logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

“จุรินทร์” ชี้ทางแก้ปัญหาทำแท้ง ยังไม่จำเป็นต้องแก้กฎหมายทำแท้ง

http://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=34959

บ่ายวันนี้ (20 พฤศจิกายน 2553) ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับความคืบหน้าของปัญหาการทำแท้ง ว่า ขณะนี้มีคำถามว่าเราควรแก้ไขกฎหมายทำแท้งหรือไม่ ซึ่งท่านนายกรัฐมนตรีก็ได้พูดไปแล้ว และความเห็นของกระทรวงสาธารณสุขก็ไม่ได้แตกต่างกัน คือยังไม่มีความต้องการที่จะไปแก้กฎหมาย ความจริงถ้าจะแก้กฎหมายคงต้องไปแก้กฎหมายอาญา ซึ่งกฎหมายอาญาเปิดโอกาสให้ทำแท้งได้อยู่แล้วใน 2 กรณีคือ ถ้าปล่อยให้อายุครรภ์มากขึ้นจะเป็นอันตรายต่อแม่ที่ตั้งครรภ์ และกรณีถูกข่มขืน

อย่างไรก็ตาม สภาพกฎหมายปัจจุบัน ก็เอื้ออำนวยเปิดโอกาสให้ทำแท้งได้ ในกรณีที่จำเป็นและเหมาะสมกับสภาพการณ์อยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อบังคับของแพทยสภาที่ระบุเรื่องการทำแท้งไว้ชัดเจน ได้แก่ 1.การทำแท้งหญิงนั้นต้องยินยอม 2.ผู้ที่ทำแท้งต้องเป็นแพทย์เท่านั้น 3.จะต้องทำในสถานพยาบาลเท่านั้น ถ้าเป็นสถานพยาบาลของรัฐก็สามารถทำแท้งได้ตามดุลยพินิจของแพทย์และตามเงื่อนไขของกฎหมาย แต่ถ้าเป็นสถานพยาบาลเอกชนอายุครรภ์ต้องไม่เกิน 3 เดือน    และ4.เมื่อมีการทำแท้งแล้ว แพทย์ผู้ทำ ต้องรายงานให้แพทยสภาทราบตามแบบรายงานผลที่กำหนดไว้


นายจุรินทร์กล่าวต่อว่า ประการสำคัญที่สุดคือ เงื่อนไขการทำแท้ง โดยนำกฎหมายอาญามาแปลงเป็นข้อบังคับของแพทยสภามี 3 กรณี ต้องเข้าเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่งตามนี้ คือ 1.ถ้าปล่อยให้อายุครรภ์มากจะเป็นปัญหาต่อสุขภาพกายของแม่ แม่อาจเสียชีวิต 2.จะมีปัญหาสุขภาพจิตของแม่ที่ตั้งครรภ์ เช่นกรณีเกิดความเครียดรุนแรง เป็นห่วงว่าเด็กที่คลอดออกมาจะเสี่ยงต่อความพิการอย่างรุนแรง หรือเสี่ยงต่อโรคทางพันธุกรรม เช่นกรณีตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าเด็กไม่มีศีรษะ หรือมีศีรษะแต่ไม่มีเนื้อสมอง หรือมีอวัยวะไม่ครบเป็นต้น เมื่อแม่ทราบแล้วจะเครียดมีผลต่อสุขภาพจิตก็สามารถทำแท้งได้ แต่มีเงื่อนไขเพิ่มเติมคือ นอกจากจะมีแพทย์ผู้ทำแท้งแล้ว ต้องมีแพทย์อีกอย่างน้อย 1 คนที่ต้องให้คำรับรองร่วมกัน เพื่อไม่ให้เป็นการใช้ดุลยพินิจเพียงลำพังของแพทย์ผู้ทำแท้ง และ3.กรณีถูกข่มขืน


นายจุรินทร์กล่าวต่อไปว่า ได้สั่งการไปแล้วว่า ให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัดดำเนินการกวดขันเฝ้าระวัง โดยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปติดตามเฝ้าระวังในทุกจังหวัดทั่วประเทศ ไม่เฉพาะในพื้นที่กทม. เพราะการทำแท้งนอกจากหลักเกณฑ์ที่กำหนดเป็นการทำแท้งผิดกฎหมาย เป็นหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขต้องเข้าไปดำเนินการ


ทางออกที่ดีที่สุดของปัญหานี้ก็คือ ทุกหน่วยงานต้องร่วมมือกันและมาตรการที่ดีที่สุดคือมาตรการป้องกัน เพราะการทำแท้งเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ที่ดีที่สุดคือการให้ความรู้เรื่องเพศศึกษา การวางแผนครอบครัว โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงาน


“การมีความรักสามารถทำได้ แต่ต้องรู้จักการปฏิเสธ ต้องเข้าใจว่าความรักไม่จำเป็นต้องจบลงด้วยการมีเพศสัมพันธ์เสมอไป เพื่อป้องกันการท้องไม่พึงประสงค์ นำไปสู่การทำแท้ง และเป็นปัญหาสังคม รวมทั้งในวันลอยกระทงนี้ ขอให้วัยรุ่นกล้าที่จะปฏิเสธ   เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง” นายจุรินทร์กล่าว

22 พฤศจิกายน 2553

Next post > “จุรินทร์” เผยคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ 4 ยุทธศาสตร์ควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

< Previous post โพลชี้ประชาชนให้คะแนนบัตรทองเกือบเต็ม 10!!

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด