logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

“จุรินทร์” เผย ปี 53 ศูนย์พึ่งได้ของสธ. ได้ช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ถูกกระทำรุนแรง 25,744 ราย เฉลี่ยวันละ 71 ราย

http://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=34920

วันนี้ (19 พฤศจิกายน 2553) ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวการดำเนินงานช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ถูกกระทำรุนแรงของศูนย์พึ่งได้ กระทรวงสาธารณสุข ว่า สถานการณ์การกระทำความรุนแรงต่อเด็กและสตรี มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นชัดเจน โดยปี 2549 ศูนย์พึ่งได้ ได้ให้การช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ถูกกระทำรุนแรง 15,882 รายเฉลี่ยวันละ 43 ในปี 2553 มี 25,744 รายเฉลี่ยวันละ 71 ราย โดยกระทรวงสาธารณสุขได้จัดตั้งศูนย์พึ่งได้ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตามมติของคณะรัฐมนตรี ปี 2542 เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2549 เพื่อช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ถูกกระทำรุนแรง ทั้งการถูกทารุณกรรม ข่มขืน เป็นต้น

นายจุรินทร์กล่าวต่อว่าตามมติของคณะรัฐมนตรีดังกล่าวได้กำหนดนโยบาย 3 ประเด็นคือ 1.ให้ รพ.ของรัฐทุกแห่งจัดตั้งศูนย์พึ่งได้ ขณะนี้ จัดตั้งศูนย์พึ่งได้ในโรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลทั่วไปทุกแห่งแล้ว ส่วนในโรงพยาบาลชุมชนจัดตั้งแล้ว 653 ศูนย์ ยังขาดอีก 84 ศูนย์ และจะขยายไปยัง รพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ต่อไป 2.กำหนดให้เดือนพฤศจิกายนของทุกปี เป็นเดือนแห่งการรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี และ3.ให้จัดกิจกรรมวันที่ 25 พฤศจิกายน ซึ่งเป็นวันรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรีสากล 

นายจุรินทร์กล่าวต่อไปว่า ศูนย์พึ่งได้มีภารกิจ 3 ประการ ได้แก่ 1.ให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข แก่เด็กสตรีที่ถูกข่มขืน หรือถูกทำร้ายร่างกาย 2.การประสานงานทางด้านกฎหมาย เช่น ดำเนินการแจ้งความดำเนินคดี หรือขอความช่วยเหลือจากอัยการ สภาทนายความ หน่วยงานด้านกฎหมายในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเข้าไปช่วยเหลือ และ3.ช่วยเหลือด้านสวัสดิการสังคม เช่น กรณี เด็กสตรีที่กลับไปพักที่บ้านจะเกิดอันตรายหรือเสี่ยงที่จะถูกกระทำรุนแรงต่อไป ก็จะประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เข้าไปดูแล ให้อยู่ในสถานที่ปลอดภัย


ผลการดำเนินงานภาพรวม ในปี 2553 ให้บริการเด็กและสตรี 25,744 ราย ในจำนวนนี้เป็นเด็กร้อยละ 51 สตรีร้อยละ 48 ในเด็กส่วนใหญ่เป็นเด็กหญิงร้อยละ 88 มากที่สุดอยู่ในวัย 10-15 ปีสูงถึงร้อยละ 47 ของเด็กทั้งหมดที่มารับบริการ โดยพบเด็ก 10-15 ปี ถูกกระทำรุนแรงทางเพศมากที่สุดร้อยละ68 รองลงมาเป็นการทำร้ายร่างกายร้อยละ 21   ผู้ที่กระทำกับเด็กมากที่สุดคือแฟนและเพื่อน สาเหตุส่วนใหญ่มาจากสภาพแวดล้อม ได้แก่ สื่อลามก ความใกล้ชิดและโอกาสเอื้ออำนวยเป็นต้น โดยสถานที่เกิดเหตุเป็นบ้านของผู้กระทำและบ้านที่เด็กอยู่อาศัย สำหรับสตรีที่ถูกกระทำรุนแรงร้อยละ 74 อยู่ในช่วง 25-45ปี ถูกกระทำรุนแรงจากคู่สมรสมากที่สุดร้อยละ 46 สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการนอกใจ หึงหวง ทะเลาะวิวาท โดยเป็นการทำร้ายร่างกายร้อยละ 75 รองลงมาคือถูกกระทำทางเพศร้อยละ 15

นายจุรินทร์กล่าวต่อไปว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดมาตรการที่จะดำเนินการต่อไป คือ 1.เพิ่มความเข้มข้นการป้องกัน เฝ้าระวังในกลุ่มเสี่ยงให้มากขึ้น เช่น กลุ่มเด็กหญิงที่มีไอคิวต่ำ ผู้พิการ ครอบครัวผู้ที่ติดยาเสพติด สุรา พ่อแม่เป็นโรคจิต แตกแยก จะมีการป้องกันเฝ้าระวังในความดูแลของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและศูนย์พึ่งได้ และจะขยายบริการให้ครอบคลุมครบทุกโรงพยาบาลในชุมชนภายในปี 54 นี้ และขยายบริการไปยังรพ.สต. 2.พัฒนาศักยภาพและมาตรฐานการบริการให้ความช่วยเหลือเด็กและสตรี ซึ่งปีนี้เป็นครั้งแรกที่จะกำหนดมาตรฐานการให้บริการของศูนย์พึ่งได้ เป็นมาตรฐานระดับสูง และใช้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ และ 3.จะมุ่งเน้นการฟื้นฟู และเยียวยาเด็กและสตรีที่ถูกกระทำรุนแรง รวมถึงผู้ที่ได้รับผลกระทบและครอบครัวด้วย

 

19 พฤศจิกายน 2553

Next post > “สธ.” เผยองค์การอนามัยโลก การันตีวัคซีนป้องกันโรคหัดผลิตโดยองค์การเภสัชกรรมของไทย มีคุณภาพมาตรฐานสากล เป็นประเทศแรก

< Previous post ปัญหาบ้านเมืองกระทบต้นทุนชีวิตเด็กสร้างเด็กพันธุ์ใหม่ก้าวร้าวรุนแรง

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด