logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

สธ. แจกถุงดำ 1 แสนใบให้ผู้ประสบภัยที่อุบลฯ ใส่สิ่งปฏิกูลป้องกันไม่ให้เกิดโรคระบาด

http://www.moph.go.th/ops/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=40147

กระทรวงสาธารณสุขเร่งดูแลสุขภาพผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่จังหวัดอุบลราชธานี พบว่าผู้ประสบภัยร้อยละ 50 ส้วมใช้การไม่ได้ เนื่องจากน้ำท่วมสูง 1 เมตร แจกถุงดำ 100,000 ใบ ใส่สิ่งปฏิกูล ป้องกันไม่ให้เกิดโรคระบาด

วันนี้ (14 สิงหาคม 2554) นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์สมชาย เชื้อเพชระโสภณ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์สุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี นายแพทย์มนัส กนกศิลป์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ร่วมต้อนรับ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมผู้ประสบภัยน้ำท่วม ที่โรงเรียนบ้านชาดและโรงเรียนโขงเจียมวิทยาคม อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี มอบถุงยังชีพให้กับผู้ประสบภัยจำนวน 500 ชุด โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ชุดใหญ่พร้อมเวชภัณฑ์ตรวจรักษาผู้ประสบภัยฟรี

นายต่อพงษ์ กล่าวว่า สภาพน้ำท่วมขังที่จังหวัดอุบลราชธานี มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 9 อำเภอ 414 หมู่บ้าน จำนวน 16,250 ครัวเรือน จากการประเมินพบว่าบ้านเรือนร้อยละ 50 ส้วมใช้การไม่ได้ เนื่องจากระดับน้ำสูงประมาณ 1 เมตร กระทรวงสาธารณสุขได้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานีแจกถุงดำจำนวน 100,000 ใบ เพื่อใช้ใส่สิ่งปฏิกูลรวมทั้งใส่อุจจาระแทนการถ่ายลงน้ำ เพื่อป้องกันโรคระบาดที่อาจเกิดตามมาจากน้ำท่วมขังที่มีความสกปรก และให้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกให้บริการวันละ 5 ทีม มีผู้ป่วยวันละประมาณ 500 ราย ไม่มีรายงานเสียชีวิต จนถึงขณะนี้มีผู้เจ็บป่วย 1,700 ราย ส่วนใหญ่เป็นโรคน้ำกัดเท้า และได้แจกยาชุดช่วยเหลือผู้ประสบภัยไปแล้ว 10,000 ชุด ซึ่งประกอบด้วยยาที่จำเป็นดูแลสุขภาพเบื้องต้นเมื่อเจ็บป่วย ได้แก่ ยาแก้ปวดลดไข้ ชุดทำแผลสด ยารักษาโรคน้ำกัดเท้า ผงเกลือแร่โอ อาร์ เอส ใช้ในกรณีท้องเสีย

ทางด้าน นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่จังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดฯได้เปิดสายด่วน 1669 เพื่อให้บริการประชาชนในกรณีที่เจ็บป่วยฉุกเฉินหรือเร่งด่วนตลอด 24 ชั่วโมง โดยได้จัดรถพยาบาลฉุกเฉิน 90 คัน พร้อมเจ้าหน้าที่ เวชภัณฑ์ยา พร้อมช่วยชีวิตผู้ป่วย ที่ผ่านมาได้ช่วยผู้หญิงตั้งครรภ์ครบกำหนดที่อยู่ในพื้นที่ประสบภัยใน อ.โขงเจียม และเจ็บครรภ์คลอด ไปคลอดที่โรงพยาบาลอย่างปลอดภัย

ทั้งนี้ ที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุขได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ดูแลสุขภาพผู้ประสบภัย 23 จังหวัด พบผู้ประสบภัยเจ็บป่วย 26,000 ราย ซึ่งนับว่าน้อยมาก ยังไม่มีโรคระบาด ได้ส่งยาชุดน้ำท่วมไปแล้ว 139,000 ชุด และสำรองเวชภัณฑ์ในการฟื้นฟูความสะอาดอาคารบ้านเรือน ห้องน้ำ ห้องส้วม บ่อน้ำดื่ม น้ำใช้ ในพื้นที่น้ำลดแล้ว เช่น คลอรีน สารส้ม เพื่อปรับสภาพแวดล้อม

16 สิงหาคม 2554

Next post > สธ.จัดหน่วยแพทย์ 129 ทีม ออกเยียวยาผู้ประสบภัยน้ำท่วม ยอดผู้ป่วยพุ่งใกล้ 3 หมื่นราย

< Previous post บอร์ด สปส.ไฟเขียวเพิ่มสิทธิโรคไต

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด