logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

สธ.ทำโครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย เทิดพระเกียรติในหลวง 84 พรรษา

http://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=34845

ดร.พรรณสิริ กุลนาถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมคณะกรรมการโครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ กายจิตผ่องใส เมื่อบ่ายวันนี้ (15 พฤศจิกายน 2553) ว่า ในปีนี้กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำโครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย เพื่อปกป้องสุขภาพเกษตรกรให้ปลอดภัยจากการใช้สารเคมี ประชาชนได้บริโภคผักผลไม้ที่ปลอดภัย เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุครบ 84 พรรษาในปี2554 และส่งเสริมการใช้สมุนไพรพื้นบ้านล้างสารพิษในร่างกาย  ขณะนี้มีประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรมประมาณ 13 ล้านกว่าคน ส่วนใหญ่ยังมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทำให้เกิดความเสี่ยงอันตรายทั้งผู้ใช้และผู้บริโภค  โดยผลการตรวจตัวอย่างผัก ผลไม้สดของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในปี 2552 พบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้าง ร้อยละ 28


ดร.พรรณสิริกล่าวว่า ตามโครงการนี้จะนำร่องในปีงบประมาณ 2554 มีเป้าหมายตรวจคัดกรองสุขภาพเกษตรกร 840,000 คนทั่วประเทศ โดยให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล 840 แห่ง ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข84,000 คน ค้นหาเกษตรกรที่มีความเสี่ยงและตรวจเลือดโดยใช้ชุดตรวจสารพิษในเลือดภาคสนามผลิตโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รู้ผลเร็วภายใน 10 นาที หากพบว่าเกษตรกรมีสารพิษในเลือดในระดับที่ไม่ปลอดภัย จะนำสมุนไพรพื้นบ้านมาใช้ถอนพิษ ในเบื้องต้นมี 2 ตัวคือ รางจืด และหญ้านางแดง ซึ่งมีผลงานวิจัยว่าสามารถกำจัดพิษได้ผล หาได้ง่ายตามหมู่บ้านต่างๆ ใช้งบประมาณดำเนินการ 12 ล้านบาทเศษ    


นอกจากนี้ได้ให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งมีศูนย์เครือข่าย 12 แห่งทั่วประเทศ พัฒนาระบบการตรวจสอบสารพิษตกค้างในพืชผักและผลไม้สด ในตลาดกลางค้าส่งที่มีทั่วประเทศประมาณ 23 แห่ง แต่ขณะนี้ผ่านการตรวจรับรองมาตรฐานเพียง 2 แห่ง ซึ่งจะทำให้ประชาชนได้บริโภคพืชผักผลไม้ที่ปลอดภัยมากขึ้น และให้กรมสุขภาพจิตจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีและคลายความวิตกกังวลให้กับเกษตรกรที่มีปัญหาด้านต่างๆ ด้วย   คาดว่าจะเปิดตัวโครงการในเดือนธันวาคมนี้


ทั้งนี้ปัญหาที่เกิดจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เป็นปัญหาระดับชาติ พิษมีทั้งชนิดเฉียบพลัน เช่นปวดศีรษะ แน่นหน้าอก มองเห็นภาพลางเลือน อาเจียน ปวดท้อง และชนิดเรื้อรัง โดยพิษสะสมในร่างกายแสดงอาการภายหลังที่อันตรายที่สุดคือโรคมะเร็ง สารเคมีเข้าสู่ร่างกาย 3 ทางคือทางปาก การหายใจสูดสารเคมีขณะฉีดพ่น และจากการสัมผัส สารเคมีที่ใช้มากที่สุดคือกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต ร้อยละ58 รองลงมาคือ กลุ่มพาราควอทร้อยละ 31 และกลุ่มคาร์บาเมต ร้อยละ22  ในปี 2552 มีการนำเข้าสารเคมี 118,151 ล้านตัน จังหวัดที่เกษตรมีอัตราป่วยจากสารเคมีมาก 5 อันดับ ได้แก่กำแพงเพชร อุทัยธานี ตราด สุโขทัย เชียงราย ภาคที่มีอัตราป่วยสูงสุดได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ    คาดหวังว่าโครงการนี้จะทำให้ระบบการผลิตของเกษตรกรไทย พัฒนาสู่ระบบเกษตรอินทรีย์มากขึ้น และใช้สารเคมี

17 พฤศจิกายน 2553

Next post > “จุรินทร์”มอบกรมสนับสนุนบริการสุขภาพร่วมกับตำรวจ ดำเนินคดีกับคลินิกทำแท้งเถื่อน พร้อมสั่งการสาธารณสุขทั่วประเทศ

< Previous post “จุรินทร์” เผยสถานบริการสาธารณสุขเสียหายจากภัยน้ำท่วม 449 แห่ง มูลค่า 222 ล้านบาท

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด