logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

สธ. สั่ง 124 โรงพยาบาลใน 13 จังหวัดลุ่มเจ้าพระยาและป่าสัก เตรียม 4 แผนรับมือมวลน้ำเหนือ

http://www.moph.go.th/ops/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=40021

          ปลัดกระทรวงสาธารณสุขกำชับ 124 โรงพยาบาลใน 13 จังหวัดลุ่มเจ้าพระยา ป่าสัก รับมือมวลน้ำจากภาคเหนือ ให้เปิด 4 แผนป้องกันน้ำท่วมสถานบริการอย่างเต็มที่ พร้อมจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกให้บริการหากน้ำท่วมสถานบริการ เผยล่าสุดผลการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่บริการผู้ประสบภัย พบผู้ป่วยเกือบ 10,000ราย ส่วนใหญ่เป็นโรคน้ำกัดเท้า ไข้หวัด ยังไม่พบโรคระบาด

วันนี้ (6 สิงหาคม 2554) นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เดินทางไปตรวจดูความพร้อมสถานบริการสาธารณสุขในการรับมือกับมวลน้ำเหนือที่กำลังไหลลงสู่จังหวัดภาคกลาง โดยตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ โรงพยาบาลอินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ซึ่งขณะนี้ได้รับรายงานว่าทุกแห่งได้วางความพร้อมรับมือป้องกันน้ำท่วมสถานที่บริการอย่างเต็มที่

นายแพทย์ไพจิตร์กล่าวว่า ในการป้องกันผลกระทบมวลน้ำจากภาคเหนือ กระทรวงสาธารณสุขได้ให้โรงพยาบาลในสังกัดซึ่งมี 124 แห่ง ที่อยู่ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและป่าสัก 13 จังหวัด ประกอบด้วย นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี ชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง นครปฐม สุพรรณบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และกทม. ปฏิบัติตามแผนของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งได้ให้ทุกแห่งดำเนินการซักซ้อม 4 แผน เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีความเข้าใจและปฏิบัติตามแผนอย่างคล่องตัว

โดย 4 แผนดังกล่าวประกอบด้วย 1. แผนป้องกันไม่ให้น้ำท่วมโรงพยาบาล เพื่อให้สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง 2.แผนสำรองทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้บริการผู้ป่วย เช่นออกซิเจน อาหารผู้ป่วยใช้การได้ประมาณ 1 สัปดาห์ 3. แผนการส่งต่อผู้ป่วยที่มีอาการหนัก และ 4.แผนการปรับให้บริการ หากน้ำท่วมในโรงพยาบาล เช่น การตั้งจุดตรวจรักษาผู้ป่วยนอกโรงพยาบาล 4 มุมเมือง ,การจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกให้บริการพื้นที่น้ำท่วมควบคู่กันทั้งสุขภาพกายและจิต รวมทั้งการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการ ผู้สูงอายุ และเด็กเล็กที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วม และเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย ให้ไปอยู่ในที่ปลอดภัย และให้โรงพยาบาลทุกแห่งเปิดสายด่วนให้บริการประชาชนในเรื่องปัญหาการเจ็บป่วยทางหมายเลข 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง

นายแพทย์ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า จากการประเมินสถานการณ์น้ำท่วมล่าสุด มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมทั้งหมด 15 จังหวัด กระทรงสาธารณสุขได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกให้บริการ 80 ทีม พบผู้เจ็บป่วยแล้วเกือบ 10,000 ราย กว่าครึ่งเป็นโรคน้ำกัดเท้า รองลงมาคือไข้หวัด ผื่นคันตามตัว ยังไม่พบโรคระบาด มีผู้เสียชีวิต 23 ราย ใน 8 จังหวัด ประกอบด้วย เชียงใหม่ 2 ราย สุโขทัย 1 ราย สกลนคร 2 ราย แพร่ 6 ราย อุดรธานี 1 ราย เพชรบูรณ์ 1 ราย นครพนม 3 ราย และ แม่ฮ่องสอน 7 ราย มีสถานบริการสาธารณสุขในสังกัดถูกน้ำท่วม 6 แห่ง ได้แก่ ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ อ.บ่อสร้างจ.เชียงใหม่ โรงพยาบาลสวรรคโลก จ.สุโขทัย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ป่าซางน้อยและต.มะเขือแจ้ จังหวัดลำพูน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสบสายและต.ปงพร้าว จ.แพร่ สามารถให้บริการตามปกติ โดยกระทรวงสาธารณสุขได้จัดส่งยาชุดช่วยเหลือน้ำท่วมไปให้จังหวัดที่ประสบภัยแล้ว 91,000 ชุด ยังสำรองที่ส่วนกลางอีก 500,000 ชุด ในส่วนจังหวัดที่ระดับน้ำลดแล้ว ให้เฝ้าระวังโรคหลังน้ำลด เช่นโรคตาแดง ฉี่หนู อุจจาระร่วง และเร่งฟื้นฟูความสะอาดแวดล้อม ความสะอาดของบ้านเรือนและสถานบริการ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคระบาด

8 สิงหาคม 2554

Next post > หมอชี้ชายรักชายเสี่ยงป่วยมะเร็งปากทวารหนักมากกว่าคนทั่วไป 40 เท่า !!

< Previous post กรมวิทย์ฯ พัฒนาเทคนิคสำเร็จตรวจเชื้อเอชไอวีทารกแรกเกิด

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด