า 18 ปี ขณะที่เรื่องการรักษาภาวการณ์ติดบุหรี่ในผู้ที่อยากเลิกสูบ ก็จำเป็นไม่แพ้กัน ซึ่งปัญหาที่มี คือ เรื่องของการเลิกยาอดบุหรี่ ยังไม่ถูกบรรจุให้อยู่ในสิทธิหลักประกันสุขภาพ ก็ต้องเร่งดำเนินการด้วย

ขณะที่ นพ.นพพร ชื่นกลิ่น รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า กรณีของการของการดูแลรักษาสุขภาพผู้ที่ติดบุหรี่นั้น จำเป็นต้องหารือร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อจัดบริการด้านรักษาผู้ติดบุหรี่ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูบที่มีอายุ 50-60 ปี ซึ่งมีปัญหาโรคเรื้อรัง ทั้งความดัน และเบาหวาน ที่ได้รับผลกระทบจากการสูบบุหรี่ทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้น

“ปัญหาที่มี คือ การเดินหน้านโยบายการบริการด้านรักษาผู้ติดบุหรี่ดำเนินการได้ยากเป็นเพราะ หลายฝ่ายค้าน ว่า เป็นอาการที่ผู้สูบก่อขึ้นเอง ทั้งๆ ที่รู้ว่าอันตราย ทำให้การเดินหน้านโยบายเป็นไปได้ล่าช้า อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ กระทรวงสาธารณสุข ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน ก็คือ ร่วมมือกับภาคสังคม และหน่วยงานที่สำคัญ เช่น สสส. เพื่อรณรงค์ ลด ละ เลิก ต่อไป” นพ.นพพร กล่าว

ด้าน ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิต เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า การ ขับเคลื่อนเรื่องการต่อต้านกิจกรรม CRS ของธุรกิจบุหรี่และยาสูบ รวมทั้งโฆษณาในโรงภาพยนตร์ และการสนับสนุนด้านกีฬาก็จำเป็นต้องขอความร่วมมือกับกระทรวงเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อปรับปรุงกฎหมายห้ามการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับธุรกิจในรูปแบบดังกล่าว ด้วย เพราะปัจจุบันการประชาชนเข้าถึงสื่อมากขึ้น

ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมมือกับองค์การอนามัยโลก (WHO) และภาคีเครือข่ายจัดกิจกรรมเนี่องในวันงดสูบบุหรี่โลกวันที่ 31 พ.ค.เวลา 11.00-19.00 น.ภายใต้ประเด็นรณรงค์ “จับตา เฝ้าระวัง ยับยั้งอุตสาหกรรมยาสูบ” ที่ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี โดยมี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จเป็นประธานในพิธี และประทานรางวัล World No Tobacco Day Awards 2012 แก่เครือข่ายป้องกันยาสูบที่เข้มแข็งและบุคคลที่ทำประโยชน์ด้านการควบคุมยา สูบด้วย

29 พฤษภาคม 2555

Next post > Alcohol and drug problems would be categorized differently in revised manual

< Previous post แพทยสภา ชง สธ.ออกกฎตรวจ HIV เด็กวัยรุ่น

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด