logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

“โรคโปลิโอยังอยู่” สธ.ห่วงเด็กไทยเสี่ยง แนะผู้ปกครองพาบุตรหลานรับวัคซีนฟรี 18 ม.ค.นี้

         นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ในวันพรุ่งนี้ ( วันที่ 18 มกราคม 2555) กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเป็นวันรณรงค์หยอดวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอในกลุ่มเด็กไทยที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี และกลุ่มเด็กต่างชาติที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ซึ่งมีจำนวนประมาณ 1 ล้าน 3 แสนคน ครั้งที่ 2 พร้อมกันทั่วประเทศ เพื่อเพิ่มภูมิต้านโรคโปลิโอ หลังจากที่หยอดพร้อมกันครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2554 ที่ผ่านมา     ขอให้ประชาชนพาบุตรหลานเข้ารับบริการที่สถานบริการสาธารณสุขได้ฟรี เด็กที่เคยหยอดวัคซีนชนิดนี้มาแล้ว สามารถหยอดซ้ำได้อีก ไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด    ในส่วนของประชาชนที่อยู่ใน 5 จังหวัดคือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี ฉะเชิงเทรา ลพบุรี และกรุงเทพมหานคร  กำหนดให้ไปรับบริการในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2555   โดยได้เตรียมวัคซีนไว้บริการจำนวน 3.5 ล้านโด๊ส

นายแพทย์ไพจิตร์กล่าวต่อว่า ปัจจุบันประเทศไทยไม่พบผู้ป่วยโรคโปลิโอมากว่า 14 ปีแล้ว โดยพบผู้ป่วยโปลิโอรายสุดท้ายในประเทศไทยเมื่อพ.ศ.2540 แต่เนื่องจากยังพบการระบาดของโรคโปลิโอในหลายประเทศ  ซึ่งในปี 2554 นี้ มีประเทศที่ยังคงมีโรคโปลิโอเป็นโรคประจำถิ่นอยู่ 4 ประเทศ คือ ปากีสถานพบผู้ป่วย 161 ราย  อัฟกานิสถาน 58 ราย  ไนจีเรีย 45 ราย และอินเดีย 1 ราย  รวมทั้งหมด 265 ราย และยังพบอีกว่าเชื้อนี้สามารถแพร่ไปยังประเทศอื่นที่เคยปลอดจากโรคโปลิโอมาแล้ว    ล่าสุดในปีที่ผ่านมามีรายงานพบผู้ป่วยในมณฑลซินเจียง ประเทศจีน ซึ่งไม่พบผู้ป่วยโปลิโอมากว่า 10 ปี

 
ทั้งนี้โรคโปลิโอ เป็นโรคติดต่อ เกิดจากเชื้อไวรัส  มักเกิดในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปีเนื่องจากมีภูมิต้านทานโรคต่ำ   โรคนี้ติดต่อโดยผ่านทางมือหรือปนเปื้อนในอาหารที่เรากินเข้าไป โดยเชื้อนี้จะปนออกมากับอุจจาระของผู้ป่วยหรือผู้ที่เป็นพาหะ   ผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่จะไม่มีอาการแต่สามารถแพร่เชื้อได้    อาการของผู้ที่ติดเชื้อโปลิโอ คือ จะมีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เจ็บคอ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ มีอาการตึงกล้ามเนื้อที่คอด้านหลัง ลำตัวและขา ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจะเกิดการอัมพาตของแขนหรือขา ในบางรายที่อาการรุนแรงมากอาจมีการอัมพาตของกล้ามเนื้อกระบังลมทำให้เสียชีวิตได้

18 มกราคม 2555

Next post > “นายต่อพงษ์” เร่งทบทวนโครงการเมดิคัลฮับภาคเหนือ อาจปรับงบจาก 2,000 ล้าน เป็น 20,000 ล้านบาท

< Previous post การประชุมเพื่อจัดลำดับความสำคัญหัวข้อวิจัยในระบบสุขภาพของประเทศไทย ประจำปี 2555

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด