logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

อีสานตอนบนเผยผลตรวจดินปะสิวในอาหารพื้นเมือง

http://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=34864

          ดร.พรรณสิริ กุลนาถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2553 กระทรวงสาธารณสุข ได้มอบหมายให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์   ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุข และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ต่างๆ ดำเนินการเฝ้าระวังความปลอดภัยของอาหาร ภายใต้โครงการอาหารปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยว จากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่าทั้งผู้ประกอบการร้านค้า ร้านอาหาร ผู้ผลิตหลายแห่งต่างให้ความร่วมมือในการปรับปรุงคุณภาพความปลอดภัยของอาหารให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ทั้งนี้เพื่อให้ผู้บริโภคทั้งคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัย อย่างกรณีตัวอย่างของจังหวัดในภาคอีสาน ของฝากหรืออาหารขึ้นชื่อที่หลายคนนิยมนำไปเป็นของฝาก คือ ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ประเภทกุนเชียง ไส้กรอก และแหนม ซึ่งได้มีการตรวจหาปริมาณไนเตรท ไนไตรท์ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ดินประสิว ในผลิตภัณฑ์ดังกล่าว


          จากรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 2 อุดรธานี จำนวน 33 ตัวอย่าง จากผู้ประกอบการ 19 ราย พบผลิตภัณฑ์เข้ามาตรฐานจำนวน 25 ตัวอย่าง มีเพียง 8 ตัวอย่างที่มีไนเตรท ไนไตรท์เกินมาตรฐาน   โดยพบในผลิตภัณฑ์กุนเชียง 5 ตัวอย่าง ไส้กรอก 2 ตัวอย่าง และแหนม 1 ตัวอย่าง ปริมาณที่พบไนไตรท์อยู่ในช่วง 0 – 62 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ส่วนไนเตรทพบในช่วง 148 – 7,573 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม หากบริโภคอาหารที่มีปริมาณไนเตรท ไนไตรท์สูงอาจทำให้มีอาการปวดหัว อ่อนเพลีย คลื่นไส้ และอาเจียน ถ้าได้รับจำนวนมากจะเกิดอาการปวดท้องและกล้ามเนื้อไม่มีแรง องค์การอนามัยโลกจึงได้กำหนดมาตรฐานปริมาณที่ร่างกายได้รับไนเตรทต่อวันไม่เกิน 3.7 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม และไนไตรท์ต่อวันไม่เกิน 0.07 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ดังนั้น หากมีน้ำหนักตัว 50 กิโลกรัมจะรับไนเตรทได้ไม่เกิน 185 มิลลิกรัม และรับไนไตรท์ได้ไม่เกิน 3.5 มิลลิกรัม อย่างไรก็ตามหลังจากที่ตรวจพบไนเตรท ไนไตรท์ในอาหารดังกล่าวเกินมาตรฐาน ก็ได้แจ้งให้ทางผู้ประกอบการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของตนเองให้มีคุณภาพก่อนวางจำหน่าย


            นางจุรีภรณ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ไนไตรท์มีคุณสมบัติทำให้เนื้อมีสีชมพู และยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะเชื้อคลอสทิเดียม โบทูลินัม ซึ่งจากความเป็นพิษและข้อมูลผลการตรวจวิเคราะห์ที่ผ่านมา ไนเตรท ไนตรท์อาจก่อให้เกิดสารก่อมะเร็งได้ ดังนั้น ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 2 อุดรธานี จึงร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และเทศบาล จัดโครงการลดไนเตรท ไนไตรท์เพิ่มความปลอดภัยอาหารใน ผลิตภัณฑ์ ไส้กรอก กุนเชียง แหนม และหมูแผ่น ในจังหวัดอุดรธานี หนองคาย หนองบัวลำภู และจังหวัดเลย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพการผลิตโดยลดการใช้สารไนเตรท ไนไตรท์สำหรับผู้ประกอบการที่มีผลการตรวจวิเคราะห์ที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคอาหารได้อย่างปลอดภัย

17 พฤศจิกายน 2553

Next post > “จุรินทร์”มอบกรมสนับสนุนบริการสุขภาพร่วมกับตำรวจ ดำเนินคดีกับคลินิกทำแท้งเถื่อน พร้อมสั่งการสาธารณสุขทั่วประเทศ

< Previous post “จุรินทร์” เผยสถานบริการสาธารณสุขเสียหายจากภัยน้ำท่วม 449 แห่ง มูลค่า 222 ล้านบาท

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด