logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

กลุ่มหมอนักต่อต้านฟ้องศาลปกครองยกเลิกกม.สิทธิตาย

http://www.thaipost.net/news/090811/43062

         กลุ่มหมอต่อต้าน กม.คุ้มครองผู้ป่วย รวมตัวฟ้องศาลยกเลิกกฎกระทรวงสิทธิตาย เหตุขัดมาตรา 4 พ.ร.บ.ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 ชี้เพิ่มอำนาจผู้ป่วยสร้างหลักเกณฑ์การรักษาเหนือผู้ประกอบวิชาชีพ
         เมื่อวันที่ 8 ส.ค. นพ.ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ จักษุแพทย์ รพ.พระนั่งเกล้า เปิดเผยว่า ตนพร้อมด้วย พญ.อรพรรณ เมธาดิลกกุล และ พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ได้ยื่นฟ้องนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข ต่อศาลปกครองสูงสุดกรณีที่การออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตหรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย พ.ศ. 2553 และขอให้ยกเลิก เพิกถอนกฎกระทรวงดังกล่าว
          นพ.ฐาปนวงศ์กล่าวต่อว่า เหตุผลที่ยื่นฟ้องศาลปกครองเพราะมองว่า การออกกฎกระทรวงดังกล่าวขัดต่อมาตรา 4 พ.ร.บ.ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 ที่กำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพที่กระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจโรค การวินิจฉัยโรค การบำบัดโรค การป้องกันโรค รวมทั้งขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน สร้างภาระให้กับการบริการสาธารณสุข ขาดการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในขณะที่กฎกระทรวงดังกล่าวสร้างหลักเกณฑ์ขึ้นมาใหม่ที่สร้างภาระต่อผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมให้มีภาระหนักเพิ่มกว่าเดิม และเป็นการยกระดับให้ผู้ป่วยมีอำนาจสร้างหลักเกณฑ์การรักษาเหนือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
          นพ.,ฐาปนวงศ์กล่าวอีกว่า อีกทั้งกฎกระทรวงดังกล่าวมิได้มีผลให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจะต้องพ้นจากความรับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วยที่มีหนังสือแสดงเจตนา ในทางกลับกันต้องเป็นผู้วินิจฉัยสาระสุดท้ายของชีวิต จึงไม่เป็นธรรมต่อทั้งผู้ป่วยและผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมให้ตั้งอยู่บนความเสี่ยงของเส้นลวดคนละเส้น กฎกระทรวงดังกล่าวจึงไม่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงและเพื่อประโยชน์สาธารณะจึงขอให้ยกเลิก เพิกถอนกฎหมายดังกล่าว.

9 สิงหาคม 2554

Next post > สธ.ขยายศูนย์ปลูกถ่ายเปลี่ยนอวัยวะ ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ 5 แห่ง นำร่องที่อุบลแห่งแรก

< Previous post ประชุมผู้เชี่ยวชาญเรื่อง “การประเมินความคุ้มค่าของการให้บริการตรวจคัดกรอง HLA-B*1502 เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดผื่นแพ้ยารุนแรงชนิด Steven Johnson Syndromes/Toxin Epidermal Necrolysis (SJS/TEN) จากยา carbamazepine หรือ phenytoin”

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด