logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
โพลชี้ประชาชนให้คะแนนบัตรทองเกือบเต็ม 10!!

Link: http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9530000163414

วันนี้ (18 พ.ย.) ที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบค) วิทยาเขตหัวหมาก กทม.สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ร่วมกับศูนย์วิจัยความสุขชุมชน ม.อัสสัมชัญ ร่วมกันแถลงข่าวเรื่อง “ประเมินผล 8 ปีการประกันสุขภาพถ้วนหน้า สังคมไทยได้อะไร

นายเทวินทร์ อินทรจำนงค์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขชุมชน ม.อัชสัมชัญ กล่าวว่า จากผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน และผู้ให้บริการต่อโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (พ.ศ.2553) กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนและบุคลากรผู้ให้บริการในหน่วยงานบริการที่เข้าร่วมโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจาก 13 จังหวัดทั่วประเทศ โดยสำรวจประชาชนอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปที่มีบัตรหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ระหว่างวันที่ 25 ก.ย.-2 ต.ค.2553 จำนวน 2,425 ตัวอย่าง และกลุ่มผู้ประกอบไปด้วย แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล แลหัวหน้าสถานีอนามัย และผู้อำนวยการศูนย์บริการสาธารณสุขหรือตัวแทน ระหว่างวันที่ 16 ส.ค.-28 ก.ย.2553 จำนวน 1,440 ตัวอย่าง พบว่า ในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนทั่วไปที่อยู่ในสิทธิบัตรทอง นั้นมีความพึงพอใจในโครงการ โดยให้คะแนนสูงถึง 8.47 ขณะที่ผู้ที่เคยใช้บริการโดยสิทธิบัตรทองพึงพอใจสูงถึง 8.77 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน และเมื่อสำรวจความพึงพอใจต่อผลการรักษาและการบริการของบุคลากรในสิทธิบัตรทองพบว่าร้อยละ 26 .9 มีความพึงพอใจต่อผลการรักษา และร้อยละ 26.1 พอใจในบริการของบุคลากร

ผช.ผอ.ศูนย์วิจัย กล่าวว่า สำหรับผลการสำรวจในกลุ่มผู้ให้บริการนั้น พบว่า มีความพึงพอใจในโครงการหลักประกันสุขภาพฯ ในด้านผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นต่อประชาชนสูงขึ้น โดยให้คะแนนเฉลี่ยในภาพรวมอยู่ที่ 7.64 คะแนนจาก คะแนนเต็ม 10 ขณะที่คะแนนเฉลี่ยในความพึงพอใจของการปฏิบัติหน้าที่พบให้คะแนนเฉลี่ย 7.96 คะแนน ขณะที่คะแนนความสุขในการบริการเฉลี่ยที่ 7.10 คะแนน ส่วนขวัญและกำลังใจในการทำงานตามโครงการนั้นเฉลี่ยที่ 6.65 ทั้งนี้ พบว่า ปัจจัยที่ทำให้แพทย์มีความสุขมากที่สุด คือ การมีเพื่อนร่วมงานที่ดี รองลงมาเป็นเรื่องของมาตรฐานหน่วยงาน ที่เน้นการให้บริการที่ดีแก่ประชาชน และการบริหารงานที่โปร่งใส

“นอกจากนี้ ยังพบว่า แพทย์ส่วนมากเห็นว่าการบริการที่มีคุณภาพตามโครงการหลักประกันสุขภาพฯนั้นส่วนมากเห็นว่า การให้วัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็ก ถือว่ามีคุณภาพมากที่สุด รองลงมาเป็นการปกปิดความลับของผู้ป่วย และการดูแลสุขภาพมารดาตามลำดับ” ผช.ผอ.ศูนย์วิจัย กล่าว

นายเทวินทร์ กล่าวว่า สำหรับความรู้เกี่ยวกับหลักการการใช้บริการบัตรทอง ในด้านการใช้สิทธิเปลี่ยนสถานพยาบาลนั้น พบว่า ร้อยละ 21.7 รับรู้ว่าสามารถเปลี่ยนแปลงสถานพยาบาลประจำครอบครัวได้ปีละ 2 ครั้ง ทั้งนี้ ในส่วนของข้อเสนอแนะนั้นพบว่าประชาชนส่วนมากต้องการให้มีการปรับปรุงเรื่องของเวลาในการบริการให้รวดเร็วขึ้น เพราะปัจจุบันต้องรอรับบริการนานเกินไป ขณะที่ข้อคิดเห็นของแพทย์และบุคลากรด้านสาธารณสุข เห็นว่า สปสช.ควรเร่งปรับปรุงเรื่องของการเพิ่มบุคลากรสำหรับบริการสารธารณสุขให้เหมาะสมกับงบประมาณและเพียงพอต่อจำนวนผู้ป่วย โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการเงินในหน่วยบริการแต่ละพื้นที่

ด้านนพ.ปรีดา แต้อารักษ์ โฆษก สปสช.กล่าวว่า สำหรับความพึงพอใจทั้งในส่วนของประชาชนผู้รับบริการและผู้ให้บริการในครั้งนี้ ถือว่ามีความพึงพอใจในระดับที่สูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา แต่ในส่วนของข้อเสนอแนะจากทั้ง 2 กลุ่มนั้น คาดว่า ในปี 2554 ทาง สปสช.จะมีการปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยมียุทธศาสตร์ที่เตรียมพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพฯ ใน 6 ประเด็น คือ 1.เพิ่มช่องทางและขยายการรับรู้ในสิทธิของประชาชนมากขึ้น 2.เพิ่มการเข้าถึงบริการรักษาสุขภาพตามสิทธิดังกล่าวให้มีมาตรฐานมากขึ้น 3.ลดจำนวนหน่วยบริการที่ประสบปัญหาทางการเงินโดยร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุขในด้านการจัดสรรงบประมาณ 4.เพิ่มความครอบคลุมการจัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นให้ได้มากกว่าร้อยละ 90 ซึ่งปีนี้ทำได้แล้วกว่าร้อยละ 80 และเพิ่มศักยภาพของบุคลากรในพื้นที่ด้วย 5.กระจายงบประมาณให้ สปสช.เขตทั้ง 13 แห่งทั่วประเทศบริหารจัดการ เพื่อจะได้อนุมัติงบประมาณในด้านบริการสุขภาพแก่ประชาชนเร็วขึ้น และ 6.มีข้อมูลการใช้ยาของหน่วยงานบริการในระบบฐานข้อมูล เพื่อสะดวกในการใช้ประโยชน์แก่บุคลากรที่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลด้านยา ประกอบการวินิจฉัยโรคขั้นต่อไป

19 พฤศจิกายน 2553

Next post > “สธ.” เผยองค์การอนามัยโลก การันตีวัคซีนป้องกันโรคหัดผลิตโดยองค์การเภสัชกรรมของไทย มีคุณภาพมาตรฐานสากล เป็นประเทศแรก

< Previous post ปัญหาบ้านเมืองกระทบต้นทุนชีวิตเด็กสร้างเด็กพันธุ์ใหม่ก้าวร้าวรุนแรง

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด