logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

กรมควบคุมโรคหนุนสื่อท้องถิ่นกระตุ้นป้องกันโรคอย่างยั่งยืน

http://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=35075

        น.พ.มานิต กล่าวในการบรรยายพิเศษ เรื่อง “ทิศทางการพัฒนาอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน” ว่า เพื่อให้เกิดระบบเฝ้าระวังควบคุมโรคที่มีความเข้มแข็ง การประชุมในวันนี้ได้มีการเชิญสื่อมวลชนในระดับท้องถิ่นเข้าร่วมเพื่อเป็นเวทีสร้างความสัมพันธ์เชิงเครือข่ายของผู้ปฏิบัติงานด้านสื่อสารมวลชนก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ตอบโจทย์ในการทำงานเชิงพื้นที่ในการควบคุมโรค โดยในปี 2554 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายมุ่งเน้นที่จะให้ทุกอำเภอของประเทศไทย เป็นพื้นที่เป้าหมายเพื่อพัฒนาระบบการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคแบบยั่งยืน โดยการเสริมศักยภาพในระดับอำเภอให้มีทั้งศักยภาพและความเข้มแข็ง รวมถึงมีความพร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุข โดยมีระบบและกลไกการบริหารจัดการ การเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพของพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทันสถานการณ์ ทั้งนี้ “อำเภอ” ถือเป็นจุดเชื่อมโยงการดำเนินงาน การบริหารทรัพยากรจากส่วนภูมิภาคสู่ส่วนท้องถิ่นและชุมชน แต่ที่ผ่านมาในแต่ละพื้นที่มีเพียงการประสานงานในระดับจังหวัดเท่านั้นยังขาดการเชื่อมโยงภาพเชิงระบบ และยังมีความเข้มแข็งที่แตกต่างกัน และในอนาคตจะมีการพัฒนาไปสู่ระดับตำบลเพื่อให้ทั้งระบบของการควบคุมป้องกันโรคในพื้นที่เป็นไปอย่างครบถ้วนสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานของกรมควบคุมโรคต่อไป   

        “กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค จึงได้กำหนด “คุณลักษณะอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน” เพื่อสนับสนุนและเป็นแนวทางให้ทุกอำเภอทุกแห่งในประเทศ สามารถดำเนินการเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีสุขภาพดี คือ กำหนดให้แต่ละอำเภอมีคณะกรรมการพิจารณาควบคุมโรคและภัยสุขภาพระดับอำเภอ มีระบบระบาดวิทยาที่ดี เช่น การรายงานการเกิดโรคอย่างรวดเร็ว ครบถ้วน มีการเก็บข้อมูล สถิติการเกิดโรค มีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการบริการข้อมูล รวมถึงการมีทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว [SRRT] ระดับตำบลและอำเภอในการเฝ้าระวังโรคและตอบสนองกรณีที่เกิดการระบาดอย่างรวดเร็วรุนแรง และมีโรงพยาบาลระดับอำเภอที่มีห้องปฏิบัติการในการตรวจวินิจฉัยโรค เช่น ไข้เลือดออก อหิวาตกโรค เป็นต้น” น.พ.มานิต กล่าว    

       อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวต่อว่า กรมควบคุมโรค เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นกรมวิชาการไม่มีงบปฏิบัติการในพื้นที่ เพราะได้ถูกตัดไปอยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพแล้ว สิ่งที่ทาง กรมฯ ต้องทำก็คือ ทำอย่างไรให้ผู้ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด การเชิญสื่อมวลชนเข้าร่วมประชุมในวันนี้จะช่วยให้สื่อมวลชนในส่วนภูมิภาครู้จักกรมควบคุมโรคมากยิ่งขึ้น เกิดความคุ้นเคย มีความเข้าในงานการสื่อสารของกรมควบคุมโรคมากยิ่งขึ้น โดยจัดให้มีการส่งเสริมองค์ความรู้ทางด้านวิชาการในการป้องกันควบคุมโรค ซึ่งบทบาทของสื่อมวลชนในระดับจังหวัดหรือท้องถิ่น นับว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ อีกทั้งยังมีประสบการณ์ในการทำงานอยู่ในพื้นที่ทราบถึงอุปสรรคปัญหาต่างๆ จึงมีศักยภาพที่จะนำองค์ความรู้ในด้านที่เกี่ยวข้องกับวิธีการป้องกันควบคุมโรค คู่มือ ประกาศกระทรวง ไปถ่ายทอด รวมทั้งมีความสามารถในการสื่อสารความเสี่ยงด้านสุขภาพให้กับประชาชนได้รู้จักดูแลตนเอง ทั้งยังช่วยสร้างกระแส กระตุ้น จูงใจให้สาธารณสุขจังหวัดและหน่วยงานในระดับอำเภอสนใจเข้าร่วมในโครงการ “อำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน”

29 พฤศจิกายน 2553

Next post > การประชุมผู้เชี่ยวชาญเรื่อง “การประเมินการเข้าถึงการให้แว่นตาในชุดสิทธิประโยชน์หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแห่งชาติ”

< Previous post เตือนหนาวอย่านอนคลุมโปง

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด