logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

รายงานการประชุมเพื่อกำหนดกรอบและคำถามการวิจัย
เรื่อง การประเมินนโยบายบัญชียา จ ข้อย่อยสอง ของบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2551

      ดร.นพ. ยศ ตีระวัฒนานนท์ หัวหน้าโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) แจ้งวัตถุประสงค์ของการประชุมครั้งนี้ คือ เพื่อระดมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญในการกำหนดกรอบและคำถามการวิจัยที่มีความชัดเจน ทั้งกำหนดแนวทางการวิจัยระเบียบวิธีการวิจัยที่ควรใช้ และแหล่งข้อมูลสำคัญที่จำเป็นต่อการวิจัย หลังจากนั้น ดร.นพ.ยศตีระวัฒนานนท์ ขอให้ ภญ. วรรนิษา เถียรทวี สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา นำเสนอที่มาและความสำคัญของการประเมินนโยบายบัญชียา จ ข้อย่อย 2 ของบัญชียาหลักแห่งชาติพ.. 2551 (ต่อไปจะเรียกว่า บัญชียา จ (2)) นพ.วิโรจน์ เหล่าสุนทรศิริ สถาบันมะเร็งแห่งชาตินำเสนอประสบการณ์ในการใช้ยาในบัญชียา จ (2) ปัญหาและอุปสรรคที่พบในมุมมองของแพทย์ และ ภญ. ปณิตา จันทปัชโชติ โรงพยาบาลศิริราช นำเสนอประสบการณ์ในการใช้ยาใน

บัญชียา จ (2) ปัญหาและอุปสรรคที่พบในมุมมองของเภสัชกร ซึ่งสามารถสรุปใจความสำคัญที่นำเสนอได้ดังนี้

ภญ.วรรนิษา เถียรทวี นำเสนอภาพรวมของปัญหาการใช้ยาในระบบประกันสุขภาพของไทย ได้แก่ การใช้ยาไม่สมเหตุผล ขาดระบบกำกับการใช้ยา ความไม่เสมอภาค และการคัดเลือกยาที่มีปัญหาด้าน affordability โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาที่มีต้นทุนสูงหรือราคาแพง ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง และใช้กับโรคที่มีผู้ป่วยจำนวนน้อย (high cost/high technology/rare case)จึงเป็นที่มาของการจัดทำบัญชียา จ (2) ขึ้น เพื่อใช้เป็นรายการยาสำหรับผู้ป่วยที่มีความจำเป็นเฉพาะราย และให้มีระบบกำกับและอนุมัติการสั่งใช้ยา (authorized system) มีการจัดกลไกพิเศษในกำกับการเข้าถึงยาภายใต้ความรับผิดชอบร่วมกันของ 3 กองทุน ได้แก่ กรมบัญชีกลาง(โครงการสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ) สำนักงานประกันสังคมและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปัจจุบันบัญชียา จ (2) ประกอบด้วยยา 10 รายการได้แก่ Botulinum toxinType A, Immunoglobulin (IVIG), Erythropoietin alpha/beta, Leuprorelin, Docetaxel,Imatinib mesilate, Letrozole, Verteporfin และ Liposomal amphotericin B ทั้งนี้ ผู้นำเสนอได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาประเด็นการวิจัย ดังนี้ ประเด็นที่ 1 การเข้าถึงยาของผู้ป่วยก่อนและหลังการนำรายการยาทั้ง 10 รายการเข้าบัญชียา จ (2) และความสมเหตุสมผลในการใช้ยาประเด็นที่ 2 ผลกระทบด้านงบประมาณจากการนำยาในบัญชี จ(2) มาใช้ในการรักษาตามข้อบ่งใช้ ประเด็นที่ 3 ประเมินการทำงานและการกำกับควบคุม หลังการประกาศใช้ยาในบัญชี จ (2) ของแต่ละกองทุน ประเด็นที่ 4 อนาคตของบัญชียา จ (2) เช่น การปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารจัดการ และการกำกับดูแลจากนั้น นพ.วิโรจน์ เหล่าสุนทรศิริ นำเสนอปัญหาการเข้าถึงยามะเร็งว่า แม้รัฐบาลประกาศมาตรการใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา (Compulsory licensing, CL) แล้ว ผู้ป่วยยังไม่สามารถเข้าถึงยาได้ เช่น ยา Letrozole ยังไม่มียาที่ทำ CL เข้ามาใช้ในสถาบันมะเร็ง ส่วนยาImatinib mesilate tablet เป็นยาที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท Novartis ในโครงการ GIPAPซึ่งผู้ป่วยที่ได้รับยานี้ 90% อยู่ในโครงการดังกล่าว และยา doxetaxel เป็นยาที่มีการใช้ในข้อบ่งใช้อื่นนอกจากที่ระบุในบัญชียาหลักแห่งชาติ จึงเสนอให้มีการทบทวนข้อบ่งใช้ของยาในบัญชียาจ (2) ให้มีความครอบคลุมและทันเหตุการณ์ให้มากขึ้น ภญ. ปณิตา จันทปัชโชติ นำเสนอขั้นตอนการใช้ยา/ข้อกำหนดการสั่งใช้ยาในบัญชียา จ (2) ที่ปฏิบัติอยู่ในโรงพยาบาลศิริราช สำหรับปัญหาที่พบ คือ แพทย์ที่รับผิดชอบในการรักษาผู้ป่วยไม่มีสิทธิสั่งจ่ายยาในบัญชี จ(2) ได้ทุกรายการ เนื่องจากมีการกำหนดรายชื่อแพทย์ที่สามารถสั่งใช้ยาตามรายการที่กำหนดไว้เท่านั้น นอกจากนี้ การกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มมีรายละเอียดมากและถึงแม้จะเป็นผู้ป่วยคนเดิมก็ต้องกรอกข้อมูลซ้ำทุกครั้งที่มีการสั่งใช้ยารายการหนึ่งๆ จึงเสนอให้ปรับรูปแบบเป็นการใช้แบบฟอร์มต่อเนื่องในผู้ป่วยรายเดิม ปัญหาอีกประการหนึ่งคือ การใช้ยานอกข้อบ่งใช้ตามบัญชียา จ(2) เช่นยา IVIG และ Leuprorelin พบว่ามีการใช้ยานอกข้อบ่งใช้ที่กำหนด ถึงร้อยละ 40 และปัญหาสุดท้าย คือ การชดเชยยาคืนของแต่ละกองทุนไม่เป็นไปในรูปแบบเดียวกัน ซึ่งทำให้มีปัญหาด้านบริหารจัดการคลังยา จึงเสนอให้ทุกกองทุนชดเชยเป็นเงินให้โรงพยาบาลแทน ในกรณีดังกล่าว นพ.ณรงค์ฤทธิ์ มัศยาอานนท์ ได้เสนอให้มีการกำหนดราคาอ้างอิงในการจ่ายเงินคืนแก่โรงพยาบาลเพื่อลดปัญหาการบริหารจัดการคลังยาที่มาจากหลายกองทุน จากนั้น ภญ.วรสุดา ยูงทอง เสนอให้ผู้วิจัยศึกษาเพิ่มเติมถึงข้อดีและข้อเสียของการชดเชยเป็นยาและการชดเชยเป็นเงินคืนแก่โรงพยาบาลภายหลังการนำเสนอ ที่ประชุมได้อภิปรายในประเด็นต่างๆ เพิ่มเติม ซึ่งสรุปได้ดังนี้
การประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับบัญชียา จ (2) ควรมีการสื่อสารข้อมูลที่จำเป็นให้เข้าถึงแพทย์ผู้สั่งใช้ยา ในปัจจุบันได้มีการประชาสัมพันธ์โดยใช้ DVD เป็นสื่อ ซึ่งองค์การเภสัชกรรมโดยการสนับสนุนด้านวิชาการจาก นพ. พิสนธิ์ จงตระกูล ได้ผลิต DVD ดังกล่าวแจกทุกโรงพยาบาล แต่ DVD ที่จัดทำขึ้นนี้มีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการ รวมทั้งมีการกระจายไปยังผู้ใช้ได้ไม่ทั่วถึง

ควรประเมินกลไกในการกำกับการเข้าถึงยาของแต่ละกองทุน เพื่อหากลไกกลางในการบริหารจัดการยาในบัญชียา จ (2) ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งประเทศ

ควรศึกษาระบบการบริหารจัดการยาในบัญชียา จ (2) ของโรงพยาบาลระดับต่างๆ ในกรณีที่เป็นรูปแบบที่มีประสิทธิผล ตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ของนโยบายนี้ได้เป็นอย่างดีรวมทั้งเกิดความสะดวกราบรื่นในการสั่งใช้ยาได้ตามข้อบ่งใช้ การจัดการคลังยาที่มีประสิทธิภาพ และมีระบบติดตามตรวจสอบรวมทั้งทำความเข้าใจกับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ควรนำกรณีดังกล่าวมาเผยแพร่ในลักษณะของ Good Practice เพื่อให้เป็นตัวอย่างให้กับโรงพยาบาลอื่นๆ ได้นำไปประยุกต์ใช้

ควรประเมินผลลัพธ์ทางด้านสุขภาพ ความคุ้มค่าและงบประมาณก่อนและหลังการมีรายการยาในบัญชียา จ (2) เกิดขึ้น

17 มีนาคม 2553

Next post > การประชุม “การพัฒนาและประเมินประสิทธิผลมาตรการให้ความรู้เพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย”

< Previous post First Step (2009)

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด