logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
อึ้ง! เด็กหญิง ม.2 สูบบุหรี่เกือบ 80%

Link: http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9530000161444

รายงานข่าวจากกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ระบุว่า สำนักระบาดวิทยาได้สำรวจพฤติกรรมสุขภาพในนักเรียนด้วยคอมพิวเตอร์มือถือ ปี 2552 จำนวน 51,110 คน ในกลุ่มนักเรียนอาชีวศึกษาปีที่ 2 นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 และนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 จากโรงเรียนใน 24 จังหวัดทั่วประเทศ โดยสอบถามพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับโรคไม่ติดต่อทั้งสิ้น 5 พฤติกรรม ได้แก่

  1. พฤติกรรมการใช้สารเสพติดและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  2. การป้องกันอุบัติเหตุจากการใช้ยานพาหนะ
  3. พฤติกรรมการรับประทานอาหารและควบคุมน้ำหนัก
  4. การแสดงความรุนแรงและ
  5. กิจกรรมทางกาย

ภาพรวมพบว่า พฤติกรรมสุขภาพสัมพันธ์กับโรคไม่ติดต่อมากที่สุด คือ พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 49.9 รองลงมาเป็นการกินผักและผลไม้น้อยกว่า 5 ส่วนต่อวันร้อยละ 39.4 กิจกรรมทางกายไม่เพียงพอร้อยละ 26.6 การแสดงพฤติกรรมความรุนแรง ร้อยละ 17.8 และร้อยละ 14 เป็นผู้มีพฤติกรรมนิยมดื่มก่อนขับรถจักรยานยนต์

รายงานข่าวระบุด้วยว่า จากการสำรวจดังกล่าวหากจำแนกเป็นรายพฤติกรรม พบว่า นักเรียนที่มีประสบการณ์ใช้สารเสพติดประเภทกัญชา เป็น นร.อาชีวศึกษาชั้นปีที่ 2 เพศชาย มีอยู่ร้อยละ 23.6 ส่วน นร.ชั้น ม.5 เพศชาย มีอัตราการใช้กัญชาอยู่ที่ร้อยละ 13.7 ขณะที่ นร.ชั้น ม.2 ชายพบใช้สารเสพติดประเภทกระท่อมมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 5.4 ส่วนพฤติกรรมการสูบบุหรี่ นั้นส่วนมากเป็น นร.อาชีวศึกษาชั้นปีที่ 2 เพศชาย สูบทุกวันร้อยละ 57.2 เพศหญิงสูบร้อยละ 23.2 ขณะที่ นร.ชั้น ม.5 เพศชายพบร้อยละ 41.4 ทั้งนี้ ยังมีรายงานจำนวนผู้สูบบุหรี่ที่สูบเป็นบางวันพบใน นร.ชั้นม.2 เพศหญิงมากที่สุด พบถึงร้อยละ 78.8 รองลงมาเป็น นร.ชั้นม.5 เพศหญิงร้อยละ 61.8 โดยส่วนใหญ่ได้บุหรี่จากร้านขายของชำ ขอจากเพื่อนและร้านสะดวกซื้อ การป้องกันอุบัติเหตุจากการใช้ยานพาหนะ มีการดื่มแอลกอฮอล์ก่อนขับรถจักรยานยนต์ นร.อาชีวศึกษาชั้นปีที่ 2 เพศชาย ร้อยละ 32 นร.ชั้น ม.5 เพศชายร้อยละ 22 และนร.อาชีวศึกษาชั้นปีที่ 2 เพศหญิงร้อยละ 13 ขณะที่พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ก่อนขับรถยนต์ นร.อาชีวศึกษาชั้นปีที่ 2 เพศชายร้อยละ 19.1 นร.ชั้น ม.5 เพศชาย ร้อยละ 11.6 และ นร.อาชีวศึกษาชั้น ปีที่ 2 เพศหญิงร้อยละ 7.5

สำหรับการแสดงความรุนแรง พบว่า ในรอบ 12 เดือนเคยพกอาวุธ นร.อาชีวศึกษาชั้นปีที่ 2 เพศชายร้อยละ 32.9 นร.ชั้น ม.5 เพศชายร้อยละ 24 นร.ชั้น ม. 2 ชายร้อยละ 23.7 นร.อาชีวศึกษชั้นปีที่ 2 หญิงร้อยละ 11.7 โดยมากได้อาวุธจากการซื้อ ดัดแปลงและเพื่อนหรือคนรู้จักให้มา ส่วนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและควบคุมน้ำหนัก เคยพยายามลดน้ำหนัก นร.ชั้น ม.5 หญิงร้อยละ 42.1 นร.อาชีวศึกษาชั้นปีที่ 2 หญิงร้อยละ 39.8 และ นร.ชั้นม.2 หญิงร้อยละ 34.9 วิธีการลดหรือควบคุมน้ำหนักมากที่สุด คือ การลดมื้ออาหาร

ขณะที่กิจกรรมทางกาย ไม่เพียงพอ นร.อาชีวศึกษาชั้นปีที่ 2 ชายร้อยละ 23.7 นร.อาชีวศึกษาชั้นปีที่ 2 หญิงร้อยละ นร.ชั้น ม.5 ชร้อยละ 16.3 นร.ชั้นม.5 หญิง ร้อยละ 34.6 นร.ชั้น ม.2 ชายร้อยละ 18.5 และ นร.ชั้น ม.2 หญิงร้อยละ 29.8

17 พฤศจิกายน 2553

Next post > “จุรินทร์”มอบกรมสนับสนุนบริการสุขภาพร่วมกับตำรวจ ดำเนินคดีกับคลินิกทำแท้งเถื่อน พร้อมสั่งการสาธารณสุขทั่วประเทศ

< Previous post “จุรินทร์” เผยสถานบริการสาธารณสุขเสียหายจากภัยน้ำท่วม 449 แห่ง มูลค่า 222 ล้านบาท

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด