logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

แพทยสภารับรองรร.หมอ “ม.พะเยา”

http://www.thaipost.net/news/151110/30120

    นพ.สมศักดิ์ โลห์เลขา นายกแพทยสภา เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการแพทยสภาเมื่อวันที่ 11 พ.ย.ที่ผ่านมา ได้มีมติเห็นชอบการรับรองหลักสูตรการสอนแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ภายหลังจากที่ทางผู้บริหารมหาวิทยาลัยได้ยื่นขอให้ทางแพทยสภาพิจารณาก่อนหน้านี้ และจากที่ทางแพทยสภาได้ลงไปตรวจสอบหลักสูตรการเรียนการสอนพบว่า มหาวิทยาลัยนอกจากมีคุณสมบัติเพียงพอและมีความพร้อมที่จะเปิดสอนคณะแพทยศาสตร์ได้ ยังมีความตั้งใจที่อยากเปิดหลักสูตรนี้ ทั้งนี้ทางมหาวิทยาลัยพะเยาได้ร่วมมือกับทางโรงพยาบาลนครพิงค์ จ.เชียงใหม่ ในการส่งนักศึกษาแพทย์เข้าฝึกอบรมในชั้นคลินิก ซึ่งโรงพยาบาลนครพิงค์เป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ มีแพทย์และผู้ป่วยมากเพียงพอที่จะสอนนักศึกษาแพทย์ได้ อีกทั้งยังมีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ซึ่งเป็นโรงเรียนแพทย์เก่าแก่ในระดับแนวหน้าคอยเป็นพี่เลี้ยงให้ จึงเชื่อว่าไม่น่ามีปัญหา
    

     นพ.สมศักดิ์กล่าวว่า สำหรับในส่วนอาจารย์แพทย์ผู้สอนนั้น เบื้องต้นเชื่อว่ายังไม่เป็นปัญหาเช่นกัน เนื่องจากใน 2 ปีแรกนั้นจะเป็นการสอนในด้านวิทยาศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานก่อน และจากนั้นจึงเข้าสู่หลักสูตรการเรียนการสอนของแพทย์ จึงยังพอมีเวลา แต่หากมีปัญหาในการหาอาจารย์แพทย์ในบางสาขาที่ขาดแคลนจริง คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ในฐานะพี่เลี้ยงก็อาจส่งอาจารย์แพทย์มาช่วยสอนได้ โดยเบื้องต้นทางมหาวิทยาลัยพะเยาขอเปิดรับนักศึกษาแพทย์รุ่นแรกในปี 2554 จำนวน 15 คนก่อน และจากนั้นจะเพิ่มเป็น 30 คน โดยคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยาจะเป็นโรงเรียนแพทย์แห่งที่ 19 ของประเทศไทย
    

     อย่างไรก็ตามการที่มหาวิทยาลัยพะเยารับนักศึกษาจำนวนน้อยมาก ทางแพทยสภาเองก็รู้สึกเป็นห่วง โดยเฉพาะในเรื่องของบประมาณสนับสนุนนักศึกษาแพทย์ที่ได้รับจากรัฐบาลตามรายหัว ซึ่งการเปิดรับจำนวนน้อยก็ทำให้งบที่ได้รับน้อยตามไปด้วย ขณะที่ต้นทุนการสอนนักศึกษาแพทย์ค่อนข้างสูงจึงเกรงว่าอาจเกิดปัญหาภายหลังได้ นอกจากนี้ทางแพทยสภายังเป็นห่วงงบการก่อสร้างอาคารที่ใช้สำหรับการเรียนการสอนและการดำเนินการอื่นๆ ดังนั้นทางแพทยสภาจึงขอให้ทางมหาวิทยาลัยพะเยานำเรื่องขออนุมัติงบประมาณจากคณะรัฐมนตรีก่อน เพื่อที่จะได้ไม่เกิดปัญหาภายหลัง
    

      “จากศักยภาพการผลิตแพทย์ที่ผ่านมา ส่งผลให้ปัญหาขาดแคลนแพทย์เริ่มลดลง และเมื่อมหาวิทยาลัยพะเยาเปิดคณะแพทยศาสตร์ จะทำให้การผลิตแพทย์เพิ่มมากขึ้นไปอีก ปัญหาขาดแคลนแพทย์จึงไม่น่าห่วงแต่ที่เป็นห่วงคือตำแหน่งบรรจุของแพทย์จบใหม่ เพราะว่าขณะนี้ทางสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) มีตำแหน่งว่างรอบรรจุเพียงแค่ 1,700 ตำแหน่งเท่านั้น แต่ขณะนี้มีแพทย์จบใหม่ถึง 2,500 คน และในเวลา 6 ปี จะมีแพทย์เพิ่มเป็นหมื่นคน ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไข เพราะไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถดึงแพทย์ที่ผลิตไว้ในระบบได้ และจะออกไปอยู่เอกชน ปัญหาขาดแคลนแพทย์ก็จะคงอยู่เช่นเดิม” นพ.สมศักดิ์กล่าว
    

       นอกจากนี้ นพ.สมศักดิ์ยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับในหลักสูตรการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ในปี 2554 นั้น ทางแพทยสภาได้กำหนดให้มีการบรรจุการสอนด้านจริยธรรมให้กับนักศึกษาแพทย์ด้วยในทุกสภาบัน เพื่อให้เป็นการปลูกฝั่งด้านจริยธรรมตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษา ซึ่งขณะนี้ได้มีการจัดทำหลักสูตรเป็นที่เรียบร้อยแล้วเช่นกัน.

15 พฤศจิกายน 2553

Next post > “จุรินทร์”ยกระดับ รพ.มาบตาพุดเป็น 200 เตียง และตั้งสถาบันอาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อมดูแลป้องกันผลกระทบสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

< Previous post อหิวาต์คร่าชีวิต 10 ราย พบปัตตานีป่วยกว่า 1 พันราย

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด