logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

“เด็กอาชีวะ” พี้กัญชา 23.6% นักเรียนชายม.2 ใช้กระท่อม สำนักระบาดวิทยาเผยผลสำรวจ

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1289892768&grpid=&catid=19&subcatid=1904

        แหล่งข่าวจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ระบุว่า จากการที่ สำนักระบาดวิทยา ได้ดำเนินการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพในนักเรียนทางคอมพิวเตอร์ในปี 2552 จำนวน 51,110 คน ในกลุ่มนักเรียนอาชีวศึกษาปีที่ 2 นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 และนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 จากโรงเรียนใน 24 จังหวัดทั่วประเทศ

โดยสอบถามพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับโรคไม่ติดต่อ 5 พฤติกรรม ได้แก่

– พฤติกรรมการใช้สารเสพติด

– พฤติกรรมการใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

– การป้องกันอุบัติเหตุจากการใช้ยานพาหนะ

– พฤติกรรมการรับประทานอาหารและควบคุมน้ำหนัก

– การแสดงความรุนแรงและกิจกรรมทางกาย

พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่อาศัยอยู่กับบิดามารดา ในภาพรวมพฤติกรรมสุขภาพสัมพันธ์กับโรคไม่ติดต่อที่พบมากที่สุด คือ – การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ร้อยละ 49.9

– รองลงมาเป็นการกินผักและผลไม้น้อยกว่า 5 ส่วนต่อวันร้อยละ 39.4

– กิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ ร้อยละ 26.6

– การแสดงความรุนแรงร้อยละ 17.8 

– นักเรียนดื่มก่อนขี่รถจักรยานยนต์อีกร้อยละ 14

ผลสำรวจ เมื่อจำแนกรายพฤติกรรม พบว่า ประสบการณ์ใช้สารเสพติด

นักเรียนอาชีวศึกษาปีที่ 2 ชาย ใช้กัญชามากที่สุดร้อยละ 23.6 ใช้ยาบ้าร้อยละ 12.9 เช่นเดียวกับ นักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5 ชาย ใช้กัญชาร้อยละ 13.7 ยาบ้าร้อยละ 5.8 ขณะที่ นักเรียน ม.2 ชาย ใช้กระท่อมมากที่สุด ร้อยละ 5.4

ส่วนการสูบบุหรี่ นักเรียนอาชีวศึกษาปีที่ 2 ชาย สูบทุกวันมากที่สุดร้อยละ 57.2 นักเรียน ม.5 ชายร้อยละ 41.4 และนักเรียนอาชีวศึกษาปีที่ 2 หญิงร้อยละ 23.2 ที่น่าสนใจ คือ กลุ่มที่สูบบุหรี่บางวัน เป็นนักเรียน ม.2 หญิงมากที่สุดถึง 78.8 รองลงมาเป็นนักเรียน ม.5 หญิงร้อยละ 61.8 และนักเรียน ม.2 ชายร้อยละ 59.4 โดยส่วนใหญ่ได้บุหรี่จากร้านขายของชำ ขอจากเพื่อนและร้านสะดวกซื้อ

การป้องกันอุบัติเหตุจากการใช้ยานพาหนะ มีการดื่มแอลกอฮอล์ ก่อนขี่รถจักรยานยนต์ นักเรียนอาชีวศึกษาปีที่ 2 ชายร้อยละ 32 นักเรียน ม.5 ชายร้อยละ 22 และนักเรียนอาชีวศึกษาปีที่ 2 หญิงร้อยละ 13 มีการดื่มแอลกอฮอล์ก่อนขับรถยนต์ นักเรียนอาชีวศึกษาปีที่ 2 ชายร้อยละ 19.1 นักเรียน ม.5 ชายร้อยละ 11.6 นักเรียนอาชีวศึกษาปีที่ 2 หญิงร้อยละ 7.5

สำหรับการแสดงความรุนแรง พบว่า ในรอบ 12 เดือนเคยพกอาวุธ นักเรียนอาชีวศึกษาปีที่ 2 ชายร้อยละ 32.9 นักเรียน ม.5 ชายร้อยละ 24 และนักเรียน ม.2 ชายร้อยละ 23.7 และนักเรียนอาชีวศึกษาปีที่ 2 หญิง ร้อยละ 11.7 โดยมากได้อาวุธจากการซื้อ ดัดแปลงและเพื่อนหรือคนรู้จักให้มา

ส่วนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและควบคุมน้ำหนัก เคยพยายามลดน้ำหนัก นักเรียน ม.5 หญิงร้อยละ 42.1 นักเรียนอาชีวศึกษาปีที่ 2 หญิงร้อยละ 39.8 และนักเรียน ม.2 หญิงร้อยละ 34.9 วิธีการลดหรือควบคุมน้ำหนักมากที่สุด คือการลดมื้ออาหาร นักเรียนอาชีวศึกษาปีที่ 2 หญิงร้อยละ 47.8 นักเรียน ม.5 หญิงร้อยละ 42.4 และ นักเรียน ม.5 ชายร้อยละ 38

การกินผักและผลไม้สด นักเรียนอาชีวศึกษาปีที่ 2 ชาย กินมากกว่า 7.5 ส่วนต่อวันร้อยละ 46.4 นักเรียน ม.5 ชายร้อยละ 43.1 นักเรียน ม.2 ชายร้อยละ 47.9 นักเรียนอาชีวศึกษาปีที่ 2 หญิง กินน้อยกว่า 5 ส่วนต่อวันร้อยละ 41.5 นักเรียน ม.5 หญิงร้อยละ 46.7 และนักเรียน ม.2 หญิงร้อยละ 44

สรุปว่านักเรียนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับโรคไม่ติดต่อ หากไม่เร่งดำเนินการแก้ไขหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก็จะก่ออันตรายต่อร่างกายได้

17 พฤศจิกายน 2553

Next post > “จุรินทร์”มอบกรมสนับสนุนบริการสุขภาพร่วมกับตำรวจ ดำเนินคดีกับคลินิกทำแท้งเถื่อน พร้อมสั่งการสาธารณสุขทั่วประเทศ

< Previous post “จุรินทร์” เผยสถานบริการสาธารณสุขเสียหายจากภัยน้ำท่วม 449 แห่ง มูลค่า 222 ล้านบาท

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด