logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
กรมวิทย์ฯ พัฒนาเทคนิคสำเร็จตรวจเชื้อเอชไอวีทารกแรกเกิด

กรมวิทย์ฯ พัฒนาเทคนิคสำเร็จตรวจเชื้อเอชไอวีทารกแรกเกิด

นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ทีมนักวิจัยของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ร่วมกันพัฒนาเทคนิค Inhouse DNA-PCR ซึ่งเป็นเทคนิคในการตรวจการติดเชื้อเอชไอวีในเด็กที่คลอดจากแม่ที่ติดเชื้อ ซึ่งมีประสิทธิภาพดี ขั้นตอนการปฏิบัติงานง่าย สะดวก รวดเร็ว มีความไวและความจำเพาะสูง และมีราคาถูกกว่าชุดน้ำยาสำเร็จรูปที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ 5-10 เท่านอกจากนี้ในปี 2555 จะให้บริการได้กับสิ่งส่งตรวจที่เก็บบนกระดาษซับเลือด (Dried Blood Spot : DBS) เพื่อช่วยแก้ปัญหากรณีเจาะเลือดได้ยากปริมาณเลือดน้อยซึ่งการเก็บและจัดส่งตัวอย่างแบบ DBS สะดวกส่งได้ทางไปรษณีย์ และให้บริการได้ครอบคลุมในพื้นที่ห่างไกลผ่านเครือข่ายห้องปฏิบัติการของศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้ง 13 แห่ง ที่ได้การรับรองคุณภาพทางห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO : 15189 : 2007 ครบทุกแห่ง

นพ.ปฐมกล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยศูนย์วิจัยทางคลินิก ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่จัดเตรียมและสนับสนุนชุดทดสอบ ดำเนินการทดสอบความชำนาญการตรวจทางห้องปฏิบัติการ (Inter-lab comparison) ตามแนวทางมาตรฐาน ISO 17043 พร้อมทั้งถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่ที่ทีมนักวิจัยของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์พัฒนาขึ้นให้กับเครือข่ายห้องปฏิบัติการศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้ง 13 แห่งทั่วประเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการตรวจการติดเชื้อเอชไอวี ด้วยวิธี PCR ในเด็กที่คลอดจากแม่ที่ติดเชื้อ การบริการดังกล่าวเป็นหนึ่งในชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งให้บริการตรวจฟรี โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินการจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ตั้งแต่ปี 2549 ถึงปัจจุบัน

“เฉพาะปี 2553 ได้ให้บริการตรวจไป 4,200 ตัวอย่าง ให้ผลบวกคิดเป็นร้อยละ 2.74 นับเป็นความสำเร็จที่เห็นเป็นรูปธรรมตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขในการรณรงค์การลดอัตราการแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูก โดยมีเป้าหมายให้เหลือเพียงไม่เกินร้อยละ 3 จากเดิมที่สูงถึงร้อยละ 15 และในปี 2554 กระทรวงสาธารณสุขประกาศเป็นนโยบายให้เด็กที่เกิดจากแม่ที่ติดเชื้อทุกคนต้องได้รับการตรวจหาเชื้อเอชไอวีให้เร็วที่สุด ด้วยวิธี PCR หรือตามนิยาม (Early Infant Diagnosis : EID) ซึ่งแนะนำให้ตรวจครั้งแรกเมื่อเด็กอายุ 1-2 เดือน และตรวจซ้ำครั้งที่สองเพื่อยืนยันผลภายใน 4-6 เดือน ส่งผลให้แพทย์ใช้เป็นข้อมูลและแนวทางในการดูแลรักษาเด็กที่ติดเชื้อได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิผล” รองอธิบดีกรมกล่าว

นพ.สมชาย แสงกิจพร ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทางคลินิก กล่าวว่า หลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวีในทารกให้เร็วที่สุด คือ ภายใน 2-4 เดือนโดยการนำเทคนิควิธี PCR มาใช้ ซึ่งเป็นเทคนิคในการวินิจฉัยโรคต่างๆ แม้มีเชื้อโรคในตัวอย่างที่ส่งมาตรวจน้อยก็สามารถวินิจฉัยโรคได้

ทั้งนี้ จะมีการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประจำปี 2554 ในหัวข้อจากเครือข่ายสู่ประชาคมร่วมคิด ร่วมทำ : From Network to Alliance ระหว่างวันที่ 17-19 สิงหาคม นี้ ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น

 

แหล่งที่มา: http://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=39954

4 สิงหาคม 2554

Next post > สธ.เตือนเอดส์ระบาดไม่เลิก พบกลุ่มพนักงานบริการทั้งชายและหญิง ติดเชื้อเอชไอวีเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มชายอายุต่ำกว่า 20 ปี ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 3 เท่าตัว ส่วนใหญ่มักใช้เว็บไซต์ ติดต่อก่อนมีเซ็กส์

< Previous post การประชุมผู้เชี่ยวชาญเรื่อง “การประเมินการเข้าถึงการให้แว่นตาในชุดสิทธิประโยชน์หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแห่งชาติ”

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด