logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

เอกสารชี้แจงข้อมูลแนวนโยบายการให้วัคซีน HPV ในหญิงไทย

สถานการณ์ปัจจุบัน

มะเร็งปากมดลูกพบมากเป็นอันดับสองในหญิงไทย มีจำนวนผู้ป่วยใหม่ 6,000 ราย/ปี และเสียชีวิต 2,000 ราย/ปี มีวิธีการป้องกัน 2 วิธี ได้แก่ การตรวจคัดกรองและการให้วัคซีน HPV

สาระสำคัญ

  • วัคซีน HPV
  1. ป้องกันการติดเชื้อ Human Papilloma Virus (HPV) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูก แต่เนื่องจากเชื้อมีหลายสายพันธุ์ และแตกต่างกันในแต่ละประเทศ คาดว่าวัคซีนป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกในหญิงไทยได้ 50-70% ของผู้ที่ฉีดวัคซีน
  2. ช่วงอายุที่เหมาะสมสำหรับการฉีดวัคซีนคือก่อนมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ดังนั้นกลุ่มที่ควรได้รับวัคซีน คือเด็กหญิงอายุต่ำกว่า 12 ปีที่ยังไม่เคยมีเพสสัมพันธ์ หากฉีดวัคซีนให้กับผู้ที่เคยมีเพศสัมพันธ์มาแล้ว วัคซีนอาจไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อ HPV ได้
  3. ยังไม่มีข้อมูลถึงประสิทธิผลของวัคซีนในระยะยาวเกินกว่า 10 ปี ทำให้ไม่ทราบว่าการฉีดวัคซีน 3 เข็มตอนเริ่มต้นจะสามารถป้องกันการติดเชื้อ HPV ได้นานเพียงใด
  4. จากการประเมินความคุ้มค่าของวัคซีน HPV ในประเทศไทยพบว่า วัคซีนที่ราคาปัจจุบัน 2,000 บาทต่อเข็ม ไม่มีความคุ้มค่าเมื่อเปรียบเทียบกับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ยกเว้นเมื่อวัคซีนมีราคาต่ำกว่า 190 บาทต่อเข็ม ซึ่งจะทำให้ต้นทุนของการฉีดวัคซีนเท่ากับงบประมาณที่จะประหยัดได้จากการรักษาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกในอนาคต
  5. หากวัคซีนไม่สามารถป้องกันได้ตลอดชีวิต และต้องมีการฉีดซ้ำ ในกรณีนี้ราคาของวัคซีนควรจะจะลดลงต่ำกว่า 190 บาท/เข็ม  ขึ้นกับว่าต้องฉีดซ้ำอีกกี่เข็ม
  6. ฉีดวัคซีนแล้วยังต้องดำเนินการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตามเดิมทุกประการ ไม่ได้ลดต้นทุนในส่วนนี้
  • การตรวจคัดกรอง
  1. การตรวจคัดกรอง มี 2 วิธี แปปสเมียร์ (Pap smear) (200 บาท/ครั้ง) และ วีไอเอ (VIA) (100 บาท/ครั้ง) ซึ่งสามารถรับบริการได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้ง 3 ระบบประกันสุขภาพ
  2. ปัจจุบันแนะนำให้คัดกรองทุก 5 ปี ระหว่างอายุ 30-60 ปี
  3. อัตราการตรวจคัดกรองในหญิงกลุ่มเป้าหมายเพิ่มขึ้นจาก 20% ในปี พ.ศ.2548 เป็น 70% ในปี พ.ศ. 2552 จากการเพิ่มขึ้นของการตรวจคัดกรองนี้คาดว่าใน 5-10 ปีข้างหน้าจะมีผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกลดลง 1,500 คนต่อปี และป้องกันการเสียชีวิตได้ 750 คนต่อปี พร้อมกับประหยัดงบประมาณในรักษาปีละ 102 ล้านบาท

ข้อเสนอ

  • เพิ่มความครอบคลุมการตรวจคัดกรองให้ได้ตามเป้าหมายของประเทศคือร้อยละ 80 ซึ่งจะลดจำนวนผู้ป่วยมะเร็งได้อีก 530 ราย และลดจำนวนผู้เสียชีวิต 240 ราย/ปี
  • หากให้วัคซีน HPV แก่หญิงไทยควรพิจารณาราคาที่เหมาะสมดังตัวเลขข้างต้น และเน้นให้มีการตรวจ คัดกรองมะเร็งครอบคลุมให้ได้ร้อยละ 80 เพราะพบว่ามีประชาชนส่วนหนึ่งเข้าใจผิดว่า การฉีดวัคซีนสามารถทดแทนการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้ ซึ่งไม่เป็นความจริง
  • หากจะมีการให้วัคซีน HPV แก่หญิงไทยควรผ่านการพิจารณาโดยคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติคณะอนุกรรมการชุดสิทธิประโยชน์ฯของ สปสช. รวมทั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ

 

10 เมษายน 2555

Next post > แพทยสภา ชง สธ.ออกกฎตรวจ HIV เด็กวัยรุ่น

< Previous post นักวิจัย HITAP นำเสนอผลงาน ในการประชุม “1st Meeting South East Asian Pharmacogenomics Research Network (SEAPharm) Symposium for Genetic and Genome-Guided Personalized Medicine in Asia: Overview and Applications”

Related Posts