logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
ปัญหาบ้านเมืองกระทบต้นทุนชีวิตเด็กสร้างเด็กพันธุ์ใหม่ก้าวร้าวรุนแรง

ปัญหาบ้านเมืองกระทบต้นทุนชีวิตเด็กสร้างเด็กพันธุ์ใหม่ก้าวร้าวรุนแรง

http://www.momypedia.com/activity/news_event/headline_news.aspx?nws=467

หมอเด็กเตือน ปัญหาการเมืองที่กำลังคุกรุ่นรุนแรนอาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนชีวิตเด็กไทย

สำนักข่าว สสส. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ ได้สัมภาษณ์ นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผอ.สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
ถึงสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ที่อาจกระทบต้นทุนชีวิตเด็กไทย

น.พ.สุริยเดว ชี้ว่าระยะเวลาแค่ 3-6 เดือน อาจทำให้เด็กเปลี่ยนพฤติกรรม สร้างเด็กสายพันธุ์ใหม่ ก้าวร้าว รุนแรง ไม่ใช้เหตุผลแก้ปัญหา เห็นกฎหมู่เป็นเรื่องถูก ไม่เคารพกฎกติกาสังคม แนะผู้ปกครองต้องดูแลใกล้ชิด

นพ.สุริยเดว กล่าวถึงผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมืองต่อเด็กและเยาวชนว่า ที่ผ่านมามีการควบคุมสื่อที่มีความรุนแรงเพื่อไม่ให้เด็กได้รับผลกระทบ แต่ข่าวสารปัจจุบันรวมทั้งสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงที่เด็กและเยาวชนได้พบเห็นจากประสบการณ์ตรง ถือเป็นความรุนแรงที่จะกระทบต่อจิตใจและพฤติกรรมของเด็กโดยตรง ซึ่งยิ่งกว่าความรุนแรงที่ได้รับจากสื่อทั่วไป

“การใช้วาจาที่ก้าวร้าว เร้าอารมณ์ ท้าทาย แสดงท่าทางขาดสติ หรือการไม่เคารพกฎหมาย ใช้ความรุนแรงต่อกัน กระทบต่อต้นทุนชีวิตของเด็กหลายด้าน โดยเฉพาะเด็กที่มีต้นทุนชีวิตต่ำ มีปัญหาเรื่องความเชื่อมั่นในตนเองจะได้รับผลกระทบอย่างมาก ซึ่งเกิดขึ้นได้ในเด็กทุกวัยตั้งแต่เด็กเล็กถึงเด็กโต ขึ้นอยู่กับเด็กได้รับรู้และซึมซับสิ่งที่เกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด อาจจะใช้เวลาเพียง 3-6 เดือนเท่านั้นที่พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับต้นทุนชีวิตว่าเข้มแข็งเพียงใด” นพ.สุริยเดว กล่าว

นพ.สุริยเดว กล่าวต่อว่า ผลที่จะเกิดขึ้นจะทำให้เด็กและเยาวชนเกิดพฤติกรรมดังนี้


1.ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา


2.ไม่เคารพกฎกติกาของบ้านเมือง สังคม เกิดความหวาดผวาสังคม ไม่ไว้วางใจกัน มองโลกในแง่ร้าย คิดจับผิดเพียงอย่างเดียว


3.ยอมรับความรุนแรงว่าเป็นเรื่องปกติ คิดว่ากฎหมู่สามารถอยู่เหนือกฎหมายได้ หากมีพวกมากกว่าก็สามารถเอาชนะหรือทำสิ่งที่ต้องการได้


4.ขาดความเมตตาต่อเพื่อมนุษย์ ขาดความมีจิตอาสา ซึ่งจะทำให้เด็กไม่สามารถให้อภัยได้

“ขณะ นี้เด็กกำลังขาดแบบอย่างที่ดีของสังคม เพราะเห็นแต่ภาพความขัดแย้ง การใช้อารมณ์ในการแก้ปัญหา ทั้งในและนอกจอ ซึ่งหากเด็กขาดต้นทุนที่ดี และเห็นแต่การแสดงออกที่ไม่เหมาะสมจะทำให้สังคมเกิดเด็กสายพันธุ์ใหม่ มีปัญหาเรื่องการควบคุมอารมณ์ การใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา เมื่อให้ความสำคัญว่าสื่อรุนแรงมีผลต่อเด็ก การรับข่าวและสถานการณ์การเมืองก็ทำให้เกิดความรุนแรงได้เช่นเดียวกัน ซึ่งผู้ปกครองจำเป็นต้องดูแลอย่างใกล้ชิด” นพ.สุริยเดว กล่าว

ดังนั้นในสถานการณ์เช่นนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลเด็กๆ อย่างใกล้ชิด และอธิบายให้หนูๆ เข้าใจว่าประชาธิปไตยที่แท้จริงนั้นคือ การยอมรับความแตกต่างทางความคิด พูดคุยกันด้วยเหตุผล และข้อเท็จจริง ไม่ใช้ความรุนแรง แต่หากตัวคุณพ่อคุณแม่เองเครียดกับสถานการณ์การเมืองมากก็ควรหาทางผ่อนคลายบ้าง ก่อนที่จะแสดงอาการอารมณ์อยู่เหนือเหตุผลให้เด็กๆ เห็นเป็นแบบอย่าง

 

18 พฤศจิกายน 2553

Next post > “จุรินทร์” เผย ปี 53 ศูนย์พึ่งได้ของสธ. ได้ช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ถูกกระทำรุนแรง 25,744 ราย เฉลี่ยวันละ 71 ราย

< Previous post “เด็กอาชีวะ“พี้กัญชา 23.6% นักเรียนชายม.2 ใช้กระท่อม สำนักระบาดวิทยาเผยผลสำรวจ

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด