logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

น่าห่วง! คนไทยติดเอดส์เฉลี่ยวันละ 27 ราย

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000112969

      พบผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ เฉลี่ยวันละ 27ราย  เป็นผู้เสพยาจากเข็มฉีดสูงถึง 900 คน เร่งเดินหน้ามาตรการลดจำนวนผู้เสพยาและโอกาสเสี่ยงติดเชื้อใน 14 จังหวัด รวมแล้ว 4-5 พันคน
       
       วานนี้ (6 ก.ย.) พญ.เพชรศรี ศิรินิรันดร์ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจัดการปัญหาเอดส์แห่งชาติ กรมควบคุมโรค (คร.). กล่าวในโครงการสัมมนาเรื่อง “การสื่อสารในการลดอันตรายเพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ในกลุ่มผู้ติดสารเสพติด”  ว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่ยังมีชีวิตอยู่ประมาณ 5 แสนราย ในแต่ละปีมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2554 พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ประมาณ 10,097 คน หรือเฉลี่ยวันละ 27 คน อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้ใช้ยาเสพติดด้วยวิธีฉีดในประเทศจากการคาดประมาณไม่ต่ำกว่า 30,000 คน และด้วยอัตราการใช้เข็มและกระบอกฉีดร่วมกันที่สูงถึงร้อยละ 36 ในปี 2551 ทำให้คาดประมาณว่า มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ ที่เป็นผู้ใช้ยาเสพติดด้วยวิธีฉีดยาเข้าเส้นเลือดในปี 2553 ประมาณ 900 คน
       
       “หากสามารถดำเนินการเร่งรัดการป้องกันการติดเชื้อ โดยใช้วิธีอย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ ย่อมทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในกลุ่มนี้ลดลงเหลือประมาณ 400 คน ซึ่งการติดเชื้อจากการเสพยานั้น ไม่ได้มีเพียงการติดเชื้อเอชไอวีเท่านั้น แต่ยังรวมถึงไวรัสตับอักเสบเอ ไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบ ซี ส่วนมาตรการในการป้องกันการติดเชื้อในผู้ติดยาเสพติดนั้น กรมดำเนินการภายใต้การสนับสนุนจากองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย ในการจัดทำ โครงการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติดในประเทศไทย เพื่อหามาตรการลดปัญหาผู้ติดเชื้อจากการใช้ยาเสพติด ซึ่งดำเนินการมาแล้ว 2 ปี”  พญ.เพชรศรี กล่าว
       
       พญ.เพชรศรี กล่าวต่อว่า  โครงการนี้เริ่มมา 2 ปีมีอาสาสมัครที่เคยติดยาเสพติด ร่วมกับเครือข่ายผู้ใช้ยาแห่งประเทศไทย คอยช่วยเหลือในการหาคนเข้าร่วมโครงการฯ ทั้งหมด 14 จังหวัด ซึ่งปัจจุบันมีผู้ติดยาฯ ที่เข้าร่วมโครงการราว 4-5 พันคน โดยแต่ละคนมีมาตรการในการลดอันตรายจากการใช้ยาแตกต่างกันไป อาทิ การบำบัดรักษาผู้เสพยาโดยใช้สารทดแทนระยะยาว เรียกว่า สารเมทาโดน (Methadone) ซึ่งนำมาทดแทนผู้ติดยาประเภทเฮโรอีน

7 กันยายน 2554

Next post > สธ. พัฒนาระบบเยียวยาใจผู้ได้รับผลกระทบกว่า 2 หมื่นราย จากเหตุไม่สงบ 4 จังหวัดชายแดนใต้ 7 ปี ในปีนี้พบเหยื่อความรุนแรงเป็นโรคพีทีเอสดี ร้อยละ 13

< Previous post นักวิจัย HITAP นำเสนอ “ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการป้องกันมะเร็งปากมดลูก” ในการเสวนาที่รัฐสภา

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด