logo
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

ผลวิจัยชี้ การดื่มสุราเพื่อคลายเครียด อาจทำให้นักดื่มกลายเป็นผู้ติดสุรา

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1312456860&grpid=&catid=19&subcatid=1904

         นักวิจัย Emma Childs ของมหาวิทยาลัยชิคาโกและผู้ร่วมเขียนรายงานเรื่องนี้ อธิบายว่า ปฏิกิริยาของร่างกายต่อความเครียด แยกผลกระทบทางร่างกายออกจากอารมณ์ความรู้สึก และก็เกิดขึ้นในเวลาที่ต่างกัน หลังจากเกิดความเครียด ตัวอย่างเช่น หัวใจเต้นเร็วขึ้น ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น และการปล่อยคอร์ติโซล (cortisol) ฮอร์โมน เกิดขึ้นและสลายตัวลงในเวลาที่ต่างจากการมีความรู้สึกเครียดในเชิงลบเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้น การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล ก็อาจมีผลกระทบที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับเวลาที่เจ้าตัวดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลหลังเกิดความเครียด

การศึกษาวิจัยให้อาสาสมัครชายที่มีสุขภาพดี 25 คน ทำงานต่างกันสองอย่าง อย่างหนึ่งเป็นงานที่ทำให้เกิดความเครียด เช่น การกล่าวปราศัยในที่สาธารณะ และงานอีกอย่างหนึ่งที่ไม่มีความเครียด

หลังการทำงานที่ว่าแล้ว อาสาสมัคร ซึ่งแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม รับการถ่ายเครื่องดื่มทาง I.V. ซึ่งเท่ากับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลสองแก้ว และเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอลในเวลาที่ต่างกัน นักวิจัยวัดผลกระทบทั้งทางอารมณ์และร่างกาย

Emma Childs นักวิจัยของมหาวิทยาลัยชิคาโก ผู้ร่วมเขียนรายงานการศึกษานี้ บอกว่า ผลที่ได้แสดงให้เห็นความสัมพันธ์สองทางระหว่างแอลกอฮอลกับความเครียด กล่าวคือ แอลกอฮอลสามารถเปลี่ยนวิธีที่ร่างกายจัดการกับความเครียด โดยลดการปล่อยคอร์ติโซลฮอร์โมน และยืดเวลาที่รู้สึกเครียดออกไปอีก

ความเครียดยังสามารถเปลี่ยนความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการดื่มแอลกอลฮอลด้วย โดยลดความรู้สึกสบายๆจากการดื่มแอลกอฮอล หรือทำให้กระหายอยากดื่มแอลกอฮอลเพิ่มขึ้นได้ด้วย

ตามปกติ การที่ร่างกายตอบโต้ความเครียด เป็นประโยชน์ในลักษณะที่ช่วยให้คนเราตอบโต้ต่อเหตุการณ์ที่ไม่ดีได้ เพราะฉะนั้น การเปลี่ยนวิธีที่ร่างกายตอบโต้ต่อความเครียด อาจไปเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดโรคที่เกี่ยวโยงกับความเครียดได้ ซึ่งโรคหนึ่งนั้น คือการติดสุรา

9 สิงหาคม 2554

Next post > สธ.ขยายศูนย์ปลูกถ่ายเปลี่ยนอวัยวะ ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ 5 แห่ง นำร่องที่อุบลแห่งแรก

< Previous post ประชุมผู้เชี่ยวชาญเรื่อง “การประเมินความคุ้มค่าของการให้บริการตรวจคัดกรอง HLA-B*1502 เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดผื่นแพ้ยารุนแรงชนิด Steven Johnson Syndromes/Toxin Epidermal Necrolysis (SJS/TEN) จากยา carbamazepine หรือ phenytoin”

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด