logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

สธ.เฝ้าระวังโรคอาหารเป็นพิษ ภัยที่มากับอาหารช่วงน้ำท่วม

http://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=35081

        ดร.พรรณสิริ กุลนาถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม 2553 ที่ผ่านมา ได้เกิดอุทกภัยในประเทศไทยในพื้นที่หลายจังหวัด ประชาชนได้รับความเดือดร้อนบ้านเรือนและทรัพย์สินเสียหาย บางคนไม่สามารถนำเข้าของเครื่องใช้หนีภัยน้ำท่วมได้ ทำให้ขาดแคลนเครื่องอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะอาหาร น้ำ และเครื่องดื่ม รวมทั้งระบบสุขาภิบาลเสียหายอาจทำให้เกิดโรคระบาดได้ง่าย กระทรวงสาธารณสุขจึงตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้านการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อแก้ไขปัญหาที่มากับน้ำท่วม ซึ่งในส่วนการวางแผนป้องกันโรคที่อาจมีสาเหตุจากน้ำท่วม ได้มอบหมายให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ดำเนินการเฝ้าระวังและเก็บตัวอย่างอาหารและน้ำมาตรวจวิเคราะห์อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งจัดทำแผนในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคช่วงหลังน้ำลดด้วย 


        รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมากรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร ได้ลงพื้นที่พร้อมรถโมบายแล็ปในการเก็บตัวอย่างอาหาร น้ำ น้ำแข็งและเครื่องดื่มจากบริเวณชุมชนใกล้เคียงแหล่งน้ำท่วมใน 7 จังหวัด ได้แก่ ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง สระบุรี ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร จำนวน 310 ตัวอย่าง พบว่ามีเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ 47 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ15.16 โดยพบเชื้อสแตปฟิลโลค็อกคัส ออเรียส(Staphylococcus aureus ) 18 ตัวอย่าง และเชื้อซาลมอลเนลลา (Salmonella spp.) 27  ตัวอย่าง เชื้อวิบริโอ คลอลีรา(Vibrio cholera nonO1/non O139) 2 ตัวอย่าง เชื้อเหล่านี้ส่วนใหญ่ก่อให้เกิดอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เป็นไข้      บางรายอาจเกิดอาการช็อค หมดสติ และเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 8 นครสวรรค์ ซึ่งส่วนใหญ่ดูแลพื้นที่ในจังหวัดที่ประสบภัยน้ำท่วมหลายจังหวัด เช่น ลพบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง ได้เตรียมความพร้อมในการเฝ้าระวังโรคช่วงหลังน้ำลด โดยการ     ตรวจวิเคราะห์อาหาร น้ำ และการตรวจชันสูตรโรคเลปโสไปโรซิสหรือโรคฉี่หนู  การตรวจโรคอุจาระร่วงจากไวรัสโรทาและเชื้ออื่น ๆ การตรวจวินิจฉัยแบคทีเรียทางการแพทย์เบื้องต้น เพื่อให้ผู้ประสบอุทกภัยมีสุขภาพที่ดี


         นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า   สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้เตรียมความพร้อมทั้งเจ้าหน้าที่และรถโมบายแล็ปเพื่อลงพื้นที่ในการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างอาหาร น้ำ น้ำแข็ง และเครื่องดื่มทางจุลชีววิทยา เนื่องจากในช่วงเกิดภัยพิบัติ จุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ที่มีอยู่ทั่วไปจะปนเปื้อนในอาหารได้ง่าย ถ้าอาหารสุกไม่ทั่วถึง การเก็บรักษาอาหารไม่ถูกต้อง หรือการขนส่งอาหารให้ผู้ประสบภัยไม่ดี อาหารจะเสื่อมคุณภาพเกิดการเน่าเสียได้อย่างรวดเร็วและอาจมีเชื้อโรคปนเปื้อน  ทั้งนี้ผู้ประสบอุทกภัยสามารถหลีกเลี่ยงการเกิดโรคได้ โดยรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ หรืออาหารที่มีการอุ่นให้ร้อนอยู่เสมอ และหลีกเลี่ยงการรับประทานน้ำแข็งจากโรงงานที่ไม่ผ่านจีเอ็มพี(GMP)หรือกระบวนการวิธีผลิตไม่ดี โดยเฉพาะน้ำแข็งบดในช่วงน้ำท่วม  สำหรับผู้ประกอบการควรมีการอุ่นอาหารให้ร้อนอยู่เสมอหรืออุ่นทุก 2 ชั่วโมง ไม่หยิบจับอาหารโดยตรงด้วยมือเปล่า ไม่ใช้อุปกรณ์สัมผัสอาหารดิบและอาหารสุกร่วมกัน อาหารที่ปรุงสุกแล้ว  ควรมีภาชนะปกปิด เท่านี้ผู้ประกอบการจะมีส่วนช่วยลดหรือป้องกันการเกิดโรคอาหารเป็นพิษ ไปสู่ผู้ประสบอุทกภัยได้

29 พฤศจิกายน 2553

Next post > การประชุมผู้เชี่ยวชาญเรื่อง “การประเมินการเข้าถึงการให้แว่นตาในชุดสิทธิประโยชน์หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแห่งชาติ”

< Previous post เตือนหนาวอย่านอนคลุมโปง

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด