logo
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

อย.ลุยจับ 2 รร.สอนต่อเล็บใช้ “น้ำยาทาเล็บปลอม” ใช้ส่วนผสมตะกั่ว-ปรอท อันตรายถึงชีวิต

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1312789699&grpid=&catid=19&subcatid=1904

        เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และ พ.ต.อ.ไพฑูรย์ คุ้มสระพรหม รองผู้บังคับการปรามปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (รอง ผบก.ปคบ.) ร่วมกันแถลงข่าวการบุกจับโรงเรียนสอนต่อเล็บ 2 แห่ง ในย่านลาดพร้าวและสามเสน หลังพบการปลอมสินค้าลักลอบนำเข้าและจำหน่ายยาทาเล็บ ผลิตภัณฑ์บำรุงเล็บ ภายใต้แบรนด์ OPI จากสหรัฐอเมริกา จากการตรวจค้นพบการจำหน่ายยาทาเล็บ ผลิตภัณฑ์บำรุงเล็บ ผิดกฎหมาย ยึดของกลางมูลค่ากว่า 1 ล้านบาท

นพ.พิพัฒน์กล่าวว่า หลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์ดูแล ตกแต่งเล็บ ภายใต้เครื่องหมายการค้า OPI จากประเทศสหรัฐอเมริกาว่า มีโรงเรียนสอนต่อเล็บ บริการเกี่ยวกับเล็บหลายแห่งปลอมแปลงเลียนแบบสินค้าภายใต้แบรนด์ OPI และลักลอบนำเข้ามาจำหน่ายอย่างผิดกฎหมาย เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2554 เจ้าหน้าที่ อย. พร้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.ปคบ. ระดมกำลังออกเป็น 2 ชุด โดยชุดแรกได้นำหมายค้นของศาลแขวงพระนครเหนือเข้าตรวจสอบสถาบัน Nailpro Academy ซึ่งจดทะเบียนพาณิชย์ในนาม สยามเนลล์Ž ตั้งอยู่เลขที่ 1111/11 โครงการบ้านกลางเมือง รัชดาฯ-ลาดพร้าว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ จากการตรวจสอบพบผลิตภัณฑ์ยาทาเล็บ ผลิตภัณฑ์บำรุงเล็บ ภายใต้แบรนด์ OPI ไม่มีฉลากภาษาไทยที่ลักลอบนำเข้า และเป็นผลิตภัณฑ์เลียนแบบผลิตภัณฑ์ OPI ของแท้ อาทิ ยาทาเล็บ OPI คละสี ชุดเซ็ทยาทาเล็บ OPI (แพ็คคู่), น้ำยาล้างเล็บ OPI Nail Lacquer และผลิตภัณฑ์บำรุงเล็บต่างๆ อีกเป็นจำนวนมาก มูลค่าของกลางกว่า 8 แสนบาท

วันเดียวกัน เจ้าหน้าที่ได้นำหมายค้นของศาลทำการตรวจค้น ร้าน Tops N Toes Institute of Nail Art and Technology ตั้งอยู่เลขที่ 1093 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ พบว่าเป็นสถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์สำหรับเล็บ เช่น น้ำยาทาเล็บ บำรุงเล็บ ล้างเล็บ สปา อุปกรณ์ตกแต่งเล็บ ซึ่งจากการตรวจสอบภายในร้านพบผลิตภัณฑ์ยาทาเล็บ ผลิตภัณฑ์บำรุงเล็บ ภายใต้แบรนด์ OPI ไม่มีฉลากภาษาไทย ที่ลักลอบนำเข้า และเป็นผลิตภัณฑ์เลียนแบบผลิตภัณฑ์ OPI ของแท้ รวมทั้งเครื่องสำอางอื่นๆ ที่ไม่มีฉลากภาษาไทยจำนวนมาก อาทิ ยาทาเล็บ OPI, ยาทาเล็บ ORLY, ยาทาเล็บ NIKO, ยาทาเล็บ MISA, ยาทาเล็บ ZOYA และยาทาเล็บ BLUE PLACE  รวมมูลค่ากว่า 2 แสนบาท

น้ำยาทาเล็บปลอมจะไม่มีฉลากภาษาไทยที่มีข้อความบังคับครบถ้วน ได้แก่  ชื่อและประเภทผลิตภัณฑ์ ส่วนประกอบสำคัญ วิธีใช้ ชื่อและที่ตั้งแหล่งผลิต วันเดือนปีที่ผลิต ปริมาณสุทธิ และเนื้อน้ำยาไม่กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกันจะแยกเป็นส่วนๆ เห็นชัดเจน ซึ่งผู้ใช้อาจได้รับอันตรายจากการใช้ รวมทั้งไม่สามารถหาผู้ผลิต/ ผู้จำหน่ายมารับประกันหากเกิดความผิดปกติหรือเกิดผลข้างเคียงต่อร่างกาย อาจมีสารอันตรายหรือสีห้ามใช้หรือโลหะหนัก เช่น สารตะกั่ว ปรอทปนเปื้อน เมื่อใช้ทาเล็บมือแล้วไปหยิบจับบริโภคอาหาร อาจสัมผัสกับปากเกิดการดูดซึมปนเปื้อนเข้าไปในร่างกายเป็นอันตราย หากได้รับในปริมาณมากอาจไตวาย รวมทั้งทำลายเนื้อเยื่อสมอง และอาจป่วยโรคพากินสัน ซึ่งอย่าคิดว่าจะเข้าสู่ร่างกายไม่ได้ แต่สามารถซึมได้ทั้งทางมือและเท้าŽ นพ.พิพัฒน์กล่าว

9 สิงหาคม 2554

Next post > สธ.ขยายศูนย์ปลูกถ่ายเปลี่ยนอวัยวะ ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ 5 แห่ง นำร่องที่อุบลแห่งแรก

< Previous post ประชุมผู้เชี่ยวชาญเรื่อง “การประเมินความคุ้มค่าของการให้บริการตรวจคัดกรอง HLA-B*1502 เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดผื่นแพ้ยารุนแรงชนิด Steven Johnson Syndromes/Toxin Epidermal Necrolysis (SJS/TEN) จากยา carbamazepine หรือ phenytoin”

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด