logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

สธ.เผยมีผู้บาดเจ็บจาก “เล่นพลุ”ฉลองวันลอยกระทงปี 52 คืนเดียว 32 ราย กว่าครึ่งเมาเหล้า

http://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=34919

         ดร.พรรณสิริ กุลนาถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ขณะนี้ใกล้ถึงเทศกาลลอยกระทง สิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งก็คือการบาดเจ็บจากการนำพลุหรือดอกไม้ไฟมาจุดเล่น มีรายงานเกิดขึ้นทุกปี ในเทศกาลลอยกระทงในปี 2552 สำนักระบาดวิทยา ได้รวบรวมรายงานจากโรงพยาบาลขนาดใหญ่ 28 แห่ง ซึ่งเป็นเครือข่ายเฝ้าระวังการบาดเจ็บระดับชาติ กระจายทุกภูมิภาค พบในคืนลอยกระทงซึ่งตรงกับวันที่ 2 พฤศจิกายน เพียงคืนเดียว มีผู้ได้รับบาดเจ็บรุนแรงจากถูกเปลวไฟหรือถูกสะเก็ดพลุระเบิด ดอกไม้ไฟ เข้ารักษาที่ห้องฉุกเฉิน 32 ราย คิดเป็นร้อยละ 40 ของจำนวนผู้บาดเจ็บตลอดเดือนพฤศจิกายน ไม่มีผู้เสียชีวิต ในจำนวนนี้ร้อยละ 58 เมาสุราด้วย โดยผู้บาดเจ็บร้อยละ 45 เป็นนักเรียนนักศึกษา รองลงมาผู้ใช้แรงงาน เวลาเกิดเหตุสูงสุดคือช่วงเวลา 16.00 น.ถึง 22.00 น.

        ดร.พรรณสิริกล่าวต่อว่า โรงพยาบาลเครือข่ายเฝ้าระวังการบาดเจ็บที่มีรายงานสูงที่สุดคือ โรงพยาบาลลำปาง พบร้อยละ 42 รองลงมาคือโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จ.เชียงราย ร้อยละ 39 ขณะที่วันลอยกระทงในปี 2551 มีผู้บาดเจ็บรุนแรงจากการเล่นพลุ 37 ราย ในจำนวนนี้เมาเหล้าด้วยร้อยละ 24 ไม่มีผู้เสียชีวิต เมื่อเปรียบเทียบการบาดเจ็บจากเหตุเล่นพลุ ดอกไม้ไฟในเทศกาลต่างๆ แล้ว พบว่าวันลอยกระทง มีการบาดเจ็บสูงที่สุด รองลงมาคือวันส่งท้ายปีเก่า วันออกพรรษา และวันขึ้นปีใหม่ เป็นที่น่าสังเกตว่าการบาดเจ็บจากการเล่นพลุในวันลอยกระทงจะสูงกว่าค่าเฉลี่ยในแต่ละวันในปี 2551 -2552 ถึง 24-30 เท่าตัว จากข้อมูลการเสียชีวิตของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า ในปี 2552เฉพาะในวันลอยกระทงวันเดียวมีคนจมน้ำเสียชีวิตสูงถึง 20 คน ซึ่งเป็นเด็กประมาณ 1 ใน 3

          ทั้งนี้ อวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บมากที่สุด อันดับ 1 ได้แก่ มือและข้อมือ เช่นนิ้วแตก มือฉีก จากแรงอัดของพลุ ร้อยละ 45 รองลงมาคือศีรษะแตก เป็นแผลที่ใบหน้า ร้อยละ 22 ซึ่งมักจะถูกที่ดวงตา ทำให้เป็นแผลที่เยื่อบุตาและที่ตาดำ นอกจากนี้ยังพบแผลไหม้จากเปลวความร้อนตามร่างกายร้อยละ 13 ด้วย

          ดร.พรรณสิริกล่าวต่อไปว่า ในการป้องกันการบาดเจ็บจากการเล่นพลุ ดอกไม้ไฟ หากเป็นไปได้ ควรงดเล่นจะปลอดภัยที่สุด และควรกวดขันการเล่นเป็นพิเศษ หากจะเล่นจะต้องเล่นด้วยความระมัดระวังตามข้อแนะนำอย่างเคร่งครัด ควรเล่นในที่โล่ง ราบ ห่างไกลจากบ้านเรือน ใบไม้แห้งและห่างจากวัตถุไวไฟต่างๆ ห้ามพยายามจุดพลุหรือดอกไม้ไฟที่จุดแล้วไม่ติด หรือไม่ระเบิดอย่างเด็ดขาด ก่อนจุดควรเตรียมถังใส่น้ำไว้ 1 ถังใกล้ตัวเสมอเวลาเล่น เพื่อใช้ดับเพลิงหรือแช่พลุ ดอกไม้ไฟที่จุดแล้วไม่ระเบิด เพื่อป้องกันการระเบิด   


       ประการสำคัญอย่าทดลองหรือทำดอกไม้ไฟ พลุเอง และไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด ซึ่งจะทำให้ขาดสติและขาดความระมัดระวัง โดยเฉพาะเด็กๆ ไม่ควรให้จุดพลุ ดอกไม้ไฟเองอย่างเด็ดขาด และไม่ควรให้เด็กอยู่ใกล้บริเวณที่จุดพลุ ดอกไม้ไฟ และไม่ปล่อยให้เด็กอยู่ใกล้แหล่งน้ำตามลำพังหรือยืนใกล้บริเวณขอบบ่อ/สระ เพราะอาจพลัดตกลงน้ำได้ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำหนดพื้นที่ที่ชัดเจนสำหรับการลอยกระทงและควรมีผู้ดูแลพร้อมทั้งเตรียมอุปกรณ์ช่วยเหลือที่หาได้ง่ายไว้ในบริเวณดังกล่าว


19 พฤศจิกายน 2553

Next post > “สธ.” เผยองค์การอนามัยโลก การันตีวัคซีนป้องกันโรคหัดผลิตโดยองค์การเภสัชกรรมของไทย มีคุณภาพมาตรฐานสากล เป็นประเทศแรก

< Previous post ปัญหาบ้านเมืองกระทบต้นทุนชีวิตเด็กสร้างเด็กพันธุ์ใหม่ก้าวร้าวรุนแรง

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด