logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
กรมควบคุมโรคเตือนนักเดินป่า-เกษตรกรระวัง ไรอ่อน นำโรคสครับไทฟัส

กรมควบคุมโรคเตือนนักเดินป่า-เกษตรกรระวัง ไรอ่อน นำโรคสครับไทฟัส

http://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=34897

 

          ทั้งนี้ นพ.ภาสกร อัครเสวี ผู้อำนวยการสำนักระบาดวิทยา เปิดเผยว่า เมื่อปี 2552 สำนักระบาดวิทยาเก็บข้อมูลผู้ป่วยโรค สครับไทฟัส พบว่ามีจำนวน 5,362 ราย เสียชีวิต7 ราย โดยกลุ่มที่มีอัตราการป่วยสูงสุดเป็นผู้ที่มีอาชีพเกษตรกรรม อายุ 35-60 ปี รองลงมาเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่นิยมเดินป่า นักศึกษา อายุ 25-34 ปี สำหรับสาเหตุของการเสียชีวิตพบว่า 1-2 ราย จากจำนวนผู้เสียชีวิตระหว่าง 7-9 ราย พบมีประวัติการดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก จึงทำให้สภาพร่างกายอ่อนแอ ภูมิต้านทานต่ำ โดยส่วนมากผู้ที่มีอาชีพเกษตรกรรม และมีวิถีชีวิตใกล้ชิดกับป่าที่ต้องเก็บเกี่ยวผลผลิตกลางป่า กลางไร่ เช่น ชาวไร่จะมีความเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคนี้ และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงกว่านักเดินป่า หรือผู้ค้างแรมชั่วคราว เนื่องจากคลุกคลีกับพาหะของโรคอย่างไรอ่อนบ่อยและนานกว่าคนทั่วไป และว่า ล่าสุด สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค ได้จัดทำชุดความรู้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) เผยแพร่สู่ประชาชนแล้ว

          ด้าน นพ.วิชัย สติมัย ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กล่าวว่า ในป่าทึบจะมีตัวไรอ่อนอันเป็นพาหะของโรคอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆ และกินน้ำเหลืองของสัตว์เลือดอุ่น เช่น นก หนู สัตว์เลื้อยคลาน รวมทั้งคน ส่วนผู้ป่วยมักจะไม่รู้ตัวในทันทีว่าป่วยเป็นโรคนี้ แต่จะแสดงอาการหลังจากถูกกัดไปแล้วประมาณ 5-7 วัน ซึ่งมีอาการเริ่มต้นคือ มีไข้สูง ปวดหัว และเบื่ออาหารเมื่อเชื้อลามเข้าสู่ร่างกายเป็นเวลานานอย่างไรก็ตาม การรักษาอาการของโรคสามารถทำได้โดยการกินยาปฏิชีวนะตามคำสั่งแพทย์ แต่ปัญหาคือ ผู้ป่วยหลายคนไม่ได้บอกข้อมูลกับแพทย์ว่าเคยเดินป่าหรือค้างแรมในป่ามาก่อนที่จะมีอาการไข้ จึงทำให้แพทย์มักวินิจฉัยโรคไม่ถูกต้อง

          นพ.วิชัยกล่าวถึงแนวทางการป้องกันโรคสครับไทฟัสว่า ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดป่าสามารถทำได้โดยการสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด และอาบน้ำให้สะอาดหลังออกจากป่า ส่วนนักเดินป่าให้ใช้ยากันแมลง เช่นเดียวกับยาทากันยุงหรือเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีส่วนประกอบของตะไคร้หอม หรือสารสกัดจากสะเดา ทาบริเวณหลังมือหลังเท้าก่อนเข้าป่า เมื่อออกจากป่าควรอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด

18 พฤศจิกายน 2553

Next post > “จุรินทร์” เผย ปี 53 ศูนย์พึ่งได้ของสธ. ได้ช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ถูกกระทำรุนแรง 25,744 ราย เฉลี่ยวันละ 71 ราย

< Previous post “เด็กอาชีวะ“พี้กัญชา 23.6% นักเรียนชายม.2 ใช้กระท่อม สำนักระบาดวิทยาเผยผลสำรวจ

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด