logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
การประชุมเพื่อจัดลำดับความสำคัญหัวข้อวิจัยในระบบสุขภาพของประเทศไทย ประจำปี 2555

การประชุมเพื่อจัดลำดับความสำคัญหัวข้อวิจัยในระบบสุขภาพของประเทศไทย ประจำปี 2555

        เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2554 HITAP จัดการประชุมเพื่อจัดลำดับความสำคัญของหัวข้อวิจัยที่เป็นปัญหาสำคัญของระบบ สุขภาพในประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2555 ณ ห้องริชมอนด์ บอลรูม 2 โรงแรมริชมอนด์ จ.นนทบุรี มีผู้เข้าร่วมการประชุมจำนวนทั้งหมด 67 คน จาก 52 หน่วยงาน

ได้เปิดโอกาสให้หน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สภาวิชาชีพด้านสุขภาพ ราชวิทยาลัยด้านสุขภาพ สมาคมทางการแพทย์และสุขภาพ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานประกันสังคม กลุ่มงานสวัสดิการการรักษาพยาบาลข้าราชการ สำนักงานมาตรฐานค่าตอบแทนและสวัสดิการ กรมบัญชีกลาง หน่วยงานราชการทั้งในและนอกกระทรวงสาธารณสุข ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค  สถาบันการศึกษา บริษัทยา บริษัทผลิตเครื่องมือแพทย์ และภาคประชาสังคม รวมทั้งหมด 353 หน่วยงาน ส่งหัวข้องานวิจัยที่แต่ละหน่วยงานเห็นว่ามีความสำคัญและต้องการข้อมูลจาก งานวิจัยไปใช้ประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบายหรือการปฏิบัติงานเข้ามา ผลปรากฏว่ามีหน่วยงานที่ให้ความร่วมมือ 22 หน่วยงาน ส่งหัวข้อเข้าร่วมการพิจารณารวม 22 หัวข้อ และจากภาคประชาชน 4 หัวข้อ รวมเป็น 26 หัวข้อ

หลังจากนั้นนักวิจัยได้พิจารณาคัดเลือกหัวข้อในรอบแรก โดยใช้เกณฑ์ ดังนี้ เป็นหัวข้อที่ไม่เคยมีการวิจัยมาก่อนในประเทศไทย หรือมีความจำเป็นที่ต้องทำวิจัยซ้ำ หัวข้อที่ผ่านการพิจารณาคัดเลือกมีทั้งสิ้น 12 หัว ประกอบด้วย

1. เรื่อง การประเมินความคุ้มค่าของ CBC ในผู้ป่วยเบาหวานและความดันสูง
2. เรื่องการศึกษาแบบสุ่มเปรียบเทียบการรักษามะเร็งปากมดลูกระยะลุกลามเฉพาะที่ ระหว่างการรักษามาตรฐานด้วยรังสีรักษาร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด กับการให้ยาเคมีบำบัดเพิ่มเติมหลังการรักษามาตรฐาน
3. เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในงานบริการสุขภาพและสาธารณสุข
4. บทบาทขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดทำมาตรการทางสังคมเพื่อดำเนินงานควบคุมการการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
5. ความคุ้มค่าในการตรวจคัดกรองมะเร็งทวารหนัก ด้วยวิธี Anal Pap smear ในกลุ่มผู้ป่วยชายรักชาย ที่ติดเชื้อ HIV
6. ความคุ้มค่าของการคัดกรองภาวะทุพโภชนาการในโรงพยาบาล เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา
7. การประเมินติดตามการปฏิบัติตามหนังสือแสดงเจตจำนงในวาระสุดท้ายของชีวิต ของผู้ป่วยในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ
8. การพัฒนายุทธศาสตร์และนโยบายการเข้าถึงการรักษาทางจิตของผู้ป่วยทางจิต บุคคลออทิสติก กลุ่มพิการทางสติปัญญาและกลุ่มแอลดี
9. Survival and Cost effectiveness of Radiofrequency Ablation Comparing with Hepatic Resection in the management of Small Hepatocellular Carcinoma
10. การส่งเสริมการแพทย์ไคโรแพรคติกให้เป็นทางเลือกในการรักษาอาการหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทดแทนการผ่าตัด
11. การประเมินนโยบายมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ : ยุติการขายยาที่ขาดจริยธรรม
12. การประเมินความจำเป็นในการจัดตั้งห้องปฏิบัติการกลางสำหรับการตรวจวิเคราะห์เครื่องมือแพทย์

ผลการคัดเลือกหัวข้องานวิจัยเพื่อจัดลำดับความสำคัญหัวข้อวิจัยในระบบสุขภาพ ของประเทศไทย ประจำปี 2555 จากทั้งหมด 12 หัวข้อ สำหรับหัวข้อที่ได้รับการคัดเลือก 5 หัวข้อ ได้แก่

            ลำดับที่ 1. การพัฒนายุทธศาสตร์และนโยบายการเข้าถึงการรักษาทางจิตของผู้ป่วยทางจิตบุคคล ออทิสติก กลุ่มคนพิการทางสติปัญญาและกลุ่มแอลดี

        ลำดับที่ 2. การศึกษาแบบสุ่มเปรียบเทียบผลการรักษามะเร็งปากมดลูกระยะลุกลามเฉพาะที่ (Locally advanced stage cancer) ระหว่างการรักษามาตรฐานด้วยรังสีรักษาร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด (Concurrent chemoradiation therapry) กับการให้ยาเคมีบำบัดเพิ่มเติม (Adjuvant chemotherapy) หลังการรักษามาตรฐาน

        ลำดับที่ 3. เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในงานบริการสาธารณสุขสุขภาพ

        ลำดับที่ 4. ความคุ้มค่าในการตรวจคัดกรองมะเร็งทวารหนักด้วยวิธี anal pap smear ในผู้ป่วยชายรักชายที่ติดเชื้อเอชไอวี (Cost effectiveness of anal cancer screening in HIV positive MSM)

        ลำดับที่ 5. ความคุ้มค่าของการคัดกรองภาวะทุพโภชนาการของผู้ป่วยในโรงพยาบาลเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา

หลังจากที่ได้หัวข้อวิจัยในระบบสุขภาพของประเทศไทยแล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะนำไปดำเนินการวิจัย เพื่อหาข้อมูลช่วยในการตัดสินใจเชิงนโยบายหรือการฏิบัติทางด้านสุขภาพ โดยมุ่งหวังให้เกิดการใช้ทรัพยากรด้านสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม ต่อไป

23 ธันวาคม 2554

Next post > “โรคโปลิโอยังอยู่” สธ.ห่วงเด็กไทยเสี่ยง แนะผู้ปกครองพาบุตรหลานรับวัคซีนฟรี 18 ม.ค.นี้

< Previous post WHO issues Europe measles warning

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด