logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

สปสช.ปลื้มทริสจัดลำดับให้เป็นหน่วยงานยอดเยี่ยม

http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9530000165247

      วันนี้ (22 พ.ย.) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า ที่ประชุมได้มีการนำเสนอการประเมินผลการดำเนินงาน กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปี 2553 โดยบริษัท ไทยเรทติ้ง แอนด์ อินฟอร์เมชั่นเซอร์วิส จำกัด (TRIS) ซึ่งเป็นองค์กรภายนอกที่ได้รับมอบจากกระทรวงการคลัง ในการประเมินกองทุนหมุนเวียนต่างๆ ของรัฐบาลเป็นประจำทุกปี
       
       นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช.กล่าวว่า ในปี 2553 ทีอาร์ไอเอส (TRIS) ซึ่งเป็นตัวแทนของกระทรวงการคลัง ได้ประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ตามตัวชี้วัด อาทิ มาตรฐานของหน่วยบริการที่เข้าร่วมในระบบค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำ การดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพของ อบต./เทศบาลที่เข้าร่วมกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น เครือข่ายประชาชนแต่ละจังหวัดมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ การแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนแล้วเสร็จภายใน 30 วันทำการ ความพึงพอใจต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เป็นของประชาชนและผู้ให้บริการ การควบคุมภายใน การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารต่อผู้มีส่วนได้เสีย เป็นต้น โดย สปสช.มีผลงานในภาพรวมร้อยละ 94.71 จัดอยู่ในระดับยอดเยี่ยมหรือระดับเอ จากเกณฑ์วัด 4 ด้าน คือ การเงิน การปฏิบัติการ การสนองผลประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้เสีย และการบริหารพัฒนาทุนหมุนเวียน
       
       นพ.วินัย กล่าวด้วยว่า ผลการดำเนินงานของ สปสช.ตามตัวชี้วัดดังกล่าวนั้น แสดงถึงมาตรฐานการทำงานของหน่วยงาน ในการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ที่ยึดแนวทางโปร่งใส โดยมีอนุกรรมการตรวจสอบที่มีความอิสระตามกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติทำการตรวจสอบทางการเงิน และการดำเนินงานของ สปสช.และรายงานต่อคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพฯ เป็นประจำทุกไตรมาส และมีสำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ตั้งหน่วยงานย่อยอยู่ประจำ สปสช.ทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามระเบียบทางการเงินอย่างเข้มงวด รวมทั้ง สปสช.ต้องเสนอรายละเอียดทางการเงินและบัญชีให้ครบต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) และรัฐสภาพิจารณาทุกปีด้วย ถือเป็นการบริหารกองทุนของรัฐบาลที่มีระบบตรวจสอบที่เข้มงวดมากกว่ามาตรฐานโดยทั่วไปของหน่วยงานรัฐบาลอื่นๆ ทำให้ทุกปีผลการประเมินประสิทธิภาพและความโปร่งใสของ สปสช.อยู่ในระดับยอดเยี่ยม

23 พฤศจิกายน 2553

Next post > "จุรินทร์” รณรงค์ใช้ถุงยางอนามัย ลดการติดเชื้อเอดส์รายใหม่ ตั้งเป้าปีหน้าลดเหลือไม่เกิน 5-6 พันราย

< Previous post แก้กม.กระจกตาศพชันสูตร

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด