logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

นายกสมาคมนรีเวช เสนอรัฐบาลบรรจุ “เอชพีวี” เป็นวัคซีนพื้นฐาน

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000098086

        ศ.นพ.ชัยยศ ธีรผกาวงศ์ นายกสมาคมมะเร็งนรีเวชไทย กล่าวว่า เดือน ส.ค.นี้เป็นเดือนแห่งการรณรงค์เรื่องการป้องกันมะเร็งปากมดลูก ดังนั้นจึงต้องขอความร่วมมือกับโรงพยาบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประชาสัมพันธ์ให้มีการเร่งสร้างความตระหนักในการตรวจคัดกรองและวิธีการป้องกันที่เหมาะสมด้วย ซึ่งนอกจาการเข้าตรวจคัดกรองในหาเชื้อ เอชพีวี(HPV) ด้วยวิธีต่างๆซึ่งทำในประชาชนที่มีอายุเป็นกลุ่มสี่ยงแล้ววิธีที่ป้องกันได้ดีอีกหนทาง คือ การฉีดวัคซีน ป้องกันเชื้อเอชพีวี 16 และ 18 ซึ่งเป็นชนิดที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกมากกว่าชนิดอื่น ถึง 70 % และที่สำคัญไม่จำเป็นต้องฉีดเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่อายุมากกว่า 30 ปี เท่านั้น แต่สามารถให้ได้ในเด็กที่เป็นวัยรุ่น ซึ่งขณะนี้มีทั้งฝ่ายเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่สำหรับตนนั้น คิดว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุดแล้ว เนื่องจากการป้องกันย่อมดีกว่าการรักษา โดยรัฐบาลน่าจะมีการบรรจุเป็นวัคซีนชนิดดังกล่าวเป็นวัคซีนพื้นฐาน เพื่อสร้างภูมิคุมกันที่ดีแก่ประชาชน จะได้ลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษา และที่สำคัญน่าจะลดจำนวนผู้ป่วยได้
       
       ศ.นพ.ชัยยศ กล่าวด้วยว่า ในการซื้อวัคซีนมาใช้นั้นจะให้คุ้มค่าก็ต้องซื้อในจำนวนมากเพื่อให้ราคาต่ำลง เพราะราคาปกติขายเป็นชุด ๆ ละ 3 เข็ม ราคาราว 7,000 บาท โดยขณะนี้ประเทศมาเลเซีย สั่งซื้อเพื่อบริการประชาชาชน โดยซื้อในราคา ชุดละ 2,000 บาท แต่หากไทยจะนำเข้ามาก็น่าจะตกที่ราคาชุดละกว่า 1,000 บาท เนื่องจากไทยต้องมีประชากรมากกว่ามาเลเซียราว 1 เท่า ซึ่งอยากฝากให้รัฐบาลใหม่พิจารณาและหากใครเข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่า การกระทรวงสาธารณสุข(รมว.สธ.) ก็อยากให้เห็นความสำคัญของเรื่องนี้ด้วย เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคร้ายที่คร่าชีวิตคนไทยมาโดยตลอด
       
       “ไม่อยากให้มองแค่ว่า เรื่องความคุ้มค่าทางการเงิน แต่อยากให้มองถึงปัญหาสุขภาพของประชาชนเป็นหลัก และหากบริการวัคซีนควบคู่กับการตรวจคัดกรองก็จะยิ่งดี เพราะการตรวจคัดกรองปัจจุบันเริ่มที่ราคาราว 2,000 บาท บวกกับค่าวัคซีนด้วยไม่น่าจะแพงมากนัก ต่างจากค่ารักษาที่ตกรายละไม่ต่ำกว่า 40,000 บาท ” ศ.นพ.ชัยยศ กล่าว

8 สิงหาคม 2554

Next post > หมอชี้ชายรักชายเสี่ยงป่วยมะเร็งปากทวารหนักมากกว่าคนทั่วไป 40 เท่า !!

< Previous post กรมวิทย์ฯ พัฒนาเทคนิคสำเร็จตรวจเชื้อเอชไอวีทารกแรกเกิด

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด