logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

อย.เตือน เรื่อง ยาฉีด filler ยี่ห้อ TEOSYAL

http://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=40208

อย. เตือนผู้บริโภค อย่าหลงเชื่อการโฆษณายาฉีด filler ยี่ห้อ TEOSYAL เพื่อรักษาริ้วรอยบนใบหน้า เนื่องจากไม่ได้ขออนุญาตขึ้นทะเบียนตำรับยา ถือเป็นยาเถื่อน หากจะฉีดยาใดๆ ก็ตาม ควรสอบถามทุกครั้งว่ายาฉีดที่ใช้มีการขออนุญาตถูกต้องหรือไม่ และหากจะฉีดยา ควรฉีดกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น พร้อมเตือนมายัง ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม แพทย์ผิวหนัง แพทย์ศัลยกรรม ที่ใช้ยาฉีดที่ไม่ได้ขออนุญาตขึ้นทะเบียน ถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย ควรคำนึงถึงคุณธรรมจริยธรรมในการประกอบการ หากตรวจพบมีโทษทั้งจำและปรับ

นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และ พล.ต.ต.พูลทรัพย์ ประเสริฐศักดิ์ ผู้บังคับการปราบปราบการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (ผบก.ปคบ.) ร่วมกันแถลงข่าว ต่อสื่อมวลชนว่า ตามที่มีโฆษณาขายยาฉีด filler ยี่ห้อ “TEOSYAL” ปรากฏแพร่หลายอยู่ในขณะนี้ ตามคลินิกเสริมความงามและทางเว็บไซต์อวดสรรพคุณ ลดริ้วรอยร่องลึกบนใบหน้า นั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอเตือนมายังผู้ที่คิดจะใช้บริการยาฉีดนี้ให้ทราบว่า ยาฉีดยี่ห้อดังกล่าวถึงแม้มีการใช้ในต่างประเทศ แต่สำหรับ ในประเทศไทยยังไม่มีผู้ประกอบการมาขอขึ้นทะเบียนตำรับยาอย่างถูกต้องตามกฎหมายแต่อย่างใด ซึ่งหากเป็นยาเถื่อน อาจเกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย และหาผู้รับผิดชอบไม่ได้ นอกจากนี้ ขอเตือนมายังผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม แพทย์ผิวหนัง แพทย์ศัลยกรรม แพทย์ด้านความงาม จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด หากมีการลักลอบนำเข้าหรือจำหน่ายยาฉีดที่ไม่ได้ขออนุญาตขึ้นทะเบียนตำรับยาตามกฎหมาย จะถูกดำเนินคดี มีโทษทั้งจำและปรับ กรณีแพทย์เป็นผู้กระทำผิดกฎหมาย จะถูกร้องเรียนไปยังแพทยสภาให้ดำเนินการเอาผิด ทางจรรยาบรรณแพทย์ต่อไป

อนึ่ง ในวันที่ 10 สิงหาคม 2554 ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ อย. ร่วมกับตำรวจ บก.ปคบ. นำหมายค้นศาลแขวง พระนครใต้ ที่ ค.19/2554 เข้าตรวจค้น ทองหล่อ คลินิก เลขที่ 158/1 อาคารอเนกวานิช สุขุมวิท 55 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ ซึ่งก่อนหน้าการเข้าค้นได้ให้เจ้าหน้าที่เข้าไปซื้อบริการฉีด filler ยี่ห้อTEOSYAL และพบว่ามีการใช้ยาฉีดชนิดนี้จริง โดยผลการตรวจค้น พบยาฉีด filler ยี่ห้อ TEOSYAL หลากหลายรูปแบบ ที่อ้างแก้ปัญหาริ้วรอย ร่องลึก สร้างเรียวปากสวยอวบอิ่ม ลดริ้วรอยบนใบหน้า ซึ่งผลจากการตรวจสอบเป็นยาฉีด ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา มีความผิดในข้อหา ขายยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ พร้อมกันนี้ ยังพบเครื่องสำอางบำรุงผิวที่ไม่มีฉลากภาษาไทย มีความผิดในข้อหา ขายเครื่องสำอางที่ไม่มีฉลากภาษาไทย มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

นพ.พิพัฒน์ เลขาธิการฯ อย. กล่าวต่อไปว่า ขอเตือนมายังเจ้าของเว็บไซต์ทุกราย รวมทั้ง คลินิกสถานเสริมความงามทุกแห่ง หรือแหล่งใดๆ ที่โฆษณาขายยาฉีด filler หรือยาใดๆ ก็ตาม ที่ไม่ได้ขออนุญาตขึ้นทะเบียนตามกฎหมาย จะถูกดำเนินคดีอย่างเข้มงวด ที่สำคัญ ผู้ประกอบการควรมีคุณธรรม จริยธรรม และมีความรับผิดชอบต่อสังคม พร้อมกันนี้ ปัจจุบันพบว่าสาวไทยส่วนใหญ่ชอบที่จะเข้ารับบริการเสริมความงามตามคลินิกหรือสถานเสริมความงามที่มีอยู่มากมายกันมากขึ้น โดยเฉพาะการรักษาริ้วรอยร่องลึกบนใบหน้า การเสริมปากให้แลดูอวบอิ่ม การเสริมจมูก การทำให้หน้าขาว ใส เด้ง ฯลฯ ทำให้มีโฆษณาขายยาฉีด filler , ฉีดโบท็อกซ์ , ฉีดคอลลาเจน ฉีดกลูตาไธโอน และเครื่องสำอางอย่างแพร่หลาย ผ่านทางเว็บไซต์ แผ่นพับ ติดหน้าร้านเสริมความงาม โดยไม่มีการขออนุญาตจาก อย. มาก่อน ดังนั้น จึงขอเตือนประชาชนโดยเฉพาะสาวๆ ทั้งรุ่นเล็กรุ่นใหญ่ ให้ระวังการเข้ารับบริการ หากจำเป็นต้องการที่จะใช้ยาฉีด ควรคำนึงถึงความปลอดภัยให้มากที่สุดโดยควรเลือกฉีดในคลินิกที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญประจำอยู่ ที่สำคัญ ควรสอบถามและขอดูตัวยาที่ใช้ว่ามีการอนุญาตขึ้นทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายจาก อย. หรือไม่ เพื่อให้ได้ยาที่มีคุณภาพมาตรฐาน หากฉีดยากับบุคคลที่ไม่ใช่แพทย์ หรือใช้ยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน และสถานที่ฉีดยาที่ไม่น่าเชื่อถือ ผลที่ได้อาจไม่คุ้ม เพราะหากเกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย เช่น เกิดการอักเสบ อาการแพ้ต่างๆ นอกจากจะไม่สามารถหาผู้รับผิดชอบแล้ว ยังอาจเสียเงินทองจำนวนมากในการรักษาร่างกายด้วย หากผู้บริโภคพบเห็นผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย หรือโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณเกินจริงผ่านทางสื่อต่างๆ สามารถร้องเรียนมายัง สายด่วน อย. โทร. 1556 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัดที่พบ การกระทำความผิด หรือที่ บก.ปคบ. ตู้ ปณ.459 ปณศ.สามเสนใน พญาไท กทม.10400

18 สิงหาคม 2554

Next post > สธ. เผยผลการเฝ้าระวังสุขภาพจิตผู้ประสบภัยน้ำท่วม พบ 86 ราย ต้องติดตามดูแลใกล้ชิด

< Previous post กรมควบคุมโรค เผยโรคสเตรปโตคอกคัส อีไควน์ พบผู้ป่วยในไทยครั้งแรก เตือนประชาชนเหนือ-อีสานกินเนื้อดิบเสี่ยงเสียชีวิตและหูหนวกถาวร

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด