logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

กรมวิทย์ฯ จับมือเครือข่ายเปิดเวทีโชว์ผลงานด้านสุขภาพกว่า 175 เรื่อง

         กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับมูลนิธิกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จัดการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 19 พร้อมมอบรางวัล DMSc Awards ให้แก่นักวิจัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยภายในงานมีการแสดงผลงานวิชาการและนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์เพื่อสร้างเสริมสุขภาพที่ดีของคนไทยกว่า 175 เรื่อง เช่น การพบเชื้อแบคทีเรียที่ทนความร้อนสูงในนมและกะทิยูเอชที การพัฒนาชุดทดสอบตะกั่วในผลิตภัณฑ์สมุนไพร และชุดทดสอบเชื้ออหิวาตกโรคเป็นต้น


          ดร.สุมล ปวิตรานนท์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ทรงคุณวุฒิในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินการในการจัดประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 19          เปิดเผยว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ร่วมกับมูลนิธิกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จัดการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 19 ขึ้น ระหว่างวันที่ 17 – 19 สิงหาคม 2554 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้กราบทูลฯ เชิญสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานและพระราชทานโล่รางวัลDMSc Awards 2554 ให้กับนักวิจัยและหน่วยงานที่มีผลงานดีเด่นและยอดเยี่ยม โดยปีนี้มีผู้ได้รับรางวัลทั้งสิ้น 6 รางวัลได้แก่

        ประเภทงานวิจัยและพัฒนา เรื่อง “การพัฒนาชุดทดสอบสำหรับวินิจฉัยโรคเลปโตสไปโรซิสชนิดรวดเร็ว” ของ นางนงลักษณ์พุทธิรักษ์กุล สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประเภทงานบริการห้องปฏิบัติการ    เรื่อง”งานบริการตรวจการติดเชื้อเอชไอวี-1 วิธี PCR ในเด็กที่คลอดจากแม่ที่ติดเชื้อ” ของศูนย์วิจัยทางคลินิก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และประเภทด้านงานบริการสาธารณสุข เรื่อง”ก้าวสำเร็จ เริ่มต้นที่ “ใจ” นำองค์กรสู่การรับรองมาตรฐานงานเทคนิคการแพทย์ 2554 LA ในปี 2554 ของโรงพยาบาลวัดเพลง

       “สำหรับประเภทเอกสารวิชาการ เรื่อง “International Neurology :A Clinical Approach” ของ รศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านโรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ รพ.จุฬาภรณ์ ได้รับรางวัลประเภทหนังสือ/คู่มือ เรื่อง”ข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบและสอบเทียบตามข้อกำหนดมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025 :2005″ ของนางปนัดดา ซิลวา และคณะกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้รับรางวัลประเภทสื่อการถ่ายทอดความรู้ทาง Electronic และเรื่อง “สมุนไพรที่ใช้ในบัญชียาจากสมุนไพร พ.ศ.2549” ของศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 9 พิษณุโลก ได้รับรางวัลประเภทสื่อการถ่ายทอดความรู้โดยแผ่นพับ

     การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นเวทีให้นักวิชาการด้านการแพทย์และสาธารณสุข เครือข่ายที่เกี่ยวข้องได้มีโอกาสนำเสนอผลงาน แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ เพื่อร่วมกันพัฒนานวัตกรรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ให้ก้าวหน้าและเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน ซึ่งปีนี้จัดภายใต้หัวข้อ”จากเครือข่ายสู่ประชาคมร่วมคิด ร่วมทำ” (From Network to Alliance) เพื่อแสดงให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำของนักวิชาการและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยมีการนำเสนอผลงานวิชาการด้วยวาจา(Oral Presentation) และการนำเสนอผลงานวิชาการด้วยโปสเตอร์(Poster Presentation) จำนวน 175 เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโรคติดเชื้อต่างๆ หรือเรื่องโรคไม่ติดเชื้อ การคุ้มครองผู้บริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพทั้งอาหาร ยา เครื่องสำอาง เช่น การพบการปนเปื้อนของแบคทีเรียในนมและกะทิยูเอชที โดยพบเชื้อB.sporothermodurans ที่ทนความร้อนสูง ทำให้อายุการเก็บรักษาของนมและกะทิยูเอชทีลดลง การพัฒนาชุดทดสอบเชื้ออหิวาตกโรคที่ทำได้ง่ายและรวดเร็ว สามารถนำไปใช้ในการเฝ้าระวังการระบาดของเชื้ออหิวาตกโรค การพัฒนาชุดทดสอบตะกั่วในผลิตภัณฑ์ยาจากสมุนไพร มีความแม่นยำสูงสามารถใช้ประโยชน์ในการควบคุมคุณภาพวัตถุดิบสมุนไพรและผลิตภัณฑ์ยาจากสมุนไพร เป็นต้นซึ่งข้อมูลและข้อคิดเห็นจากการประชุมครั้งนี้ นักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ จะได้นำความรู้ไปพัฒนางานวิจัยงานวิชาการด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขต่อไป เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อประชาชนในด้านการดูแลสุขภาพ

          ดร.สุมลกล่าวเพิ่มเติมว่า การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 19 ยังได้รับเกียรติจากวิทยากรที่เชี่ยวชาญทางด้านต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศที่มาบรรยายพิเศษเพื่อเป็นการให้มุมมองด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขในการพัฒนางานวิทยาศาสตร์การแพทย์ของไทย ได้แก่ Dr.Mauree Ellis ประธานร่วม International Federation of Bio-safety Associations บรรยายพิเศษเรื่อง “การจัดการด้านความมั่นคงและความปลอดภัยทางชีวภาพของโลก”, Dr.Lung-Ji Chang จากมหาวิทยาลัยฟลอริดา สหรัฐอเมริกา บรรยายเรื่อง “การรักษาด้วยเซลล์ต้นกำเนิดและยีนบำบัด”, Dr.Rajiesh Bhatia ที่ปรึกษาประจำภูมิภาค WHO SEARO บรรยายเรื่อง “ปัญหาการดื้อยาปฏิชีวนะ”, Dr.Wang Gang Li จากสถาบันแห่งชาติเพื่อการควบคุมยาและอาหาร สาธารณรัฐประชาชนจีน บรรยายเรื่อง”บทบาทของห้องแล็ปต่อความมั่นคงทางอาหาร” นอกจากนี้มีการจัดห้องประชุมวิชาการระหว่างประเทศ เพื่อให้งานประชุมเป็นที่น่าสนใจทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งยังต้องการผลักดันให้การประชุมมีความเป็นสากลมากขึ้น จึงได้จัดให้มีห้องสัมมนาจำนวน4 ห้อง ได้แก่ เรื่องที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินการข้ามประเทศ แนวโน้มในอนาคตของเทคโนโลยีสุขภาพ การประชุมเชิงปฏิบัติการว่าด้วยเรื่องการสร้างเครือข่ายในการถ่ายทอดเทคโนโลยีสุขภาพ และการสาธิตชุดทดสอบด้านชันสูตรและผลิตภัณฑ์สุขภาพ

22 สิงหาคม 2554

Next post > “วิทยา” หนุน พัฒนาไทยเป็นผู้นำการแพทย์ดั้งเดิมในอาเซียน

< Previous post “วิทยา” ชมระบบบริการสุขภาพ แบบยึดผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด