logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

สธ.เปิด “ตลาดนัดสีเขียวต้นแบบ” จำหน่ายผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ปลอดสารพิษ สารเคมี

http://www.moph.go.th/ops/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=39935

          กระทรวงสาธารณสุข เปิดโครงการ “มสส.ตลาดนัดสีเขียว” เป็นตลาดนัดต้นแบบ จำหน่ายผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ปลอดสารพิษ สารเคมี เผยผลการดำเนินงานควบคุมดูแลความปลอดภัยอาหารบริโภคในประเทศใน ปี 2553 พบร้อยละ 99อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย มีการปนเปื้อนเพียงร้อยละ 1 โดยพบจุลินทรีย์ในอาหารปรุงสำเร็จมากที่สุด รองลงมาคือสารอะฟลาทอกซิน ในถั่วลิสงป่นแล้ว และน้ำมันทอดซ้ำที่ใช้ทอดขนมต่างๆ

วันนี้ (2 สิงหาคม 2554) ที่กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิตปลัดกระทรวงสาธารณสุขพร้อมด้วยแพทย์หญิงผกา วราชิต นายกสมาคมแม่บ้านสาธารณสุข เปิดโครงการ“มสส.ตลาดนัดสีเขียว”จัดโดยสมาคมแม่บ้านสาธารณสุข ซึ่งมีเป้าหมายจะพัฒนาเป็นตลาดสีเขียวต้นแบบ จำหน่ายผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ปลอดสารพิษ ทั้งผักสด ผลไม้ อาหาร ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอาง จากสมุนไพรแปรรูป เพื่อขยายผลให้หน่วยงานสาธารณสุขทั่วประเทศนำไปดำเนินการต่อ โดยตลาดนัดสีเขียวนี้จะเป็นตลาดกลางระหว่างผู้ผลิต ผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ กับผู้บริโภคซึ่งเป็นบุคลากรสาธารณสุขและขยายผลต่อถึงกลุ่มประชาชน ให้บริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย ลดการเจ็บป่วยจากการบริโภคอาหารที่ปนเปื้อนสารพิษ สารเคมีต่างๆ  


นายแพทย์ไพจิตร์ กล่าวว่า ความปลอดภัยด้านอาหารเป็นเรื่องสำคัญต่อสุขภาพของทุกคน เนื่องจากอาหารเป็นปัจจัยสี่ที่มีความสำคัญที่สุด ต้องบริโภคทุกวัน และมีผลต่อสุขภาพ ซึ่งเป็นที่ยอมรับในวงนักวิชาการในระดับสากลว่า สุขภาพขึ้นอยู่กับอาหารที่บริโภค กระทรวงสาธารณสุขได้มีการรณรงค์และเฝ้าระวังความปลอดภัยอาหารมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ.2546 เป็นต้นมาโดยอาหารที่มีเชื้อโรคหรือสารปนเปื้อน เป็นสาเหตุให้เกิดการเจ็บป่วยทั้งในระยะสั้น เช่น อุจจาระร่วง ในปี 2553 มีรายงานป่วย 1 ล้าน 3 แสนกว่าราย เสียชีวิต 42 ราย ส่วนการก่อผลกระทบในระยะยาว พิษสะสมจนเกิดเป็นโรคมะเร็ง มีรายงานเสียชีวิตปีละ 60,000 ราย 


ผลสำรวจสถานการณ์ความปลอดภัยด้านอาหารในประเทศล่าสุดในปี 2553ได้สุ่มตรวจสารปนเปื้อน 8 ชนิดจากทั่วประเทศ ได้แก่สารเร่งเนื้อแดง สารบอแรกซ์ สารฟอกขาว ฟอร์มาลิน สารกันรา ยาฆ่าแมลง น้ำมันทอดซ้ำ อะฟลาทอกซิน  และจุลินทรีย์ก่อโรค รวมทั้งหมด 517,175ตัวอย่างพบว่าร้อยละ 99อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย มีการปนเปื้อนเพียง 5,751ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 1 โดยตรวจพบจุลินทรีย์ในอาหารปรุงสำเร็จมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 10 รองลงมาคือสารอะฟลาทอกซินในถั่วลิสงป่นแล้ว คิดเป็นร้อยละ 7 และน้ำมันทอดซ้ำที่ใช้ในการทอดขนมต่างๆ ร้อยละ 5 จะเร่งรัดให้ทุกจังหวัดดำเนินการเข้มงวด ลงโทษตามกฎหมาย เพื่อให้อาหารมีความปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์ 


ด้านแพทย์หญิงผกา วราชิต นายกสมาคมแม่บ้านสาธารณสุข กล่าวว่า โครงการ “มสส.ตลาดนัดสีเขียว” ที่สมาคมแม่บ้านสาธารณสุขริเริ่มขึ้นนี้ จะเริ่มที่ส่วนกลางเป็นต้นแบบ คือที่กระทรวงสาธารณสุขก่อน เนื่องจากมีจำนวนเจ้าหน้าที่จำนวนมากประมาณ 20,000 คน โดยกิจกรรมที่ดำเนินงานประกอบด้วยวิชาการความรู้ด้านอาหารปลอดภัย การออกร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพทั้งพืชผักผลไม้สด ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางต่างๆจากสมุนไพรไทย โดยแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและปลอดสารพิษ และให้การสนับสนุนด้านวิชาการเพื่อปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ปลอดภัย เป็นต้น โดยเริ่มดำเนินการทุกวันอังคาร ตั้งแต่ 2 สิงหาคม ถึง 30 กันยายน 2555 ตั้งเป้าขยายผลให้เกิดตลาดนัดสีเขียวที่สมาคมแม่บ้านสาธารณสุขที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศต่อไป

4 สิงหาคม 2554

Next post > สธ.เตือนเอดส์ระบาดไม่เลิก พบกลุ่มพนักงานบริการทั้งชายและหญิง ติดเชื้อเอชไอวีเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มชายอายุต่ำกว่า 20 ปี ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 3 เท่าตัว ส่วนใหญ่มักใช้เว็บไซต์ ติดต่อก่อนมีเซ็กส์

< Previous post การประชุมผู้เชี่ยวชาญเรื่อง “การประเมินการเข้าถึงการให้แว่นตาในชุดสิทธิประโยชน์หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแห่งชาติ”

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด